ตึกระฟ้าบิดเกลียว แห่ง Taipei - Forbes Thailand

ตึกระฟ้าบิดเกลียว แห่ง Taipei

FORBES THAILAND / ADMIN
16 Jan 2019 | 10:12 AM
READ 6658
Taipei คับคั่งไปด้วยอาคารที่พักอาศัยใหม่ๆน่าตื่นตาตื่นใจ แต่อาคารสุดหรูแห่งนี้กำลังได้รับความสนใจจากผู้คนอย่างเป็นไปตามคาดอาคารรูปทรงแปลกตาเหมือนสว่านเปิดจุกก๊อก มีต้นไม้และพืชพรรณนานาชนิดจำานวน 23,000 ต้นปลูกตามระเบียงอันกว้างขวาง ทำาให้ห้องชุดซึ่งมีทั้งหมด 40 ห้องมีสวนป่าส่วนตัว คู่หูพ่อลูกซึ่งบริหารบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใน Taipei อย่าง BES Engineering ผุดแนวคิดเกี่ยวกับอาคารสูง21 ชั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองที่มีประชากร 2.7 ล้านคนพลเมืองส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ในอาคารสูงและมีสภาพความเป็นอยู่แออัดจนทำให้มีถนนเพียงไม่กี่สายที่มีต้นไม้ปลูกอยู่ตามริมทาง ในขณะนี้ Eliot Shen วัย 40 ปี ผู้จัดการโครงการอาคารชุดนี้และกรรมการบริษัทกล่าว ผู้เป็นพ่ออย่าง Shen Ching-jing วัย 71 ปี ประธานของบริษัทแม่เป็นเด็กที่เติบโตบนพื้นที่ที่เป็นเนินเขาใน Hsinchu County ของไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นเขตอุตสาหกรรม Eliot กล่าวว่า “ชีวิตในไต้หวันเคยเรียบง่ายกว่านี้ และไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากเท่านี้ ดังนั้นตามแนวเทือกเขาและริมแม่น้ำธรรมชาติเคยเป็นสิ่งบันเทิงเริงใจหลัก เป็นเพื่อนคู่หูของคุณ คนรุ่นต่อมามีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติแบบนั้นน้อยลงมาก พ่อของผมจึงคิดว่าเราจะทำอย่างไรดี เราสามารถทำอะไรเพื่อช่วยสังคมได้บ้าง” คำาตอบก็คือ Tao Zhu Yin Yuan ซึ่งเป็นชื่อของอาคารใน Taipei ที่มีความหมายว่า “สวนลึกลับของ Tao Zhu” พ่อลูกตระกูล Shen หวังว่าอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลังนี้จะช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้กับบริษัทจดทะเบียนของพวกเขาอย่าง BES Engineering ซึ่งเริ่มจัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลไต้หวันในปี 1950 และหลังจากนั้นได้ขายให้กับเอกชนไปในปี 1994 ซึ่งเป็นช่วงที่ Shen ผู้พ่อได้ซื้อหุ้นจำนวนมากมาครอบครอง ปีที่แล้วบริษัทมีกำไร 8.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากรายได้ 322 ล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้า แต่ลดลงอย่างมากจากปี 2015 อย่างไรก็ดี ราคาหุ้นของบริษัทปรับเพิ่มขึ้น 57% นับจากปลายปี 2016 และมีราคาสูงกว่าราคาสูงสุดของปี 2015 ในเดือนมิถุนายน นอกจากอาคารหรูหลายต่อหลายแห่งใน Taipei แล้ว บริษัทยังมีโครงการอีกมากมายในประเทศจีน การเข้าครอบครองกิจการ BES Engineering โดย Ching-jing ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์หนาหู เขากล่าวในหนังสืออัตชีวประวัติชื่อ Breakthrough: A Corporate Warrior Who Challenges Fate-Shen Ching-jing ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1998 ว่า “การที่ตัวเขาซื้อหุ้น 80% ของบริษัทในปี 1994 เรียกความสนใจจากอัยการซึ่งฟ้องร้องเขาในข้อหาปลอมแปลงเอกสารและกระทำาการละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับหลักทรัพย์ในระหว่างการซื้อหุ้นดังกล่าว อย่างไรก็ดี ในปี 2000 ศาลตัดสินให้เขาพ้นผิดสองพ่อลูกตระกูล Shen ไม่ยอมเอ่ยปากว่าในปัจจุบันพวกเขาครอบครองหุ้นคิดเป็นสัดส่วนเท่าใด แต่คาดการณ์กันว่าน่าจะน้อยกว่า 4% หรือคิดเป็นมูลค่า 16 ล้านเหรียญ Ching-jing ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับ Forbes Asia หากแต่นิยามตัวเองว่าเป็น “นักรบในสงครามเศรษฐกิจ” ในปี 2002 เขาเรียกรัฐบาลกลางของไต้หวันว่า “คนขี้โกง” Eliot จบการศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์จาก Lehigh University ใน Pennsylvania และย้ายไปประเทศจีนเมื่อ 16 ปีที่แล้วเพื่อช่วยผู้เป็นพ่อดูเเลธุรกิจหลายอย่าง หลังจากที่ขลุกอยู่ในธุรกิจจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์และทำงานในแวดวงธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอยู่ช่วงหนึ่ง เขาไม่ได้ฟันธงว่าในท้ายที่สุดแล้วตัวเขาจะรับสานต่อกิจการของผู้เป็นพ่อเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ ความกระตือรือร้นที่จะทดลองทำสิ่งใหม่ๆ เป็นจุดกำเนิดของโครงการใน Taipei โครงการนี้ Eliot กล่าวเสริมว่า สภาพอากาศร้อนชื้นในไต้หวันกินเวลายาวนานถึง 8 เดือนต่อปี ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่เอื้อประโยชน์ให้การจัดภูมิทัศน์ของโครงการดังกล่าวทำได้อย่างง่ายดายอาคารในไต้หวันต้องเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหว ดังนั้นบานหน้าต่างจะต้องได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อลมพายุพัดแรง และผู้สร้างอาคารจะต้องเสริมอิฐโพลิสไตรีนแผ่ไปตามฐานรากของอาคารเพื่อให้อาคารสามารถต้านทานแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง 7 แมกนิจูดได้ คาดกันว่าโครงสร้างดังกล่าวมีต้นทุนในการก่อสร้างราว 500 ล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่าการก่อสร้างอาคารธรรมดาในขนาดที่ใกล้เคียงกันอย่างมาก Eliot กล่าวว่า “เราไม่นิยามตัวเองว่าเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เราไม่ได้ทำเพียงแค่สร้างอาคารให้เสร็จ แล้วก็หมดหน้าที่เพียงเท่านั้น” BES Engineering มอบหมายให้ Vincent Callebaut Architectures เป็นผู้ออกแบบอาคารที่มีความสูง 93.2 เมตร และโครงการนี้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2013 บริษัทในกรุง Paris ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะนักออกแบบสุดยอดโครงสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีรูปทรงแปลกตายังได้ออกแบบรีสอร์ตที่มีห้องพักรูปร่างเหมือนแคปซูลในยานอวกาศซึ่งยื่นออกไปในทะเลในประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงอาคารที่พักอาศัยทรงกลมทำด้วยไม้ซึ่งแวดล้อมไปด้วยฟาร์มผลิตอาหารใน New Delhi อีกด้วย Tao Zhu Yin Yuan ได้รับการรับรอง Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) จาก U.S. Green Building Council สำหรับแผงพลังงานแสงอาทิตย์ของอาคาร ระบบรีไซเคิลน้ำฝน และการทำปุ๋ยหมักบริเวณโดยรอบอาคาร โครงสร้างและการจัดภูมิทัศน์ของอาคารได้รับการออกแบบให้สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 130 ตันต่อปี Erin Ting รองผู้อำานวยการบริษัทบริการด้านอสังหาริมทรัพย์อย่าง Savills Taiwan กล่าวว่าผู้ซื้ออาคารชุดแห่งนี้น่าจะเป็นบรรดาเศรษฐีจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ซึ่งให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อน หรือผู้ที่ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ที่มีความพิเศษ สวนที่ระเบียงแต่ละห้อง และทำเลของอาคารซึ่งอยู่ใจกลาง Taipei จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดลูกค้าชั้นยอด ปัจจุบัน BES Engineering ได้ร้องขอให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อห้องชุดติดต่อมาที่บริษัทเพื่อทำการตรวจสอบสถานะทางการเงินก่อนที่จะเข้ามาเยี่ยมชมอาคารชุดดังกล่าว โฆษกหญิงของ BES Engineering กล่าวว่าอาคารชุดดังกล่าวจะมีราคาขายอยู่ที่ราว 60 ล้านเหรียญ โดยอาศัยการประมาณการจากบุคคลที่ 3 ซึ่งทำให้ห้องชุดในอาคารนี้ มีราคาขายแพงที่สุดใน Taipei แต่มีราคาถูกกว่าห้องชุดสุดหรูที่ขายใน Tokyo, ฮ่องกงและสิงคโปร์ รวมถึงในเมืองสำคัญอื่นๆ “โครงการนี้อาจจะเป็นที่รู้จักจากการออกแบบอย่างมีศิลปะ คุณลักษณะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และราคาขาย แต่อย่างไรก็ตามชื่อเสียงของโครงการอาจจะไม่โด่งดังเท่าที่ควร เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วตลาดที่พักอาศัยในไต้หวันไม่ได้มีความสำคัญในระดับนานาชาติ” Chang กล่าว  

เรื่อง: Ralph Jennings เรียบเรียง: ริศา


คลิกอ่านบทความฉบับเต็มของ "ตึกระฟ้าบิดเกลียว แห่ง Taipei" ได้จากนิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2561