ผู้อุปถัมภ์งานศิลป์ในยุคดิจิทัล - Forbes Thailand

ผู้อุปถัมภ์งานศิลป์ในยุคดิจิทัล

FORBES THAILAND / ADMIN
25 Jun 2018 | 12:18 PM
READ 10344

ขณะนี้เป็นเวลา 22.00 น. ของวันอาทิตย์ในเดือนพฤศจิกายน ที่สนามบิน Burbank ในรัฐ California แต่ Jack Conte ชายผู้มักยิ้มกว้าง ไว้หนวดเครา และเป็นหนึ่งในศิลปินคู่ซึ่งสมาชิกในวงเป็นสามีภรรยากันอย่าง Pomplamoose กำลังนั่งพิงพนักเก้าอี้ดึงฮู้ดจากเสื้อมาคลุมศีรษะ และพยายามหลับสักงีบ

Jack Conte วัย 33 ปีใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ใน Los Angeles ร่วมแสดงกับ Scary Pockets ซึ่งเป็นวงดนตรีของเพื่อน และตอนนี้ก็ได้เวลาเดินทางกลับ San Francisco เพื่อไปรับผิดชอบงานอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีความแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงนั่นก็คือการดูแลเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น Patreon สำหรับมือถือในตอนกลางวัน ผู้ใช้บริการ Patreon จะจ่ายค่าสมาชิกเป็นรายเดือนเพื่อสนับสนุนศิลปินคนโปรด ไม่ว่าจะเป็นจิตรกร ผู้เผยแพร่รายการเสียง (podcasters) นักร้อง นักเต้น นักเขียน นักออกแบบเกม และช่างภาพ ในฐานะการเป็นซีอีโอและผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีพนักงาน 100 คน (มีมูลค่าในเดือนกันยายนอยู่ที่ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยประมาณ) เขาต้องไม่ต้องทิ้งความหลงใหลในเสียงดนตรีซึ่งเป็นตัวนำเขาไปสู่การเริ่มต้น Patreon ในช่วงแรกไปอย่างสิ้นเชิง Conte เริ่มต้นจากความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า Patreon จะสามารถช่วยผู้สร้างสรรค์งานศิลปะที่ดำรงชีพจากค่าตอบแทนที่ได้รับจากโฆษณาบนออนไลน์ บริษัท Patreon สร้างขึ้นจากการตอบรับตามสัญชาตญาณว่าบรรดาแฟนคลับของศิลปินต่างก็เต็มใจ หรือยิ่งไปกว่านั้นกระหายที่จะจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนสำหรับเนื้อหาที่สามารถเข้าถึงได้ฟรี ตราบใดที่เงินจำนวนนั้นสามารถช่วยสนับสนุนศิลปินคนโปรดได้ ประกอบกับการชำระค่าสมาชิกดังกล่าวสามารถทำได้อย่างง่ายดาย มีเหตุผลที่จะเชื่อว่า Conte นั้นคิดถูก ผู้ใช้งาน Patreon กว่า 1 ล้านคนได้ร่วมกันมอบเช็คค่าตอบแทนรายเดือนเป็นตัวเงินที่ทราบล่วงหน้าให้กับศิลปินราว 50,000 คน Danny Rimer หุ้นส่วนของ Index Ventures ซึ่งเป็นผู้ร่วมลงทุนใน Patreon และกรรมการบริษัทกล่าว “นี่เป็นเหตุผลเดียวกับการที่บรรดาบริษัทซอฟต์แวร์เปลี่ยนจากใบอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์มาเป็นการสมัครสมาชิก ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทมีรายได้ที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ และสามารถให้บริการที่ดีขึ้นกับลูกค้าได้” นับตั้งแต่ที่ Conte เริ่มต้นธุรกิจ Patreon เมื่อ 4 ปีที่แล้วร่วมกับเพื่อนร่วมห้องพักจาก Stanford University อย่าง Sam Yam วัย 33 ปีซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ของบริษัท Patreon ได้ให้ผลตอบแทนมากกว่า 250 ล้านเหรียญกับศิลปินของตน หรือมากถึง 150 ล้านเหรียญ ภายในปี 2017 เพียงปีเดียว การเติบโตของ Patreon เกิดจากระบบการวางเงินมัดจำธรรมดาๆ และการต่อสายตรงระหว่างศิลปินกับบรรดาแฟนคลับหรือ “ผู้อุปถัมภ์” ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมอย่างเช่น การตอบคำถามแบบสดๆ หรือการแชตโต้ตอบกับศิลปินแบบเป็นส่วนตัว รวมถึงคลิปเบื้องหลังแบบหลุดๆ ซึ่งมากกว่าที่ศิลปินจะแชร์บน Instagram หรือ Facebook ของตนเอง การเป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้งนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหาย พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ Conte ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนธรรมชาติของมนุษย์เพื่อทำให้ Patreon ประสบความสำเร็จ เขาเพียงแค่อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนระหว่างศิลปินกับบรรดาแฟนคลับเท่านั้นเอง ถึงแม้ว่า Patreon จะไม่ใช่ผู้เล่นเพียงคนเดียวในธุรกิจนี้ (Kickstarter ก่อตั้งธุรกิจคู่แข่งของ Patreon อย่าง Drip ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน) แต่ Patreon ก็เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุด และมีธุรกิจที่เติบโตมากกว่าที่เคยเป็นมาจำนวนของผู้อุปถัมภ์และศิลปิน รวมถึงตัวเงินจากค่าสมาชิกทั้งหมดก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกปี ปัจจุบัน Patreon ใช้เงินบางส่วนที่ได้จากการระดมทุนกว่า 100 ล้านเหรียญจากบรรดานักลงทุนซึ่งรวมถึง Thrive Capital ของ Joshua Kushner และ Freestyle Capital เพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกในกลุ่มอีกเท่าตัวในปีหน้าด้วยการใช้มาตรการบางอย่าง ศิลปินสามารถเข้าร่วมกับ Patreon ได้โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่ต้องให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่นำผลงานของตนไปเผยแพร่ที่อื่น Patreon จะให้คำแนะนำกับศิลปินถึงวิธีการใช้งานเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังจะให้รายการเครื่องมือหลังบ้านที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น เครื่องมือวิเคราะห์และการจัดการอีเมล เพื่อช่วยศิลปินในการจัดแคมเปญโดยใช้รูปแบบเดียวกับสถานีวิทยุ NPR ปัจจุบัน Patreon ออกแบบมาสำหรับผู้สร้างสรรค์งานศิลปะซึ่งมีผู้ติดตามผลงานอยู่จำนวนหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นศิลปินชื่อดัง ในอนาคต Conte หวังจะช่วยสร้างรายได้ให้กับศิลปินที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่านี้ และพิสูจน์ได้ว่าเทคโนโลยีนั้นสามารถช่วยกู้คืนความมั่นคงทางการเงินให้กับศิลปินผู้สร้างงานศิลปะซึ่งอินเทอร์เน็ตได้บ่อนทำลายลงไปอย่างมหาศาลได้ชุมชนเพื่อศิลปินของ Patreon อาจจะสร้างผลตอบแทนได้อย่างงดงามสำหรับศิลปินบางคน แต่ทั้งนี้ก็มาพร้อมกับหลุมพราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่โมเดลของธุรกิจดิจิทัลเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ
คลิกอ่านฉบับเต็มของ "ผู้อุปถัมภ์งานศิลป์ในยุคดิจิทัล" ได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ พฤษภาคม 2561 ในรูปแบบ e-Magazine