Amazon กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเข้าซื้อกิจการ MGM สตูดิโอภาพยนตร์รายใหญ่ของสหรัฐฯ และเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าเป็นรองเพียงการเข้าซื้อ Whole Foods เมื่อปี 2017 ที่มูลค่า 1.37 หมื่นล้านเหรียญ
ในปี 2009 บริษัททุ่มเงิน 1.2 พันล้านเหรียญเพื่อเข้าซื้อ
Zappos บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ซึ่งจัดจำหน่ายรองเท้า และอีก 1.2 พันล้านเหรียญในปี 2020 ใน
Zoox ธุรกิจยานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนารถแท็กซี่ขับเคลื่อนด้วยตนเองรุ่นแรก
นอกจากนี้ยังได้ซื้อกิจการอื่นๆ อย่าง
Ring ผู้ผลิตกริ่งประตูอัจฉริยะที่มูลค่า 839 ล้านเหรียญในปี 2018 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เข้าซื้อ
PillPack บริการจัดส่งยาเดลิเวอรี่จากเภสัชกรที่ 753 ล้านเหรียญ
ก่อนหน้านั้นในปี 2014 Amazon เข้าซื้อแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งวิดีโอเกม
Twitch ที่ 970 ล้านเหรียญ หลังจากที่เข้าซื้อบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์
Kiva Systems เป็นมูลค่า 775 ล้านเหรียญในปี 2012 และ
Quidsi บริษัทแม่ของ Diapers.com และไซต์อี-คอมเมิร์ซอื่นๆ ในปี 2010 ที่ 545 ล้านเหรียญ
ไม่เพียงเท่านี้ Amazon ยังได้ลงทุนใน
Amazon Web Services ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรายได้หลัก หลังจากเข้าซื้อบริษัทอื่นๆ มากกว่า 12 แห่ง อาทิ การเข้าซื้อ
Elemental Technologies ผู้ให้บริการวิดีโอบนโทรศัพท์มือถือที่มูลค่า 500 ล้านเหรียญ ในปี 2018 และลงทุนอีก 20 ล้านเหรียญเมื่อปี 2017 ใน
harvest.ai สตาร์ทอัพรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
นอกเหนือจากการเข้าซื้อ MGM แล้ว Amazon ยังได้ลงทุนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ด้วยการเข้าซื้อ
IMDB ในปี 1998 พร้อมกับอีก 2 บริษัทคิดเป็นมูลค่า 55 ล้านเหรียญ และ
Lovefilm ผู้ให้บริการเช่าดีวีดีที่มูลค่า 317 ล้านเหรียญในปี 2011 ตลอดจนเว็บไซต์ข้อมูลภาพยนตร์ของโลกอย่าง
Box Office Mojo ในปี 2008
ในทำนองเดียวกัน Amazon ยังได้เสริมความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมหนังสือ โดยเริ่มจากการเข้าซื้อบริษัทต่างๆ เช่น
Audible ผู้ผลิตหนังสือเสียงที่มูลค่า 300 ล้านเหรียญในปี 2008 เว็บไซต์สำหรับผู้อ่านและหนังสือแนะนำ
Goodreads ในปี 2013 ผู้จัดพิมพ์หนังสือ
Avalon Books ในปี 2012 และ
AbeBooks ผู้ขายหนังสือมือสองในปี 2008
“Amazon มีวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ และให้ความสำคัญกับลูกค้า และแสวงหาการเติบโตในระยะยาว” โฆษกของ Amazon กล่าวในแถลงการณ์ทางอีเมลถึง
Forbes พร้อมระบุว่าการเข้าซื้อบริษัทได้มีส่วนช่วยให้
“บริษัทนั้นๆ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยความช่วยเหลือของ ทรัพยากรและเทคโนโลยีของ Amazon”
“เราดำเนินธุรกิจในหลากหลายประเภทตั้งแต่ค้าปลีกและความบันเทิง ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคและบริการเทคโนโลยี ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดอย่างเป็นธรรม” โฆษกกล่าว
ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติในการเข้าซื้อกิจการของ Amazon และ บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอื่นๆ
ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งกล่าวหาว่า บริษัทต่างๆ มีพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันโดยการเข้าซื้อคู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่า
“ในฐานะผู้เฝ้าประตูสู่เศรษฐกิจดิจิทัล แพลตฟอร์มเหล่านี้มีอำนาจในการเลือกผู้ชนะและผู้แพ้ ทำลายธุรกิจขนาดเล็ก และเพิ่มคุณค่าให้ตัวเองเพื่อเอาชนะคู่แข่ง” David Cicilline (DR.I. ) ประธานคณะอนุกรรมการต่อต้านการผูกขาดของสภา กล่าวในแถลงการณ์เปิดการไต่สวน Amazon, Apple, Facebook และ Google
“ความสามารถของพวกเขาในการกำหนดเงื่อนไขสนับสนุนภาคส่วนธุรกิจ และสร้างความเกรงกลัว สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจของรัฐบาลเอกชน” ซึ่งล่าสุด Amazon ก็ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาต่อต้านการผูกขาดและยืนยันว่าแข่งขันกับแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น eBay, Etsy, Walmart และ Target และร้านค้าปลีกทั่วโลก พร้อมระบุว่ายอดขายของแพลตฟอร์มมีมูลค่าน้อยกว่าร้อยกว่า 4 ของการค้าปลีกในสหรัฐฯ เสียอีก
อย่างไรก็ดี สำนักข่าว
The Journal รายงานว่า ข้อตกลงระหว่าง Amazon และ
MGM สามารถให้ข้อสรุปได้เร็วที่สุดในสัปดาห์นี้ แต่ในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ และ
"ไม่มีการรับประกันว่าจะบรรลุข้อตกลงในท้ายที่สุด"
แต่การเข้าซื้อสตูดิโอผู้ผลิตภาพยนตร์ที่มีอายุเก่าแก่เกือบ 100 ปีอย่าง MGM ในครั้งนี้จะนำมาซึ่งโอกาสในการเติบโตของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของ Amazon อย่างมาก ด้วยสิทธิ์เข้าถึงภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์อีกหลายพันรายการ รวมถึงแฟรนไชส์อย่าง James Bond, Rocky และ Creed ซึ่งจะช่วยให้ Amazon Prime สามารถแข่งขันกับธุรกิจสตรีมมิ่งอื่นๆ เช่น Netflix ได้ดียิ่งขึ้น
แปลและเรียบเรียงจากบทความ Amazon’s Biggest Acquisitions Have Allowed It To Become A Marketplace For Nearly Everything เผยแพร่บน Forbes.com
อ่านเพิ่มเติม:
10 บริษัทเทคโนโลยี จากการจัดอันดับ Global 2000 ประจำปี 2021