การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีอินโดนีเซีย ประจำปี 2021 - Forbes Thailand

การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีอินโดนีเซีย ประจำปี 2021

FORBES THAILAND / ADMIN
15 Dec 2021 | 01:30 PM
READ 3637

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซียราวร้อยละ 4 ในปีนี้ ได้รับแรงหนุนส่วนหนึ่งจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนี IDX ปรับตัวสูงขึ้นกว่าร้อยละ 19 จากปีที่แล้ว ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินรวมของ 50 มหาเศรษฐีแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.62 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 21 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

สำหรับในปีนี้ พี่น้อง R. Budi และ Michael Hartono ยังคงครองตำแหน่งสูงสุดของทำเนียบ ด้วยมูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นราว 3.8 พันล้านเหรียญเป็น 4.26 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งได้รับอานิสงส์มาจากการปรับตัวสูงขึ้นของหุ้น Bank Central Asia จากการที่นักลงทุนหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร แม้ตระกูล Widjaja ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท Sinar Mas Group จะเป็น 1 ใน 7 รายชื่อมหาเศรษฐี ที่มีความมั่งคั่งลดลงราว 2.2 พันล้านเหรียญในปีนี้ โดยได้รับผลกระทบจากยอดขายและผลกำไรที่ลดลงในธุรกิจกระดาษ ทว่าด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 9.7 พันล้านเหรียญ ทำให้พวกเขายังคงรั้งตำแหน่งมหาเศรษฐีอันดับ 2 ของประเทศเช่นเคย ด้าน Anthoni Salim จาก Salim Group ที่ดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภทตั้งแต่อาหารไปจนถึงโทรคมนาคม ได้กลับมาทวงคืนบัลลังก์ในฐานะบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 3 ของอินโดนีเซียหลังจากที่หลุดจากทำเนียบไปนาน 4 ปี ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 44 เป็น 8.5 พันล้านเหรียญ โดยได้รับอานิสงส์จากผลตอบแทนการลงทุนในบริษัทดาวรุ่งอย่าง Emtek และผู้ดำเนินการศูนย์ข้อมูล DCI Indonesia  อย่างไรก็ดี Salim ไม่ใช่ผู้รับผลประโยชน์เพียงรายเดียวจากการเสนอขายหุ้น IPO ของ DCI Indonesia ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพราะในขณะเดียวกัน มหาเศรษฐีหน้าใหม่ 3 ใน 4 รายของปีนี้ล้วนเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง DCI ด้วยกันทั้งสิ้น อันได้แก่ Otto Toto Sugiri, Marina Budiman และ Han Arming Hanafia ขณะที่ผู้มาใหม่คนที่สี่ คือ John Kusuma ซึ่งได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในธนาคารดิจิทัล Bank Aladin Syariah ขณะที่ผู้รับผลประโยชน์จากธนาคารดิจิทัลที่โดดเด่นที่สุดในปีนี้ คือ Jerry Ng โดยความมั่งคั่งของเขาเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่า ท่ามกลางการขยายตัวทางดิจิทัลของ Bank Jago ที่ทำให้เขาก้าวขึ้นสู่อันดับที่ 12 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3.2 พันล้านเหรียญ  ในทำนองเดียวกัน ราคาถ่านหินที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดก็ได้เป็นแรงผลักดันให้ 6 มหาเศรษฐีจากกลุ่มธุรกิจได้รับผลประโยชน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ Kiki Barki ผู้ก่อตั้งบริษัทขุดถ่านหิน Harum Energy ที่กลับเข้าสู่ทำเนียบอีกครั้งหลังจาก 7 ปีในอันดับที่ 27 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.6 พันล้านเหรียญ ขณะที่อีก 5 รายมีรายชื่อหลุดจากทำเนียบไป ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการใช้เกณฑ์การจัดอันดับที่เพิ่มขึ้นจาก 475 ล้านเหรียญในปี 2020 เป็น 695 ล้านเหรียญ  พบกับ 10 มหาเศรษฐีอินโดนีเซีย ประจำปี 2021 ซึ่งได้รับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2021 อันดับ 1  R. Budi และ Michael Hartono ประเภทธุรกิจ: หลากหลาย มูลค่าทรัพย์สิน: 4.26 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีอินโดนีเซีย อันดับ 2   ตระกูล Widjaja  ประเภทธุรกิจ: หลากหลาย มูลค่าทรัพย์สิน: 9.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับ 3   Anthoni Salim และครอบครัว  ประเภทธุรกิจ: หลากหลาย มูลค่าทรัพย์สิน: 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีอินโดนีเซีย อันดับ 4    Sri Prakash Lohia  ประเภทธุรกิจ: ปิโตรเคมี มูลค่าทรัพย์สิน: 6.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีอินโดนีเซีย อันดับ 5    Prajogo Pangestu  ประเภทธุรกิจ: ปิโตรเคมี มูลค่าทรัพย์สิน: 6.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีอินโดนีเซีย อันดับ 6     Chairul Tanjung  ประเภทธุรกิจ: หลากหลาย  มูลค่าทรัพย์สิน: 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีอินโดนีเซีย อันดับ 7      Susilo Wonowidjojo และครอบครัว  ประเภทธุรกิจ: ยาสูบ  มูลค่าทรัพย์สิน: 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับ 8      Boenjamin Setiawan และครอบครัว  ประเภทธุรกิจ: เวชภัณฑ์  มูลค่าทรัพย์สิน: 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับ 9      Jogi Hendra Atmadja และครอบครัว  ประเภทธุรกิจ: สินค้าอุปโภคบริโภค  มูลค่าทรัพย์สิน: 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับ 10      Bachtiar Karim และครอบครัว  ประเภทธุรกิจ: หลากหลาย   มูลค่าทรัพย์สิน: 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แปลและเรียบเรียงโดย ชญาน์นัทช์ ธนินท์พงศ์ภัค จากบทความ Indonesia’s 50 Richest 2021: Combined Wealth Rises To Record $162 Billion เผยแพร่บน Forbes.com อ่านเพิ่มเติม: “เศรษฐีใจบุญ” แห่งทวีปเอเชีย ประจำปี 2021 ตอนที่ 1