เมื่อปี 2005 Olivia Lum ติดทำเนียบ 40 บุคคลที่มั่งคั่งที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นครั้งแรก ผู้ก่อตั้งบริษัทบำบัดน้ำเสียอย่าง Hyflux มีทรัพย์สินพุ่งขึ้นเป็น 460 ล้านเหรียญในปี 2011 ในปีเดียวกันนั้นเอง Lum ยังกลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัล World Entrepreneur Award จาก Ernst & Young หนึ่งปีต่อมา ผู้บริหารหญิงที่สร้างฐานะด้วย ตนเองอย่าง Lum ติดทำเนียบ “Asia’s 50 Power Businesswomen” โดย Forbes Asia
ทุกวันนี้ Olivia Lum ต้องต่อสู้กับกลุ่มนักลงทุนซึ่งพากันแตกตื่นภายหลังจากที่ Hyflux ยื่นขอความคุ้มครองจากศาลและเป็นฝ่ายชนะเมื่อเดือนพฤษภาคม เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินจำนวนมหาศาลและปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ซึ่งในปัจจุบันมีธุรกิจผลิตไฟฟ้ารวมอยู่ด้วย ในปี 2017 Hyflux ได้รายงานตัวเลขขาดทุนประจำปีเป็นครั้งแรกในประวัติของบริษัทซึ่งสูงถึง 85 ล้านเหรียญ รวมถึงยังมีตัวเลขขาดทุนเพิ่มในไตรมาสแรกของปี 2018 นี้อีกด้วย หนี้สินสุทธิซึ่งรวมหนี้ธนาคารด้วยคิดเป็น 2.1 พันล้านเหรียญ Lum วัย 57 ปี ซึ่งหลุดโผจากทำเนียบ 50 บุคคลผู้มั่งคั่งที่สุดในปี 2013 กล่าวโทษว่าการที่บริษัทขาดทุนนั้นเป็นเพราะผลผลิตก๊าซล้นเกินความต้องการ ซึ่งส่งผลให้ราคาไฟฟ้าในสิงคโปร์ตกต่ำลง และทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องซึ่งส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับสถานการณ์เงินสดของบริษัทในภาพรวม Lum ประกาศขายโรงงานของ Hyflux ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีใน Tuaspring โรงงานแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโครงการจัดการน้ำและไฟฟ้าแบบเบ็ดเสร็จซึ่งทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าสำหรับการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลรวมถึงจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งยังคงประสบปัญหาขาดทุน โรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลในประเทศจีนอย่าง Tianjin Dagang ที่ยังหาผู้ซื้อต่อไม่ได้ ก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ส่งผลให้บริษัทขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก 15 ปี เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเคมีจาก National University of Singapore และเริ่มทำงานในตำแหน่งนักเคมีที่ GlaxoSmithKline ในปี 1989 เมื่อ Lum อายุ 28 ปี เธอเริ่มต้นธุรกิจจัดการน้ำในสิงคโปร์ของตัวเอง ซึ่งในตอนแรกมีชื่อว่า HydroChem โดยสามารถรวบรวมเงินทุนเริ่มต้นได้ 15,000 เหรียญ ในระยะแรก Lum ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องกรองน้ำและสารเคมีที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียให้กับบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง Hyflux ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2001 กลายเป็นดาวเด่นที่เป็นตำนานของสิงคโปร์ มาร์เก็ตแคปของ Hyflux อยู่ที่ 121 ล้านเหรียญ ซึ่งลดต่ำลงอย่างมากจากมูลค่าสูงสุดในปี 2010 ซึ่งอยู่ที่ 1.6 พันล้านเหรียญ หุ้นของบริษัทซึ่งมีราคาตกลงถึง 44% ในปีเดียวถูกพักการซื้อขายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมซึ่งส่งผลกระทบกับนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันกว่า 50,000 รายการจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงอย่างต่อเนื่องของบริษัทก็หยุดชะงักลงด้วย Lum กล่าวว่าเธอเลือกใช้การปรับโดยเป็นเจ้าของโรงบำบัดน้ำเสียแห่งแรกของเกาะสิงคโปร์ รวมถึงเป็นผู้นำระดับโลกในธุรกิจบำบัดน้ำเสีย Hyflux ซึ่งมีสำนักงานใน 8 ประเทศ และมีพนักงานทั้งหมด 2,500 คน นำส่งน้ำดื่มสะอาดให้ตะวันออกกลาง และแอฟริกา Hyflux ยังคงเข้าร่วมประมูลงานอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเร็วๆ นี้บริษัทเป็นผู้ชนะการประมูลถึง 2 งาน ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ตกอยู่ในภาวะโครงสร้างองค์กรเป็นทางออกในการขับเคลื่อนบริษัท “ฝ่ามรสุม” ครั้งนี้ ในขณะเดียวกัน Lum ก็ยืนยันว่าบริษัทยังคงทำธุรกิจต่อไปตามปกติ เธอเปิดการเจรจาอย่างต่อเนื่องกับผู้ที่สนใจจะซื้อโรงงานทั้งสองแห่งและเจ้าของเงินลงทุนอีก 19 ราย Hyflux มีความต้องการเงินอัดฉีดจำนวน 150 ล้านเหรียญนี่กลายเป็นยาที่มีรสขมกว่าเดิมสำหรับซีอีโอสัญชาติมาเลเซีย ผู้ซึ่งพ่อแม่บุญธรรมได้ขออุปการะมาจากครอบครัวซึ่งมีฐานะยากจน Lum ย้ายถิ่นฐานไปสิงคโปร์เพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมเมื่ออายุได้ล้มละลาย หรือมีแผนจะออกจากตลาดหลักทรัพย์ Ang Chung Yuh นักวิเคราะห์ด้านพันธบัตรของ iFast Financial ในสิงคโปร์กล่าวว่ายังคงมี “เครื่องหมายคำถามถึงผลการดำเนินงานในระยะยาว” ของบริษัทเนื่องจาก Hyflux มีรูปแบบในการดำเนินธุรกิจที่มีการใช้เงินกู้ยืมค่อนข้างสูง Ezien Hoo นักวิเคราะห์สินเชื่อของ OCBC คาดการณ์ว่า ถึงแม้ว่า Hyflux จะปรับโครงสร้างองค์กรได้สำเร็จ แต่บริษัทก็น่าจะ “มีขนาดเล็กลงและดำเนินธุรกิจที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าเดิม”คลิกอ่าน การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดแห่งสิงคโปร์ ประจำปี 2018 ได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับเดือนสิงหาคม 2561