การจัดทำทำเนียบประจำปีในปีที่ 17 ของเราได้พุ่งเป้าความสนใจไปยังเศรษฐีใจบุญ 15 คนที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่นในปี 2022 และได้บริจาคเงินจำนวนมากเพื่องานการกุศลต่างๆ ตามที่แต่ละคนปรารถนา ในแต่ละปีทีมของเราจะคัดกรองรายชื่อบุคคลหลายสิบคนซึ่งมีตั้งแต่ผู้ใจบุญที่ทำการกุศลมาตลอดชีวิตไปจนถึงผู้มาใหม่เพื่อรวบรวมเป็นทำเนียบรายชื่อที่คัดสรรมาอย่างดีจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เศรษฐีพันล้านส่วนหนึ่งบริจาคเงินจำนวนมากให้มูลนิธิการกุศลของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อเดินหน้าพันธกิจของพวกเขา เฉกเช่น Takemitsu Takizaki ชาวญี่ปุ่น บริจาคหุ้นของ Keyence จำนวน 7.45 ล้านหุ้น มูลค่าเกือบ 3.9 แสนล้านเยน (2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ให้มูลนิธิของเขาเอง ขณะที่ Andrew และ Nicola Forrest จากออสเตรเลียยกหุ้นใน Fortescue Metals Group มูลค่าประมาณ 5 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย (3.3 พันล้านเหรียญ) ให้สายงานการกุศลของพวกเขาคือ Minderoo Foundation
ผู้ใจบุญอีกหลายคนในทำเนียบนี้เลือกบริจาคเงินเพื่อผลักดันการศึกษาและงานวิจัยขั้นสูงโดยเฉพาะด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) He Xiangjian ผู้ก่อตั้ง Midea Group ประกาศจะบริจาคเงิน 3 พันล้านหยวน (410 ล้านเหรียญ) เพื่อก่อตั้งกองทุนสนับสนุนงานวิจัยวิทยาศาสตร์ในจีน ซึ่งรวมถึง AI และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ขณะที่เศรษฐีใจบุญเจ้าเก่าอย่าง Li Ka-shing บริจาคเงิน 60 ล้านเหรียญฮ่องกง (7.7 ล้านเหรียญ) เพื่อสนับสนุนการใช้ AI ในการฝึกบุคลากรการแพทย์และการวิจัยที่มหาวิทยาลัย 2 แห่งในฮ่องกง เศรษฐีพันล้านชาวอินโดนีเซีย Low Tuck Kwong ยังคงแสดงออกถึงความมุ่งมั่นด้านการศึกษา เขาบริจาคเงิน 101 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (73 ล้านเหรียญ) ให้ Lee Kuan Yew School of Public Policy ผ่านมูลนิธิชื่อเดียวกันกับเขา เงินนี้จะใช้เป็นทุนสำหรับหลักสูตรพัฒนาผู้นำด้านการกำหนดนโยบายและบริการสาธารณะ
งานอีกด้านหนึ่งที่มีเศรษฐีใจบุญสนใจคือ เรื่องของสุขภาพจิต Adrian Cheng แห่ง New World Development ในฮ่องกงก่อตั้งมูลนิธิที่มีเป้าหมายสนับสนุนให้เด็กมีสุขภาพจิตดี และ James Packer เศรษฐีพันล้านจากออสเตรเลียผู้เคยประสบปัญหาสุขภาพจิตมาด้วยตนเองก็บริจาคเงินสนับสนุนงานวิจัยด้านนี้ให้ University of New South Wales
หนึ่งในผู้เข้าทำเนียบมาใหม่ปีนี้คือ Nikhil Kamath เศรษฐีพันล้านอายุน้อยที่สุดในอินเดีย ซึ่งเป็นเศรษฐีคนล่าสุดของประเทศที่ร่วมลงนามในเว็บไซต์ The Giving Pledgeทำเนียบนี้ไม่มีการจัดอันดับแต่อย่างใด เราคัดเลือกเศรษฐีใจบุญผู้บริจาคทรัพย์สินส่วนตัวเพื่อเป็นทุนสำหรับการกุศลโดยไม่ใช้เงินของบริษัท เว้นแต่จะเป็นบริษัทเอกชนที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือครองหุ้นส่วนใหญ่ รวมทั้งต้องเป็นบุคคลที่ได้อุทิศเวลาและความใส่ใจเพื่ออุดมการณ์ในสายที่ตนเลือกด้วย
สำหรับมหาเศรษฐีใจบุญแห่งเอเชีย ประจำปี 2023 มีรายชื่อ ดังนี้
Takemitsu Takizaki
ผู้ก่อตั้งและประธานกิตติมศักดิ์ Keyence
อายุ: 78 ปี
สัญชาติ: ญี่ปุ่น
Andrew Forrest
ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร Fortescue Metals Group
อายุ: 62 ปี
สัญชาติ: ออสเตรเลีย
Nicola Forrest
ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการร่วม Minderoo Foundation
อายุ: 62 ปี
สัญชาติ: ออสเตรเลีย
He Xiangjian
ผู้ก่อตั้ง Midea Group
อายุ: 81 ปี
สัญชาติ: จีน
วิกรม กรมดิษฐ์
ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ Amata Corp.
อายุ: 70 ปี
สัญชาติ: ไทย
K.P. Singh
ประธานกิตติคุณ DLF
อายุ: 92 ปี
สัญชาติ: อินเดีย
Low Tuck Kwong
ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการใหญ่ Bayan Resources
อายุ: 75 ปี
สัญชาติ: อินโดนีเซีย
Kwek Leng Beng
ประธานกรรมการบริหาร City Developments
อายุ: 82 ปี
สัญชาติ: สิงคโปร์
Ramon Ang
รองประธานกรรมการ, กรรมการผู้จัดการ และซีอีโอ San Miguel Corp.
อายุ: 69 ปี
สัญชาติ: ฟิลิปปินส์
Li Ka-shing
ที่ปรึกษาอาวุโส CK Asset Holdings และ CK Hutchison Holdings
อายุ: 95 ปี
สัญชาติ: ฮ่องกง
Nandan Nilekani
ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการ Infosys
อายุ: 68 ปี
สัญชาติ: อินเดีย
James Packer
ผู้ก่อตั้ง Packer Family Foundation
อายุ: 56 ปี
สัญชาติ: ออสเตรเลีย
Graeme Hart
เจ้าของและกรรมการ Rank Group
อายุ: 68 ปี
สัญชาติ: นิวซีแลนด์
Eddy Kusnadi Sariaatmadja
ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการ Elang Mahkota Teknologi (Emtek)
อายุ: 70 ปี
สัญชาติ: อินโดนีเซีย
Nikhil Kamath
ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน Zerodha
อายุ: 37 ปี
สัญชาติ: อินเดีย
Adrian Cheng
รองประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ New World Development
อายุ: 44 ปี
สัญชาติ: ฮ่องกง
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : ชาร์ลส์ ปิณฑานนท์ ปั้น Element 72 ด้วยแพสชั่น