SPC Group จากเกาหลีใต้ ทุ่ม 4 หมื่นล้านวอน รุกตลาดอาหารฮาลาลทั่วโลก - Forbes Thailand

SPC Group จากเกาหลีใต้ ทุ่ม 4 หมื่นล้านวอน รุกตลาดอาหารฮาลาลทั่วโลก

FORBES THAILAND / ADMIN
06 Jul 2022 | 11:30 AM
READ 2053

SPC Group ยักษ์ใหญ่ด้านอาหารของเกาหลีใต้ วางแผนขยายอาณาจักรสู่มาเลเซีย หวังเจาะตลาดอาหารฮาลาลทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าตลาดราว 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ 

SPC Group ยักษ์ใหญ่ด้านอาหารของเกาหลีใต้
การก่อสร้างโรงงาน SPC Group ในมาเลซีย จะเริ่มในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2023
SPC Group กล่าวว่า มีแผนจะลงทุน 4 หมื่นล้านวอน (ประมาณ 30 ล้านเหรียญ) เพื่อสร้างโรงงานที่ได้รับการรับรองฮาลาลในเมือง Johor ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีพรมแดนติดกับสิงคโปร์ โดยคาดว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากท่าเรือในการขนส่งสินค้าไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง ข้อตกลงนี้นำโดย Hur Jin-soo บุตรชายคนโตของ Hur Young-in ประธาน SPC Group ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “ราชาแห่งแฟรนไชส์” ของเกาหลีใต้  โดย Jin-soo ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธาน Paris Croissant ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ SPC Group ที่ดูแลแฟรนไชส์เบเกอรี่ Paris Baguette ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 เป็นต้นมา นอกจากนี้ SPC Group ยังบริหารร้านโดนัท Dunkin’ Donuts และร้านไอศกรีม Baskin Robbins กว่า 1,800 สาขา ไปจนถึงคาเฟ่สไตล์อิตาเลียน Pascucci ร้านไวน์ The World Vine ร้านสมูทตี้ Jamba Juice และร้านเบอร์เกอร์จากนิวยอร์ก Shake Shack ในเกาหลีใต้เช่นกัน  สำหรับโรงงานในเมือง Johor ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2023 บริษัทวางแผนที่จะทำการผลิตขนมปัง เค้ก และซอสมากถึง 100 ชนิด ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามทั้งสิ้น  SPC Group ยักษ์ใหญ่ด้านอาหารของเกาหลีใต้ ทั้งนี้ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต เมื่อไม่นานมานี้ SPC Group จึงได้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ Berjaya Food ของมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการบริหารงานร้านกาแฟ Starbucks และร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในมาเลเซีย  “มาเลเซียมีมาตรฐานที่ดีที่สุดสำหรับการรับรองฮาลาล ดังนั้นจึง [เป็นที่ยอมรับ] ในโลกมุสลิม” Alizan Mahadi ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยจาก Think Tank Institute of Strategic & International Studies Malaysia ในกรุงกัวลาลัมเปอร์กล่าว ด้านเจ้าหน้าที่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ทำงานเพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับอาหารฮาลาลมาตั้งแต่ปี 1914 ซึ่งในที่สุดก็ได้เปิดตัว มาตรฐานฮาลาลฉบับแรกในปี 2000 นำหน้าประเทศมุสลิมอื่นๆ กระทั่งในปัจจุบันได้มีการกำหนดมาตรฐานต่างๆ เพื่อยกระดับ “อุตสาหกรรมกระท่อม” ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยมูลค่า ณ ราคาตลาดที่ 2.3 ล้านล้านเหรียญ แปลและเรียบเรียงโดย ชญาน์นัทช์ ธนินท์พงศ์ภัค จากบทความ South Korean Food Giant Aims To Take A Bite Of The $2 Trillion Global Halal Food Market เผยแพร่บน Forbes.com อ่านเพิ่มเติม: แม็คโคร ขยับแนวรุกธุรกิจรับการท่องเที่ยวฟื้นตัว

ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine