พวกเราได้จัดทำทำเนียบนี้เป็นปีที่ 16 เพื่อยกย่องเศรษฐีใจบุญระดับแนวหน้าของภูมิภาคผู้มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในอุดมการณ์ส่วนตัวในด้านต่างๆ เช่น การศึกษาและสิ่งแวดล้อม
เราคัดเลือกเหล่า 15 ผู้ใจบุญ (มีทั้งแบบคู่และเดี่ยว) เข้าติดทำเทียบ โดยในปี 2022 มีผู้เข้ามาใหม่ 9 อันดับ และเรายังพิจารณาผู้ที่เคยได้รับเกียรติในปีก่อนๆ ด้วยเช่นกัน
หากในระยะหลังนี้พวกเขามีส่วนร่วมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จนเหมาะสมจะได้กลับเข้าทำเนียบมาอีกครั้งทำเนียบนี้ไม่มีการจัดอันดับ แต่เรามองหาเศรษฐีผู้ใจบุญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งบริจาคเงินเป็นจำนวนมากจากกองทรัพย์สินของตนเอง รวมทั้งอุทิศเวลาและความใส่ใจเพื่ออุดมการณ์ที่ตนเลือกด้วย
ทำเนียบนี้ไม่นำการช่วยเหลือสังคมในนามบริษัทมาพิจารณา เว้นแต่บริษัทเหล่านั้นจะเป็นบริษัทเอกชนที่มีบุคคลเดียวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
เศรษฐีใจบุญแห่งเอเชีย
Ashok Soota
ประธานบริหาร Happiest Minds Technologies
อายุ: 80 ปี • อินเดีย
Ashok Soota ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีได้ให้คำมั่นว่า จะให้เงิน 6 พันล้านรูปี (75 ล้านเหรียญ) ให้กับกองทุนวิจัยทางการแพทย์ที่เขาก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ปี 2021 เพื่อศึกษาเรื่องความชราและโรคทางระบบประสาท เขาก่อตั้ง SKAN ซึ่งย่อมาจาก Scientific Knowledge for Ageing and Neurological Ailments หรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านความชราและความเจ็บป่วยทางระบบประสาท
ค่าใช้จ่ายในการก่อตั้งอยู่ที่ 2 พันล้านรูปี ซึ่งหลังจากนั้นเขาได้เพิ่มอีก 3 เท่าและซื้อที่ดินใกล้ๆ เมือง Bangalore เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ “คนทำวิจัย [การแพทย์] ในอินเดียมีแค่ 2 ประเภทเท่านั้น” Soota เล่าผ่านทางโทรศัพท์ “ประเภทแรกคือคนที่ค้นคว้าด้านยา อีกประเภทคือ คนทำวิจัยในสถาบันระดับรัฐและระดับชาติซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างมาก” ซึ่งเขากำลังวางแผนให้เงินอีกใน 10 ปีข้างหน้า
Soota ผู้สร้างความมั่งคั่งจากการถือหุ้นส่วนใหญ่ใน Happiest Minds Technologies บริษัทให้บริการซอฟต์แวร์จากเมือง Bangalore กล่าวว่า SKAN กำลังทำงานร่วมกับศูนย์วิจัยด้านสมอง (Centre for Brain Research) ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินเดีย (Indian Institute of Science) โดยทำวิจัยเกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน
รวมทั้งร่วมมือกับสถาบันสุขภาพจิตและประสาทวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ (National Institute for Mental Health and Neuro Sciences) เพื่อวิจัยโรคหลอดเลือดสมอง ในเดือนมิถุนายน ปี 2021 SKAN ได้มอบเงินช่วยเหลือ 200 ล้านรูปีให้แก่ Indian Institute of Technology Roorkee ซึ่งเป็นสถาบัน ที่ Soota เคยเรียน เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยร่วมสำหรับสร้างห้องทดลองและให้ทุนอาจารย์ 1 ทุน และนักวิจัยของคณะ 3 ทุน รายงานโดย - Anuradha Raghunathan
จุน วนวิทย์
ผู้ก่อตั้ง Hatari Electric
อายุ: 85 ปี • ไทย
ในเดือนกรกฎาคม จุน วนวิทย์ ผู้ก่อตั้ง Hatari Electric หนึ่งใน
ผู้ผลิตพัดลมชั้นนำของประเทศไทย และครอบครัวบริจาคเงิน 900 ล้านบาท (24 ล้านเหรียญ) ให้แก่มูลนิธิรามาธิบดีซึ่งทำหน้าที่ระดมทุนให้โรงพยาบาลรามาธิบดีและบริการด้านสาธารณสุข โดยแบ่งให้โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี 160 ล้านบาท ศูนย์การแพทย์รามาธิบดี 300 ล้านบาท และโครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี 440 ล้านบาท
รายงานข่าวจากสื่อของไทยระบุว่า นักธุรกิจผู้ไม่ชอบจะเป็นข่าว
ผ่านสื่อรายนี้ได้พูดว่า “ลูกๆ ผมมีอาชีพและเงินเป็นของตัวเองผมเลยอยากบริจาคเงินนี้ให้แก่ผู้ป่วยทั่วไป” จุนเริ่มต้นจากร้านซ่อมพัดลมเล็กๆ ก่อนผันตัวไปรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์ญี่ปุ่นต่างๆ และในที่สุดก็เปิดตัวแบรนด์พัดลมของตัวเองที่ขายดีที่สุด ภายใต้บริษัท Hatari Electric บริษัทเอกชนแห่งนี้มีรายได้ 6.3 พันล้านบาทในปี 2021 รายงานโดย -
พิษณุ พรหมจรรยา
Paula Fox
กรรมการ Fox Family Foundation
อายุ: 83 ปี • ออสเตรเลีย
Lindsay Fox
ผู้ก่อตั้ง Linfox
อายุ: 85 ปี • ออสเตรเลีย
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา Lindsay Fox ผู้ทรงอิทธิพลแห่งวงการรถบรรทุกของออสเตรเลีย และ Paula ภรรยาได้ให้คำมั่นว่าจะบริจาค 100 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (67 ล้านเหรียญ) เพื่อช่วยสร้างแกลเลอรีศิลปะร่วมสมัยที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียที่ National Gallery of Victoria (NGV) โดยใช้ชื่อว่า The Fox: NGV Contemporary
เมื่อแกลเลอรีแห่งนี้เปิดตัวในปี 2028 จะมีพื้นที่กว่า 13,000 ตร.ม. ประกอบไปด้วยโซนแสดงผลงานห้องทดลองเพื่อการอนุรักษ์ศิลปะ และดาดฟ้าที่มองเห็นเส้นขอบฟ้าของเมือง Melbourne ของขวัญดังกล่าวตรงกับวันเกิดปีที่ 85 ของเศรษฐีพันล้านผู้นี้ และนับเป็นการบริจาคครั้งใหญ่ที่สุด (วัดจากจำนวนเงิน) ให้แก่พิพิธภัณฑ์ศิลปะออสเตรเลียโดยผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต
ทั้งคู่ได้สนับสนุน NGV มาเกือบ 2 ทศวรรษ มีส่วนช่วยในการจัดซื้อผลงานของศิลปินทั้งในประเทศและต่างประเทศ Paula ซึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการมูลนิธิ NGV กล่าวเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่าครอบครัวของเธอหวังว่าการบริจาคของพวกเขาจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นสนับสนุนโครงการและเป้าหมายคือ การทำให้ศิลปะเข้าถึงชุมชนที่กว้างขึ้น
เดือนมิถุนายน ปี 2022 ศูนย์ตรวจหาและรักษามะเร็งผิวหนังมูลค่า 152 ล้านเหรียญออสเตรเลียของโรงพยาบาล Alfred ใน Melbourne ได้ตั้งชื่อของศูนย์ว่า Paula Fox Melanoma and Cancer Centre
เนื่องจาก Paula ผู้รอดชีวิตจากมะเร็งผิวหนังและสามีได้บริจาคเงินให้ศูนย์นี้เป็นการส่วนตัว เมื่อศูนย์เปิดทำการในปี 2024 คาดกันว่า จะรองรับผู้ป่วยได้ 300 คนต่อวันจากห้องรักษาจำนวน 25 ห้อง รายงานโดย - Gloria Haraito
Reiko Fukutake
ผู้อำนวยการบริหาร Rei Foundation
ญี่ปุ่น
Reiko Fukutake ภรรยาของนักธุรกิจใหญ่ด้านการศึกษาชาวญี่ปุ่น Soichiro Fukutake ซึ่งเป็นอดีตซีอีโอของ Benesse Holdings ได้ก่อตั้งและให้ทุนแก่ มูลนิธิ Rei Foundation ในเมือง Auckland โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี “ทางร่างกาย สังคม จิตวิญญาณ และอารมณ์” ในชุมชนต่างๆ ทั่วโลก
ในปีบัญชีสิ้นสุดเดือนมีนาคม ปี 2021 มีสินทรัพย์ประมาณ 35 ล้านเหรียญนิวซีแลนด์ (21.6 ล้านเหรียญ) และได้มอบเงินช่วยเหลือเกือบ 570,000 เหรียญนิวซีแลนด์ ส่วนในปี 2022 Kim Hak ช่างภาพชาวกัมพูชาได้จัดงานใน Tokyo เป็นนิทรรศการแสดงสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มีความหมายต่อผู้รอดชีวิตจากสงครามในกัมพูชาภายใต้ระบอบการปกครองของเขมรแดงและมาตั้งรกรากที่ญี่ปุ่น ซึ่งงานนี้เป็นหนึ่งในความร่วมมือต่อเนื่องร่วมกับมูลนิธิ
นอกจากนี้ ยังประกาศมอบทุนการศึกษา 2 ทุน จำนวน 25,000 เหรียญนิวซีแลนด์ต่อปี ซึ่งรวมค่าเล่าเรียนสูงสุด 3 ปี ให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาที่ศูนย์การศึกษาสันติภาพและความ
ขัดแย้งแห่งชาติ (National Centre for Peace and Conflict Studies)
ของ University of Otago
ส่วนในมาลาวีมูลนิธิได้สนับสนุนโครงการระยะยาวเป็นเวลา 10 ปีเพื่อสนับสนุนการเล่านิทานพื้นบ้านและเพลงพื้นบ้านของประเทศ รวมทั้งยังร่วมมือกับเทศกาลภาพยนตร์ Doc Edge ตั้งแต่ปี 2019-2021 เพื่อให้
เงินทุนแก่สารคดีสั้นสำหรับเด็กและวัยรุ่นในนิวซีแลนด์และต่างประเทศ
ทุนจำนวน 20,000 เหรียญนิวซีแลนด์ สำหรับผู้สร้างภาพยนตร์นั้น
ครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลาย เช่น วงดนตรีหญิงวัยรุ่น วัยรุ่นข้ามเพศ
ที่มีอาการออทิสติก ระดับน้ำาทะเลที่สูงขึ้น และม้าน้ำาที่ใกล้สูญพันธุ์
ในกัมพูชา รายงานโดย - James Simms
Brahmal Vasudevan
ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Creador
อายุ: 54 ปี • มาเลเซีย
Shanthi Kandiah
ผู้ก่อตั้ง SK Chambers
อายุ: 53 ปี • มาเลเซีย
Brahmal Vasudevan ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Creador บริษัทไพรเวทอิควิตี้ใน Kuala Lumpur และ Shanthi Kandiah ภรรยาที่เป็นทนายความได้สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในมาเลเซียและอินเดียผ่านมูลนิธิ Creador ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่พวกเขาร่วมกันก่อตั้งในปี 2018 ในเดือนพฤษภาคม ปี 2022
พวกเขาให้คำมั่นว่า จะบริจาคเงิน 50 ล้านริงกิต (11 ล้านเหรียญ) เพื่อช่วยสร้างโรงพยาบาลหลักที่ Universiti Tunku Abdul Rahman (UTAR) วิทยาเขต Kampar ในรัฐ Perak ทั้งคู่เข้ามาเพื่อช่วยอุดช่องว่างด้านเงินทุนเพราะรู้มาว่า UTAR ระดมทุนได้เพียงครึ่งเดียวของจำนวนที่ต้องการเพื่อสร้างสถานพยาบาลไม่แสวงหาผลกำไร และเมื่อสร้างเสร็จในปี 2023 ก็จะให้บริการรักษาพยาบาลในราคาย่อมเยา
“เรายินดีที่สิ่งนี้ได้กระตุ้นให้คนอื่นๆ เข้าร่วมกิจกรรม และดูเหมือนว่าโครงการนี้จะหาเงินทุนได้เต็มจำนวนแล้ว” Vasudevan กล่าวในสัมภาษณ์ผ่านอีเมล
ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ทั้งคู่ยังบริจาคเงิน 25 ล้านปอนด์ (30
ล้านเหรียญ) ให้กับ Imperial College London ซึ่งถือเป็นหนึ่งการบริจาคที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เพื่อสร้างสถาบัน Brahmal Vasude-van Institute for Sustainable Aviation สำหรับบุกเบิกเทคโนโลยีที่
จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรมการบินโดยปล่อยมลพิษ
เป็นศูนย์
“เรารู้สึกว่าการมีสถาบันนี้จะสร้างแรงกระเพื่อมที่มีความหมาย
ต่อการศึกษาหาทางลดมลพิษ หรือยิ่งกว่านั้นคือทำให้เป็นศูนย์ได้จริงๆ”
Vasudevan ผู้จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมการบินจากมหาวิทยาลัย
ในปี 1990 กล่าว รายงานโดย - G. H.
Michael Kim
ผู้ร่วมก่อตั้ง MBK Partners
อายุ: 59 ปี • เกาหลีใต้
ในเดือนกันยายน ปี 2022 Michael Kim เศรษฐีพันล้านบริษัทไพรเวทอิควิตี้ให้สัญญาว่า จะมอบเงิน 10 ล้านเหรียญแก่ Metropolitan
Museum of Art (The Met) ใน New York ซึ่งเขาอยู่ในคณะกรรมการ
จัดการมาตั้งแต่ปี 2017 เงินบริจาคจะนำไปใช้บูรณะโซน Oscar L. และ
H.M. Agnes Hsu-Tang ของ The Met ซึ่งจัดแสดงศิลปะสมัยใหม่
และร่วมสมัย
แกลเลอรีใหม่นี้จะตั้งชื่อตามเขาและภรรยา Park Kyung-ah
ทั้งคู่สนับสนุนศิลปะหลากหลายแขนง “เพื่อเพิ่มความงดงามให้โลก”
Kim กล่าวผ่านอีเมล
Kim เป็นนักสะสมงานศิลปะตัวยงและบริหารจัดการงานศิลปะที่
MBK Partners ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทซื้อกิจการที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
(จัดอันดับโดย AUM) เขายังนั่งอยู่ในคณะกรรมการของ Carnegie
Hall อีกด้วย ความมุ่งมั่นด้านการกุศลอื่นๆ ของเขาคือเรื่องการศึกษา
Kim เล่าว่า มูลนิธิกองทุนการศึกษา MBK ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์กว่า 175 คนตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2007 และ
นี่เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ Kim ปรากฏในทำเนียบ ในเดือนสิงหาคม ปี 2021 เขามอบเงิน 25.5 ล้านเหรียญแก่รัฐบาลเกาหลีใต้เพื่อสร้างห้องสมุดสาธารณะแห่งใหม่ในเมืองหลวงของประเทศ รายงานโดย - John Kang
Hiroshi Mikitani
ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Rakuten Group
อายุ: 57 ปี • ญี่ปุ่น
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 Mikitani ทวีตประกาศบริจาคเงิน 1
พันล้านเยน (7.2 ล้านเหรียญ) ให้แก่ยูเครน เพื่อจัดการผลกระทบด้าน
มนุษยธรรมจากการรุกรานของรัสเซียเมื่อต้นเดือนเดียวกัน ในจดหมาย
ถึงประธานาธิบดียูเครน Volodymyr Zelensky ที่เผยแพร่ในเวลา
เดียวกัน Mikitani เขียนว่า “เมื่อผมเห็นคุณลุกขึ้นต่อต้านอย่างกล้าหาญ
ต่อการโจมตีโดยไม่มีเหตุยั่วยุนี้...ผมก็มาคิดว่าจะทำอะไรได้บ้างในญี่ปุ่น
เพื่อยูเครน แล้วก็ตัดสินใจบริจาค”
นอกจากนี้ ในช่วงที่ความขัดแย้งเริ่มปะทุ ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซและโทรคมนาคมมูลค่า 7.4 พันล้านเหรียญ (มูลค่าตามราคาตลาด) อนุญาตให้ชาวยูเครนใช้ Viber แอปรับส่งข้อความของ Rakuten ซึ่งมีอยู่บนสมาร์ทโฟน 97% ในประเทศเพื่อโทรเข้าเบอร์บ้านหรือมือถือได้ฟรี เว็บไซต์รับบริจาคออนไลน์เพื่อยูเครนของ Rakuten ที่เริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 ระดมเงินได้เกือบ 1.3 พันล้านเยนจากผู้บริจาคกว่า 70,000 ราย เพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือต่างๆ
ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน Mikitani ยังเป็นเจ้าภาพงานดนตรีการกุศลใน Tokyo โดยมี Tina Karol ซูเปอร์สตาร์เพลงป๊อปชาวยูเครนเพื่อช่วยหาเงินบริจาคให้แก่ยูเครน เศรษฐีพันล้านรายนี้ได้พบกับ Zelensky ครั้งแรกตอนเยือนยูเครนเมื่อ 3 ปีที่แล้วเพื่อหารือเรื่องการขยายธุรกิจของ Rakuten ที่นั่น
รายงานโดย - J. S.
John Lim
ผู้ร่วมก่อตั้ง ARA Asset Management
อายุ: 66 ปี • สิงคโปร์
Andy Lim (จากภาพ)
ซีอีโอกลุ่ม JL Family Office
อายุ: 37 ปี • สิงคโปร์
ในปี 2008 เศรษฐีพันล้าน John Lim ผู้ร่วมก่อตั้ง ARA Asset Management (เพิ่งถูกซื้อไปโดย ESR Cayman) มอบหมายให้ Andy ลูกชายคนโตของเขาจัดตั้งองค์กรการกุศลโดยตั้งชื่อตามคุณปู่ที่เป็นครูสอนในโรงเรียน
มูลนิธิ Lim Hoon มอบทุนการศึกษาให้เด็กในสิงคโปร์ที่อยู่ในสภาวะ “แซนวิช” นั่นคือมุมานะแต่ด้อยโอกาส ซึ่งมีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ส่วนใหญ่ของประเทศที่จะได้รับเงินสนับสนุน ทั้งนี้สถาบันได้ให้ทุนไปแล้วกว่า 1,600 ทุน รวมมูลค่าประมาณ 1 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (727,000 เหรียญ) แก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
มูลนิธิแห่งนี้เป็นผู้บริจาคมาอย่างยาวนานให้แก่ Singapore
Management University และได้บริจาคเงินจำนวน 3 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในเดือนเมษายน ปี 2022 เพื่อจัดตั้งทุนการศึกษา JLFO-LHF ในทุกๆ ปีนักเรียนประมาณ 12 คนจะได้รับทุนการศึกษาสำหรับ 4 ปีจำนวน 40,000 เหรียญสิงคโปร์ มีนักศึกษา SMU ทั้งเก่าและปัจจุบันจำนวน 50 คนได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
“คุณเห็นพวกเขาเติบโตขึ้นจากจุดที่พวกเขาเคยอยู่ก่อนหน้านี้ในชีวิต มันสร้างแรงบันดาลใจได้มากทีเดียว” Andy ให้สัมภาษณ์ ณ สำนักงาน
ของเขา “พวกเขาได้เลื่อนขั้นทางสังคม และสำหรับน้องๆ ที่เพิ่ง
เข้าปี 1 ปี 2 ปี 3 [การมี] แบบอย่างเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญ” รายงานโดย - J. T.
อ่านเพิ่มเติม: เศรษฐีใจบุญแห่งเอเชีย ตอนที่ 1