นักกีฬา VS คอไอที - Forbes Thailand

นักกีฬา VS คอไอที

FORBES THAILAND / ADMIN
04 Jan 2016 | 10:36 AM
READ 12411

แสงแดดอันอบอุ่นสาดส่องเข้ามาในออฟฟิศของ Under Armour ณ มหานครนิวยอร์ก ออฟฟิศที่ตกแต่งราวกับฟิตเนสแต่คราคร่ำไปด้วยดีไซเนอร์รุ่นใหม่เดินกันขวัก ไขว่ เสื้อและกางเกงวิ่งสีสันฉูดฉาดโทนนีออนแขวนเต็มราวตามออฟฟิศ Kevin Plank ในวันนี้หล่อเนี้ยบด้วยชุดสูท bespoke สีเทา

เรา มาพูดคุยกับเขาถึงเรื่องอนาคตของแอพพลิเคชั่นการออกกำลังกายแห่งอนาคต รวมทั้งนาฬิกาและสายรัดข้อมือที่ช่วยเรื่องการติดตามสุขภาพ และอย่างที่เขาทำอยู่บ่อยๆ Plank กำลังพูดบลัฟคู่แข่ง โดยบอกว่า เทคโนโลยีแทบทุกอย่างในท้องตลาดเป็นอะไรที่น่าเบื่อและไร้ประโยชน์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยคนที่เข้าไม่ถึงแฟชั่นใน Silicon Valley เขาหัวเราะเบาๆ ในลำคอให้กับนักพัฒนาเทคโนโลยีที่อุทิศให้กับแฟชั่นแต่เข้าไม่ถึงมันจริงๆ “ซานฟรานซิสโก คือหนึ่งในเมืองแห่งการแต่งกายยอดแย่ของโลกแบบไม่มีใครเทียบได้...ไม่มีใครแต่งตัวกันเลยหรือไงนะ?” สำนักงานใหญ่ของ Under Armour ใน Baltimore ตั้งอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางที่นิยมเทคโนโลยีแบบสวมใส่ได้ แต่ตลาดนี้โตเร็วกว่าเสื้อผ้ากีฬา มีการประมาณตัวเลขยอดขายโดยรวมของแอพฯ สุขภาพบนมือถือและ gadget ว่าจะทะลุ 1.2 แสนล้านเหรียญ ในปี 2020 ทั้งนี้ Plank หว่านเงินจำนวน 150 ล้านเหรียญซื้อแอพฯ ออกกำลังกาย MapMyFitness ในเดือนพฤศจิกายน 2013 และเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ก็ทุ่มเงิน 475 ล้านเหรียญซื้อ MyFitnessPal แอพฯ ช่วยนับแคลอรี่ และ 85 ล้านเหรียญซื้อแอพฯ ออกกำลังกายสัญชาติยุโรป Endomondo ด้วยจำนวนผู้ใช้กว่า 62 ล้านคนที่เข้าใช้แอพฯ นี้อย่างน้อยเดือนละครั้ง ทำให้ปัจจุบัน Under Armour เป็นผู้ครอบครองแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เกี่ยวกับสุขภาพรายใหญ่สุดของโลก สำหรับ Plank นั้นการกวาดซื้อแอพฯ เข้ามานั้นก็เพื่อทำให้คนออกกำลังกายมากขึ้น และซื้อเสื้อผ้าและรองเท้าเพิ่มขึ้น นี่คือสิ่งที่มหาเศรษฐีวัย 43 ปีคนนี้ยึดถือเสมอโดยไม่สนใจคำสบประมาทของผู้อื่นและสร้าง Under Armour ขึ้นเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเครื่องแต่งกายกีฬารายใหญ่สุดอันดับ 2 ของสหรัฐฯ รองจาก Nike โดยมีราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้น 16 เท่าจากราคาที่ขายให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2005 ยอดขายในปีนี้น่าจะไม่ทิ้งห่างจาก 4 พันล้านเหรียญเท่าไรนัก จากตัวเลขเป้าหมายที่เคยแถลงไว้ 7.5 พันล้านเหรียญภายในปี 2018 มีกำไรทบต้นเพิ่มสูงขึ้น 21% จาก 4 ปีก่อน และยังมีการเติบโตของ Under Armour ในตลาดต่างประเทศรออยู่ข้างหน้า เมื่อเทียบกับการไล่ตาม Nike แล้ว เทคโนโลยีด้านกีฬานี้เป็นเรื่องที่ยาก ในเดือนมกราคม Under Armour เปิดตัวแอพฯ ด้านสุขภาพสำหรับตรวจวัดการออกกำลังกายและการนอนหลับชื่อว่า “Record”ซึ่งทำงานร่วมกับ gadget อื่นๆ ที่บริษัทจำหน่ายอยู่และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี แต่เนื่องจากอยู่ท่ามกลางแอพฯ คู่แข่งอีกหลายร้อยแอพฯ ในตลาด จึงทำให้จำนวนผู้ดาวน์โหลดไม่สูงนัก ซึ่ง Plank ตั้งความหวังว่า สถานการณ์จะเปลี่ยนไปหลังจากที่แอพฯ เวอร์ชั่นใหม่จะออกสู่ตลาดราวต้นปี 2016 โดยแอพฯ จะผลักดันยอดขาย gadget ต่างๆ โดย Plank ยอมรับว่า “เราก้าวล้ำไปข้างหน้ามากกว่าที่ผมเคยใฝ่ฝันไว้” ตลาดโดยรวมอาจไปไกลกว่าที่เขาเคยคาดหวังไว้ Apple รายงานว่ามียอดขายนาฬิกาเพียง 3-4 ล้านเรือน ส่วน Fitbit ก็สร้างยอดขายอุปกรณ์ตรวจวัดการออกกำลังกายได้มากกว่า 20 ล้านชิ้น ทางด้าน Jawbone ก็เลื่อนการเปิดตัวสายรัดข้อมือรุ่นล่าสุดออกไป และยังมีชื่อเสียงเรื่องพังบ่อยๆ และทุกรายต่างต้องต่อสู้กับการเอาชนะผู้บริโภคขี้สงสัย “ผมลองมาหมดแล้ว” Plank บอกพร้อมกับถอดเสื้อแจ็กเก็ตออกเพื่อโชว์ข้อมือที่ว่างเปล่า “ผม คิดว่าอุปกรณ์ของทุกรายยังมีปัญหาในเรื่องการใช้ได้จริง อุปกรณ์เหล่านี้บอกว่า เมื่อวานนี้คุณเดิน 8,000 ก้าว แต่ไม่ได้บอกว่าคุณต้องทำอะไรต่อ” เขาพูดพร้อมกับย่นหน้าผาก แม้แต่ซอฟต์แวร์ตรวจวัดสุขภาพโปรแกรมล่าสุดจาก Apple “ก็ไม่น่าเชื่อถือพอ” เขากล่าว จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในปี 1999 เมื่อ Plank ซื้อพื้นที่โฆษณาครึ่งหน้าในราคา 12,000 เหรียญในนิตยสาร ESPN ซึ่งนำไปสู่ยอดขาย 1 ล้านเหรียญในปีนั้น ต่อมาในปี 2000 รายได้แตะ 5 ล้านเหรียญ และเพิ่มเป็น 20 ล้านเหรียญ ในปี 2001 และ 50 ล้านเหรียญในปี 2002 ความสำเร็จของเขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ทศวรรษจากนั้น โดยที่เขาไม่ให้ความสำคัญเรื่องเทรนด์ แต่เน้นการประดิษฐ์คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพล้ำหน้ายิ่งขึ้น และด้วยความช่วยเหลือจาก Zephyr Technology บริษัทแห่งหนึ่งในรัฐ Maryland ที่ผลิตเครื่องมือตรวจวัดการทำงานของร่างกายให้กับ NASA และหน่วยรบพิเศษของกองทัพสหรัฐฯ พวกเขาก็ได้ E39เสื้อแบบแนบตัวน้ำหนัก 4 ออนซ์ ซึ่งติดตั้งชุดอุปกรณ์เซ็นเซอร์ทรงกลมไว้ด้านหน้าแบบไร้รอยต่อ เพื่อทำหน้าที่วัดการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงอันตราความเร็วของร่างกาย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เหล่านักฟุตบอลมหาวิทยาลัยที่เต็มไปด้วยความหวัง ต่างก็สวมเสื้อรุ่น E39 ในงานแข่งขันประจำปีของ NFL Combine โดยระหว่างการแข่งขัน   เรื่อง: Parmy Olson เรียบเรียง: กิ่งกาญจน์ ไตรยงค์
คลิ๊กอ่าน "นักกีฬา VS คอไอที" ฉบับเต็มได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ DECEMBER 2016