25 บริษัทจิ๋วแจ๋ว Best Small Companies ตอนที่ 5 - Forbes Thailand

25 บริษัทจิ๋วแจ๋ว Best Small Companies ตอนที่ 5

FORBES THAILAND / ADMIN
01 Jun 2016 | 11:39 AM
READ 1484

ทุกบริษัทที่เราเลือกเข้ามาอยู่ในทำเนียบ Best Small Companies ของเราต่างก็มีโอกาสที่จะขยายกิจการให้ใหญ่โตมหาศาลด้วยความรวดเร็ว ถึงแม้การเติบโตจะเป็นเรื่องดี แต่ผู้นำของกิจการเหล่านี้กลับเลือกที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นที่นอก เหนือจากขนาดและผลตอบแทนทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการทำให้ธุรกิจของพวกเขาอยู่ในระดับดีเยี่ยม การมีบรรยากาศการทำงานที่ดี การพัฒนาบริการที่เยี่ยมยอดให้กับผู้บริโภค การตอบแทนสังคม รวมทั้งการแสวงหาวิธีที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งความร่ำรวยที่เกิดขึ้นจากธุรกิจของพวกเขานั้น ถึงแม้จะมีมูลค่าสูงลิ่ว แต่ก็ถือเป็นเพียงผลพลอยได้จากความสำเร็จในด้านอื่นๆ ที่พวกเขาให้ความสำคัญมากกว่า

การเลือกบริษัทเข้ามาอยู่ในทำเนียบ เราใช้วิธีเดียวกับที่ใช้เมื่อสิบปีก่อนตอนที่คัดเลือกบริษัทเข้ามาใส่ใน หนังสือที่ชื่อว่า Small Giants นั่นคือบริษัทพวกนั้นจำต้อง:
  • ได้รับการยกย่องให้เป็นบริษัทที่มีความโดดเด่นโดยผู้เชี่ยวชาญในวงการ
  • เป็น บริษัทที่มีโอกาสเติบโตเร็วกว่าที่เป็นอยู่อย่างมาก แต่ผู้นำองค์กรเลือกให้น้ำหนักกับความเป็นเลิศของธุรกิจมากกว่าที่จะขยาย ขนาดของกิจการให้ใหญ่ยักษ์
  • ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นองค์กรที่ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชน
  • สามารถ รักษาความแข็งแกร่งของสถานะทางการเงินเอาไว้ได้อย่างน้อย 10 ปีติดต่อกัน ด้วยการมีโมเดลธุรกิจที่แข็งแรง มีงบดุลที่แข็งแกร่ง และอัตรากำไรที่ค่อนข้างนิ่ง
  • เป็นบริษัทนอกตลาดที่มีการถือครองหุ้นโดยผู้ถือหุ้นในวงจำกัด
  • เป็น บริษัทที่จัดอยู่ในระดับ human scale ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการยังมีโอกาสที่จะได้พบปะพูดคุยกับผู้ บริหารระดับสูงของบริษัท
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอีกหนึ่งประการที่ เรียกว่า “เสน่ห์” (mojo) ซึ่งในทางธุรกิจอาจจะพอเทียบได้กับคำว่าบารมี (charisma) นั่นคือถ้าผู้นำองค์กรคนไหนที่มีบารมีก็จะสามารถทำให้ลูกน้องรู้สึกอยากทำ ตามแนวทางของผู้นำคนนั้น เช่นเดียวกัน ถ้าหากบริษัทไหนมีเสน่ห์ ทุกคนก็อยากที่จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการขายของ ซื้อของ หรือทำงานให้กับบริษัทนั้น แต่เรื่องเสน่ห์นี้เป็นเรื่องที่พูดยาก เหมือนกับวลีเด็ดของ Potter Stewart ผู้พิพากษาของสหรัฐฯ ที่พูดถึงภาพอนาจารว่า มันเป็นสิ่งที่กำหนดนิยามยาก แต่เมื่อไหร่ที่คุณเห็นคุณก็จะรู้เอง Afterburner ที่ตั้ง: รัฐ Atlanta ผู้ก่อตั้ง และ CEO: Jim Murphy รายได้: 8.5 ล้านเหรียญ จำนวนพนักงาน: พนักงานประจำ 21 คน และพนักงานสัญญาจ้าง 50 คน ทุกอย่าง ที่ Afterburner สะท้อนภาพลักษณ์ของความเป็นทหาร ตั้งแต่การนำเสนอข้อมูลโดยพนักงานที่ใส่ชุดจัมพ์สูทแบบของทหาร ไปจนถึงชื่อเล่นที่พวกเขาใช้เรียกกัน อย่างเช่น Bandid, Gunner, Thor ซึ่งก็ทำให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าคนประเภทไหนที่บริษัทที่ปรึกษาแห่งนี้จะจ้างมาทำงานด้วย แรกสุดเลย หากเป็นตำแหน่งที่ต้องพบกับลูกค้า พนักงานที่บริษัทจะจ้างมาต้องเป็นอดีตทหารในกองทัพสหรัฐฯ เท่านั้น และต้องเป็นสมาชิกในหน่วยรบสำคัญๆ ด้วย อย่างเช่น หน่วยรบพิเศษของกองทัพบก หน่วย SEALs ของกองทัพเรือ และนักขับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศ ฯลฯ นอกจากนี้ถ้าไม่จบ MBA ก็ต้องเคยมีตำแหน่งงานสำคัญในโลกธุรกิจหลังออกจากราชการทหารแล้ว Jim Murphy ก่อตั้งกิจการ Afterburner ขึ้นมาเมื่อ 20 ปีก่อน เขาเป็นอดีตครูฝึกนักบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งเขาบอกว่าเขาสนใจแต่เฉพาะคนที่มี “สำนึกของนักรบ” เท่านั้น Afterburnerเชี่ยวชาญในด้านการสอนให้ลูกค้ากำหนดและดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยอาศัยการทำงานเป็นทีมในรูปแบบที่ได้แรงบันดาลใจมาจากวิธีการทำงานของทหาร ถึงแม้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของ Afterburner จะเป็นบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ แต่ตัวบริษัทเองกลับยังคงมีขนาดเล็ก โดย Murphy บอกว่าในขณะที่บริษัทที่ปรึกษาใหญ่ๆ มักจะส่งทีมที่ปรึกษาเป็นทีมใหญ่เข้าไปหาลูกค้า แต่เขาเลือกใช้กลยุทธ์ “ตัวแปรกำลังรบ หรือ force multiplier” ด้วยการใช้ทีมงานที่ปรึกษาแค่ 2-4 คนเท่านั้น ในอนาคตข้างหน้า Murphyอยากเห็น Afterburner เป็นบริษัทที่มีขนาด 50 ล้านเหรียญ แต่ปัจจุบันเขาขอเลือกที่จะคุมจำนวนพนักงานให้ต่ำไว้ก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของกลยุทธ์ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการรักษาวัฒนธรรมของบริษัทเอาไว้ เมื่อ Afterburner จะจ้างพนักงานสักคน ขั้นตอนแรกของกระบวนการสัมภาษณ์งานก็คือการพาผู้ถูกสัมภาษณ์ไปทานอาหารค่ำ ที่ร้านอาหารหรูๆ สักแห่ง แบบเดียวกับที่ CEO ของบริษัทลูกค้าจะนัดไปทาน โดยเริ่มแรกก็จะพาผู้ถูกสัมภาษณ์ไปดื่มที่บาร์ก่อนทานอาหารเย็นเพื่อแลก เปลี่ยนประสบการณ์ด้านการทหารกับผู้สัมภาษณ์ ในขั้นตอนนี้คนของ Afterburner ถูกจำกัดให้ดื่มได้แค่สองแก้วเท่านั้น แต่ผู้ถูกสัมภาษณ์จะดื่มมากน้อยเท่าไหร่ก็ได้ ในระหว่างการรับประทานอาหารเย็น ผู้สัมภาษณ์จะคอยสังเกตพฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ อย่างเช่นใช้ส้อมขนาดไหนกับอาหารประเภทไหน ซึ่ง Murphy บอกว่าเขาต้องการคนที่มีกิริยามารยาททางธุรกิจเหมาะสมที่จะนั่งคุยกับผู้ บริหารระดับสูงของลูกค้าได้ ถ้าผู้ถูกสัมภาษณ์ทำได้น่าพอใจในช่วงของ การทานอาหารค่ำ ก็จะต่อด้วยการสัมภาษณ์อีกรอบแล้วจึงจะถูกทดสอบให้ทำการพรีเซนท์งานสั้นๆ สองเรื่องแก่พนักงานของ Afterburner ซึ่งบางคนทำหน้าที่พรีเซนท์งานให้กับลูกค้าของบริษัทมากถึงปีละ 250 ครั้ง Murphy บอกว่าการพรีเซนท์เรื่องแรกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทหารเสมอ “อย่างเช่น ให้สอนนักบิน F-16 ให้เข้าใจว่าจะทิ้งระเบิดหนัก 2,000 ปอนด์ให้ตรงเป้าหมายได้อย่างไร” ส่วนเรื่องที่สอง ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ถูกสัมภาษณ์มีเวลาเตรียมตัว 20 นาที โดยการพรีเซนท์แต่ละเรื่องจะต้องใช้เวลา 3 นาทีพอดีไม่ขาดไม่เกิน และแม้บริษัทจะรับผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงานแล้ว หลังจากนั้นก็ยังมีระยะทดลองงานอีก 3 เดือน Gainesville Health & Fitness ที่ตั้ง: เมือง Gainesville รัฐ Florida ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO: Joe Cirulli รายได้: 16.5 ล้านเหรียญ จำนวนพนักงาน: 480 คน Joe Cirulli มีความเชื่อที่ว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะวัดความสำเร็จของธุรกิจฟิตเนสก็คือสุขภาพของคนในชุมชนที่ธุรกิจนั้นตั้งอยู่ ในช่วงต้นปี 2000 เขาและทีมผู้บริหารของบริษัทได้ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ Gainesvilleเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองที่ประชากรมีสุขภาพดีที่สุดในอเมริกา และพวกเขาก็พยายามกระตุ้นและสนับสนุนให้คนในชุมชนพยายามทำให้สำเร็จ จนปี 2003 Gainesville ก็ได้เป็นเมืองแรกและเมืองเดียวที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง Well City จาก Wellness Council of America ถ้าลองไปถามผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจฟิตเนสระดับโลกว่าฟิตเนสที่ไหนที่พวกเขาคิดว่าดีที่สุดในโลก เชื่อได้ว่าต้องมีชื่อของ Gainesville Health & Fitness ติดอันดับอยู่ด้วยแน่นอน ทุกวันนี้ Cirulli เดินทางไปทั่วโลกเพื่อบรรยายที่มาของความสำเร็จว่าทำอย่างไรฟิตเนสของเขาถึงสามารถรักษาอัตราการต่ออายุของสมาชิกได้มากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมถึง 30% รวมไปถึงวิธีที่เขาใช้ในการจ้างและฝึกพนักงาน ซึ่งทำให้ผลงานออกมาดีขนาดนี้ แม้ว่าจะไม่มีแหล่งเงินทุนสนับสนุน แต่เขาก็สามารถที่จะระดมทุนมาได้ 1,700 เหรียญเพื่อก่อตั้งฟิตเนสของเขาจนเป็นรูปเป็นร่างและเปิดให้บริการได้ในปี 1978 และตั้งแต่นั้นมา เขาก็ตั้งหน้าตั้งตาที่จะสร้าง ขยาย ปรับเปลี่ยน สร้างนวัตกรรม และเหนือสิ่งอื่นใดในทั้งหมดคือ เขาปรับปรุงบริษัทของเขาอยู่ตลอดเวลา เขามีโอกาสมากมายนับไม่ถ้วนที่จะขยายกิจการฟิตเนสออกไปนอกเมือง Gainesville แต่เขาก็ปฏิเสธโอกาสเหล่านั้นทั้งหมดอย่างไม่ใยดี ซึ่งเมื่อถามถึงเหตุผลเขาก็ตอบเพียงแค่ว่า “ก็ผมชอบ Gainesville นี่” Tasty Catering ที่ตั้ง: หมู่บ้าน Elk Grove Village รัฐ Illinois ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO: Tom Walter รายได้: 10 ล้านเหรียญ จำนวนพนักงาน: 90 คน เมื่อพนักงานคนหนึ่งของบริษัทสังเกตเห็นว่าราคาน้ำมันจะถูกที่สุดในวันอังคาร และแพงที่สุดในวันพฤหัสและวันศุกร์ Tasty Catering จึงได้ปรับรูปแบบการจัดซื้อน้ำมันเพื่อใช้กับยานพาหนะประเภทต่างๆ ที่บริษัทใช้ในการจัดส่งอาหาร ซึ่งทำให้บริษัทเริ่มที่จะประหยัดต้นทุนได้ถึงปีละ 35,000 เหรียญ การมองหาวิธีประหยัดทำนองนี้ทำให้อัตรากำไรของบริษัทสูงกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจประเภทนี้ถึงเกือบเท่าตัว การเปิดโอกาสให้พนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะคัดเลือกมาจากคนในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมก็มีส่วนทำให้บริษัทสามารถรักษาอัตราการเปลี่ยนงานของพนักงานให้อยู่ในระดับต่ำแต่ไม่ถึง 2% ในขณะที่อัตราการเปลี่ยนงานเฉลี่ยของธุรกิจนี้อยู่ที่ประมาณ 50% ในขณะเดียวกัน พนักงานของ Tasty ก็ได้เปิดกิจการร่วมทุนของตัวเอง 12 แห่งโดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากทางบริษัท ซึ่งมีทั้งกิจการเบเกอรี่ บริษัททำของขวัญ และ creative agency “ผมมีโอกาสได้นั่งชื่นชมความสำเร็จเหมือนกับพ่อที่ภูมิใจในตัวลูกๆ จากการได้เห็นบริษัทเหล่านี้ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพนักงานของเราดำเนินกิจการไปได้อย่างดี และสร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ” Tom Walter ซึ่งเป็น CEO ของ Tasty บอก Big Ass Fans ที่ตั้ง: มณฑล Lexington รัฐ Kentucky CEO และ ผู้ก่อตั้ง: Carey Smith รายได้: 202 ล้านเหรียญ จำนวนพนักงาน: 835 คน Carey Smith ก่อตั้งกิจการผลิตพัดลมอุตสาหกรรมแห่งนี้ขึ้นในปี 1999 ซึ่ง Big Ass Fans สามารถที่จะนำสินค้าระดับไฮเอนด์ของบริษัทเข้าวางขายในห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ได้ไม่ยาก แต่ Smith เลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้น และอาศัยทีมขายของทางบริษัทเป็นผู้แนะนำสินค้าให้กับลูกค้าเอง ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้ขยายกิจการจากภาคอุตสาหกรรมไปยังภาคการพาณิชย์ และตลาดที่พักอาศัย ด้วยการขายสินค้าที่ให้แสงสว่างและพัดลมสำหรับใช้ในบ้านที่มีขนาดเล็กลงแถมพ่วงด้วยเซ็นเซอร์แบบไฮเทคซึ่งมีสนนราคาแพงถึง 2,495 เหรียญสหรัฐฯ  ในปัจจุบัน ยอดขายผลิตภัณฑ์สำหรับที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 18% ของยอดขายของบริษัท และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์ของ Big Ass Fans สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในโรงงานและโกดังสินค้าของลูกค้าอย่างเช่น Target, Whole Foods, Boeing, Coke และ Amazon “ของเกือบทุกอย่างที่คุณสัมผัสตลอดหนึ่งวันในชีวิตของคุณ ถ้าไม่ผลิตก็ต้องบรรจุจากที่ไหนสักแห่งที่อยู่ใต้พัดลมของเรา” Smith บอก 25 บริษัทจิ๋วแจ๋ว Best Small Companies ตอนที่ 1 25 บริษัทจิ๋วแจ๋ว Best Small Companies ตอนที่ 2 25 บริษัทจิ๋วแจ๋ว Best Small Companies ตอนที่ 3 25 บริษัทจิ๋วแจ๋ว Best Small Companies ตอนที่ 4
คลิ๊กอ่าน "25 บริษัทจิ๋วแจ๋ว Best Small Companies" ฉบับเต็มได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ APRIL 2016 รูปแบบ E-Magaizne