ตระกูลมหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดของเอเชีย: ลำดับที่ 31-40 - Forbes Thailand

ตระกูลมหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดของเอเชีย: ลำดับที่ 31-40

FORBES THAILAND / ADMIN
28 Jan 2016 | 04:21 PM
READ 2458

สืบสายสืบทรัพย์ ครั้งแรกของการจัดอันดับ 50 ตระกูลมหาเศรษฐีของเอเชีย

ครอบครัวคือแกนกลางสำคัญของธุรกิจยักษ์ใหญ่และแบรนด์ดังจำนวนมากในเอเชีย ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้นตระกูล Lee แห่ง Samsung Group ซึ่งรายได้ของกลุ่มในปี 2014 คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 22% ของ GDP ประเทศเกาหลีใต้ Forbes ได้ทำการจัดอันดับ 50 ตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย โดยกำหนดเกณฑ์ว่าตระกูลที่จะเข้าข่ายในการจัดอันดับของเราต้องมีการสืบทอด ทรัพย์สินกันต่อเนื่องอย่างน้อย 3 รุ่นขึ้นไป ดังนั้นชื่อของมหาเศรษฐีชั้นนำของภูมิภาคบางคนอย่างเช่น Li Ka-shing แห่งฮ่องกง จึงไม่ติดอันดับอยู่ในทำเนียบของเรา เพราะถึงแม้ว่าลูกชายของเขาจะอยู่ในแวดวงธุรกิจ แต่เขายังไม่มีทายาทรุ่นหลานที่ออกมารับบทผู้บริหารธุรกิจอย่างจริงจังเลย ถึง แม้ตระกูลส่วนใหญ่ในทำเนียบของเราจะสั่งสมความมั่งคั่งจากธุรกิจของตระกูล จากรุ่นสู่รุ่น แต่ในการจัดอันดับของเราในครั้งนี้ก็รวมไปถึงทายาทที่แยกทางออกไปทำธุรกิจ อื่นที่อยู่นอกเส้นทางของครอบครัวด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของตระกูล Ambini แห่งอินเดีย เราได้รวมทรัพย์สินของ 2 พี่น้อง Mukesh และ Anil ซึ่งได้รับมรดกทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากพ่อของพวกเขาซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี 2002 แต่พวกเขาเลือกที่จะแยกไปทำธุรกิจอื่นๆ ตามทางของตัวเอง ทั้งนี้มีตระกูลเศรษฐีอินเดียติดอันดับถึง 14 ตระกูลจากทั้งหมด 50 ตระกูลซึ่งสูงกว่า ตระกูลเศรษฐีจากประเทศอื่นๆ ในการรวบรวมราย ชื่อเพื่อจัดทำอันดับตระกูลเศรษฐีเอเชียครั้งนี้ เราได้ทำการตรวจสอบข้อมูลของตระกูลนักธุรกิจชั้นนำกว่า 500 ตระกูลและทำการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของหลายๆ ตระกูลที่เข้าข่าย ซึ่งปรากฏว่าตระกูลที่จะติดอันดับในทำเนียบของเราได้ต้องมีทรัพย์สินไม่ต่ำ กว่า 2.9 พันล้านเหรียญ โดยในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเราใช้ราคาหุ้นและอัตราแลกเปลี่ยนของวันที่ 25 กันยายน (2558) ธุรกิจของหลายๆ ตระกูลซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และแม้ว่าตระกูลจะยังคุมอำนาจบริหารอยู่ แต่พวกเขาก็ยังต้องตอบคำถามของผู้ถือหุ้นภายนอกตระกูล บางตระกูลอย่างเช่น Burmans ของอินเดีย ได้จ้างผู้บริหารมืออาชีพจากภายนอกมาบริหารธุรกิจของพวกเขา แต่บางครั้งการที่ทายาทของตระกูลวางมือจากการบริหารธุรกิจของครอบครัวไปก็ อาจเกิดเป็นประเด็นได้เหมือนกัน (ถ้าคุณคิดว่ามีตระกูลไหนที่เราอาจจะมองข้ามไป ก็อีเมลมาบอกเราได้ที่ readers@forbes.com)
ตระกูลมหาเศรษฐีของเอเชีย ลำดับที่ 31-40 31. ตระกูล LOHIA 5.4 พันล้านเหรียญ อินโดนีเซียและไทย Mohan Lal Lohia นักธุรกิจสิ่งทอจากอินเดียและ Sri Prakash Lohia ลูกชาย อพยพมายังอินโดนีเซียในปี 1973 และเริ่มต้นกิจการบริษัท Indorama Synthetics โรงงานผลิตเส้นใย ในปี 1976 ไม่นานหลังจากนั้นได้ขยายกิจการสู่ธุรกิจปิโตรเคมี เมื่อ Mohan อายุได้ 60 เขาคิดว่างานของบริษัทในอินโดนีเซียไม่มากพอสำหรับลูกชายทั้ง 3 ดังนั้น Om Prakash ลูกชายคนโต จึงรับหน้าที่ดูแลกิจการในอินโดนีเซีย ขณะที่ Aloke ลูกชายคนเล็ก เดินทางมาประเทศไทยและก่อตั้งบริษัท Indorama Venturesซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีรายใหญ่และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของไทย ขณะเดียวกัน Amitลูกชายอีกคน นอกจากนี้ยังรับหน้าที่ผลักดันธุรกิจในแอฟริกา ซึ่งใช้เงินลงทุนไปแล้วเกือบ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะที่ไนจีเรีย ทำให้บริษัทเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของแอฟริกาตะวันตก 32. ตระกูล WONOWIDJOJO 4.9 พันล้านเหรียญ อินโดนีเซีย ตระกูล Wonowidjojo อพยพจากประเทศจีนในปี 1927 หลังจากได้เริ่มงานในธุรกิจยาสูบของลุง Suryaก่อตั้ง Gudung Garam โรงงานผลิตบุหรี่ในปี 1958 อีก 25 ปีต่อมา Rachman Halim ลูกชายของ Surya เข้าบริหารกิจการต่อจากพ่อ ภายหลังการเสียชีวิตของเขาในปี 2008 Susilo Wonowidjojoจึงมารับช่วงต่อและยังคงบริหารหนึ่งในธุรกิจผลิตบุหรี่กานพลู หรือ kratek ที่ใหญ่สุดของอินโดนีเซียจนทุกวันนี้ มูลค่าหุ้นในตลาดของบริษัทสูงเกือบ 6,000 ล้านเหรียญ 33. ตระกูล PATEL 4.8 พันล้านเหรียญ อินเดีย Ramanbhai Patel ศาสตราจารย์ด้านเภสัชกรรม ร่วมกับ Indravadan Modi เพื่อนของเขา ก่อตั้ง Cadila Laboratories ในปี 1952 ช่วงแรก พวกเขาผลิตวิตามินสำหรับรักษาอาการโลหิตจาง Pankajลูกชายของ Ramanbhai เข้ามาช่วยงานที่ Cadila ในปี 1975 หลังจบการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ อย่างไรก็ดี เมื่อลูกชายของ Modi เข้าสู่ธุรกิจ หุ้นส่วนทั้ง 2 ได้แยกกันไปทำธุรกิจของตัวเองในปี 1995 Pankaj ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานบริษัทเมื่อพ่อของเขาเสียชีวิตลงในปี 2001 ทำให้ Cadila เป็นหนึ่งในบริษัทยาสามัญยักษ์ใหญ่ของอินเดีย ด้วยยอดขาย 1.3 พันล้านเหรียญ 34. ตระกูล WEE 4.4 พันล้านเหรียญ สิงคโปร์ ในปี 1935 Kheng Chiang ร่วมกับหุ้นส่วน 6 คน ก่อตั้งธนาคาร United Chinese Bank หรือ UOBในปัจจุบัน ลูกชายของเขา Wee Cho Yaw กุมบังเหียนธนาคารในตำแหน่งประธานและ CEO เป็นเวลา 38 ปี ขยายธุรกิจจากธนาคารท้องถิ่นสู่ธนาคารระดับภูมิภาค โดยเป็นสถาบันการเงินเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาลงจากตำแหน่งในปี 2012 Ee Cheong ลูกชายคนโตของเขาดำรงตำแหน่ง CEO ของธนาคาร UOB หนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาค ด้วยจำนวนสาขา 484 แห่ง โดยมีคนนอกตระกูลนั่งเก้าอี้ประธาน Ee Chao และ Ee Lim ลูกชายอีก 2 คนบริหารบริษัทในเครือ 35. ตระกูล ZOBEL 4.2 พันล้านเหรียญ ฟิลิปปินส์ ปัจจุบัน Ayala Corp. หนึ่งในกิจการที่เก่าแก่ที่สุดของฟิลิปปินส์ มีทายาทรุ่นที่ 7 ของตระกูลเป็นผู้บริหารงาน จากโรงกลั่นเล็กๆ ในกรุงมะนิลาเมื่อ 181 ปีก่อน ทุกวันนี้ Ayala Corp. กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ และยังเป็นบริษัทโฮลดิ้งของบริษัทหลายแห่งในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น Ayala Land ธนาคาร Bank of the Philippine Islands บริษัท Globe Telecom และ Manila Water พี่น้อง 7 คนในตระกูลถือหุ้นบริษัทรวมกันมากกว่า 1 ใน 3 36. ตระกูล LIM 4.15 พันล้านเหรียญ มาเลเซีย ทรัพย์สินของตระกูล LIM ได้มาด้วยวิสัยทัศน์ของ Lim Goh Tong ผู้พลิกผืนป่ารกบนเทือกเขาห่างไกลของมาเลเซียให้กลายเป็นรีสอร์ทชื่อดัง Genting Group เปิดให้บริการโรงแรมและกาสิโนในปี 1968 และได้ขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ น้ำมันปาล์ม ผลิตไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเรือสำราญ บริษัทมีชื่อเสียงในด้านการบริหารงานกาสิโนทั่วโลก รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เกาหลี และสิงคโปร์ โดยมีเสาหลักเป็นทายาทรุ่นที่ 2 อย่าง Lim Kok Thayลูกชายของเขาคือ Lim Keong Hui ทายาทผู้มีสิทธิ์โดยตรง ครองตำแหน่งประธานฝ่ายสารสนเทศ (CIO) และกรรมการบริหารสำนักประธานของ Genting Hong Kong Ltd. สมาชิกอย่างน้อย 5 คนของตระกูล รวมทั้งภรรยาม่ายของ Lim Goh Tong เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน 37. ตระกูล SALIM 4.12 พันล้านเหรียญ อินโดนีเซีย กลุ่มบริษัท Salim ที่มี Anthoni Salim เป็นหัวเรือใหญ่ ทำธุรกิจด้านอาหาร การเกษตร ยานยนต์ โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และการธนาคาร Liem Sioe Liong พ่อของเขา เดินทางจากมณฑล Fujian ประเทศจีนมายังอินโดนีเซียในปี 1938 แรกเริ่มเขาหาเลี้ยงชีพด้วยการขายเสื้อผ้าตามบ้าน Liem พบกับ Suharto ก่อนที่เขาเป็นประธานาธิบดีในปี 1967 และสานสัมพันธ์ที่เป็นผลดีกับธุรกิจนานหลายปี เมื่อ Suharto ต้องลงจากตำแหน่งในปี 1998 อาณาจักรธุรกิจตระกูล Salim เกือบย่อยยับไปด้วย แต่ก็กลับมายืนหยัดได้เมื่อเวลาผ่านไป ปัจจุบัน Axton ลูกชายของ Anthoni มีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหาร Indofood Sukses Makmur ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่ที่สุดของโลก รวมทั้งบริษัทในเครือที่ทำธุรกิจผลิตภัณฑ์นม และกำลังเตรียมรับช่วงธุรกิจจากพ่อของเขาเต็มตัว 38. ตระกูล LAW 4.1 พันล้านเหรียญ ฮ่องกง Kenneth Lo และ Law Kar Po พี่น้อง 2 คน สืบต่อความมั่งคั่งจากธุรกิจ Bossini ยักษ์ใหญ่ด้านสิ่งทอมูลค่ามหาศาล ซึ่งริเริ่มโดย Law Ting-pong พ่อของเขา ในปี 1970 Kenneth กับ Yvonne ภรรยาเปิดโรงงานผลิตเสื้อกันหนาวและปัจจุบันทำหน้าที่ประธานบริษัท Crystal Group หนึ่งในผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ที่สุดของโลก ที่มี Andrew ลูกชายของเขารับตำแหน่ง CEO ด้าน Law Kar Po สร้างความร่ำรวยจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หนึ่งในสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากที่สุดคือโรงแรม Park Hotel บนเกาะ Kowloon โดยมี Wendy ลูกสาวที่เป็นทนายความเข้ามาทำธุรกิจห้างสรรพสินค้าของตระกูล ขณะที่ Allen ลูกชายทำธุรกิจโรงแรม 39. ตระกูล KWEE 4.05 พันล้านเหรียญ สิงคโปร์ บริษัท Pontiac Land Group ของตระกูล Kwee เป็นเจ้าของโรงแรม Ritz Carlton ในสิงคโปร์และโรงแรมระดับ 5 ดาวอีกหลายแห่ง อาทิ Patina, Capella และ Conrad Centennial รวมถึงอาคารพาณิชย์ระดับไฮเอนด์อย่าง Millenia Walk, Millenia Tower และ Centennial Tower โดย Evanลูกชายคนเดียวของ Liong Tek ประธานบริษัท ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ Capella Hotel Group Asia 40. ตระกูล LAL 4 พันล้านเหรียญ อินเดีย ค่ายรถ Eicher Motors เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ Royal Enfield อันโด่งดัง และเป็นผู้ผลิตยานยนต์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอินเดีย ที่มาของธุรกิจครอบครัวเริ่มจากที่ Man Mohan Lal ก่อตั้งบริษัท Goodearth Co. ขึ้นในปี 1948 เพื่อจำหน่ายและให้บริการรถแทรกเตอร์นำเข้า ในปี 1958 เขาเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Eicher Tractor หลังร่วมหุ้นกับ Eicher บริษัทสัญชาติเยอรมนี Vikram Lal ลูกชายของMan Mohan ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากเยอรมัน ทำหน้าที่ดูแลกิจการบริษัทตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา Siddhartha ลูกชายของเขามารับช่วงต่อและได้จัดการขายทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยสร้างรายได้ (ครั้งนั้นขายไป 15 รายการ) เพื่อทุ่มให้กับธุรกิจจักรยานยนต์และบริษัทที่ร่วมทุนกับ Volvo ผลิตรถบรรทุก ภายใต้การนำของเขา ยอดขาย Royal Enfield พุ่งขึ้นจากปีละ 24,000 คัน ในช่วงปี 2000 ไปเป็น 300,000 คัน เมื่อปีกลาย มากกว่ายอดขายทั่วโลกของผู้ผลิตรายใหญ่จากสหรัฐฯ อย่าง Harley-Davidson รถจักรยานยนต์ของบริษัทสามารถทำรายได้ 1 ใน 3 ของรายได้รวม 1.4 พันล้านเหรียญ คิดเป็นร้อยละ 70 ของรายได้สุทธิทั้งหมด

คลิ๊กอ่าน "สืบสายสืบทรัพย์" ฉบับเต็มได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ DECEMBER 2015 ในรูปแบบ E-Magazine