ท่ามกลางผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ยังคงเติบโตในอัตราเลขสองหลัก ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เช่นเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 13 จากปีที่แล้ว
ในปีนี้ 50 มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในฟิลิปปินส์มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 30 เป็น 7.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ นำโดย
พี่น้องตระกูล Sy ซึ่งเป็นทายาทของ Henry Sy Sr. ด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มสูงขึ้น 2.7 พันล้านเหรียญ รวมเป็น 1.66 หมื่นล้านเหรียญ
ในทำนองเดียวกัน
Manuel Villar ผู้ซึ่งครองอันดับ 2 ของทำเนียบ มีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 1.7 พันล้านเหรียญ รวมเป็น 6.7 พันล้านเหรียญ ซึ่งได้รับอานิงส์จากการขยายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจ เข้าซื้อกิจการ Manila Water ตามมาด้วย
Enrique Razon Jr. ผู้ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 5.8 พันล้านเหรียญ
ด้าน
Betty Ang ผู้ร่วมก่อตั้งและประธาน Monde Nissin ซึ่งเป็นผู้ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพย์สินมากที่สุด เห็นได้จากอันดับที่ปรับสูงขึ้นมากถึง 20 อันดับ จากการนำธุรกิจเข้าซื้อขายในเดือนมิถุนายน ซึ่งนับว่าเป็นการทำ IPO ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่งผลให้เธอมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากกว่า 7 เท่าคิดเป็นมูลค่า 1.4 พันล้านเหรียญ
นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 มหาเศรษฐีหน้าใหม่ที่เพิ่งก้าวเข้าสู่ทำเนียบ ได้แก่
Hartono Kweefanus ประธาน Monde Nissin พี่เขยของ Ang,
Henry Soesanto ซีอีโอของบริษัท รวมถึงพี่น้อง
Keng Sun และ
Peter Mar ซึ่งเป็นทายาทของธุรกิจบิสกิตที่ครอบครัวของพวกเขาขายให้กับ Monde Nissin
ขณะมหาเศรษฐีหน้าใหม่ที่ร่ำรวยที่สุดในปีนี้ ได้แก่
Dennis Anthony และ
Maria Grace Uy ผู้ร่วมก่อตั้ง Converge ICT Solutions ซึ่งได้รับประโยชน์จากความต้องการบริการบรอดแบนด์ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ตามมาด้วย
Luis Yu Jr. และ
Mariano Martinez Jr. เจ้าของ 8990 Holdings ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างบ้านด้วยต้นทุนต่ำ และคู่สามีภรรยา
Bendicto และ
Teresita Yujuico ที่เก็บเกี่ยวความมั่งคั่งจากการนำ DDMP REIT บริษัทให้เช่าพื้นที่สำนักงานที่พวกเขาร่วมก่อตั้งกับ Edgar Sia II เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ขณะที่มหาเศรษฐีมากกว่า 12 รายจากธุรกิจสายการบินและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่าพวกเขาผู้มีความมั่งคั่งลดลง อาทิเช่น
Lucio Tan ที่เพิ่งนำสายการบิน Philippines Airlines ยื่นล้มละลายภายใต้กฎหมายล้มละลายมาตรา 11 ของสหรัฐฯ ต่อศาลแขวงใต้ในนิวยอร์ก เพื่อปรับโครงสร้างกิจการ ขณะที่อีก 9 รายมีรายชื่อหลุดจากทำเนียบไป ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการใช้เกณฑ์การจัดอันดับเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าที่ 200 ล้านเหรียญ
พบกับ
10 มหาเศรษฐีฟิลิปปินส์ ประจำปี 2021 ซึ่งได้รับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2021
อันดับ 1
พี่น้องตระกูล Sy
ทรัพย์สินสุทธิ: 1.66 หมื่นล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: หลากหลาย
อันดับ 2
Manuel Villar
ทรัพย์สินสุทธิ: 6.7 พันล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: อสังหาริมทรัพย์
อันดับ 3
Enrique Razon Jr.
ทรัพย์สินสุทธิ: 5.8 พันล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: ธุรกิจท่าเรือ
อันดับ 4
Lance Gokongwei และพี่น้อง
ทรัพย์สินสุทธิ: 4 พันล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: หลากหลาย
อันดับ 5
Jaime Zobel de Ayala
ทรัพย์สินสุทธิ: 3.3 พันล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: หลากหลาย
อันดับ 6
Dennis Anthony และ Maria Grace Uy
ทรัพย์สินสุทธิ: 2.8 พันล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: โทรคมนาคม
อันดับ 7
Tony Tan Caktiong และครอบครัว
ทรัพย์สินสุทธิ: 2.7 พันล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: ธุรกิจอาหาร
อันดับ 8
Andrew Tan
ทรัพย์สินสุทธิ: 2.6 พันล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: หลากหลาย
อันดับ 9
Ramon Ang
ทรัพย์สินสุทธิ: 2.3 พันล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: หลากหลาย
อันดับ 10
พี่น้องตระกูล Ty
ทรัพย์สินสุทธิ: 2.2 พันล้านเหรียญฯ
แหล่งที่มาทรัพย์สิน: การธนาคาร
แปลและเรียบเรียงจากบทความ Philippines’ 50 Richest 2021: Collective Wealth Up 30% As Economy Regains Momentum โดย ชญาน์นัทช์ ธนินท์พงศ์ภัค เผยแพร่บน Forbes.com
อ่านเพิ่มเติม:
การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีสิงคโปร์ ประจำปี 2021