จีนตอบโต้สหรัฐฯ กรณีขึ้นบัญชีดำบริษัทจีนกว่า 100 แห่ง - Forbes Thailand

จีนตอบโต้สหรัฐฯ กรณีขึ้นบัญชีดำบริษัทจีนกว่า 100 แห่ง

FORBES THAILAND / ADMIN
24 Dec 2020 | 06:30 PM
READ 2063

ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงอยู่ในภาวะตึงเครียดนับตั้งแต่ทั้งสองประเทศได้เริ่มทำสงครามการค้าในปี 2018 ก่อนที่สถานการณ์จะทวีความตึงเครียดมากขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ  

จีนตอบโต้สหรัฐฯ เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมา Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ลงนามในคำสั่งห้ามบริษัทของสหรัฐฯ ทำธุรกิจและส่งออกสินค้าประเภทเทคโนโลยีให้กับบริษัทสัญชาติจีน ที่มีความสัมพันธ์กับกองทัพปลดปล่อยประชาชนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน  โดยในวันที่ 22 พฤศจิกายน ฝ่ายบริหารประธานาธิบดีได้ประกาศร่างรายชื่อบริษัทสัญชาติจีน 89 แห่ง ที่ห้ามบริษัทสหรัฐฯ ทำการค้าด้วย ซึ่งส่วนมากเป็นบริษัทในอุตสาหกรรมการบินและบริษัทอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับกองทัพ กระทรวงพาณิชย์ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการยกระดับการเป็นพันธมิตรกับบริษัทสหรัฐฯ และบริษัททั่วโลกในการต่อสู้กับความพยายามของจีน ที่ต้องการจะถ่ายทอดเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ไปยังโครงการด้านการทหารของพวกเขา” Wilbur Ross รัฐมนตรีพาณิช์ของสหรัฐฯ กล่าว ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์จีนออกแถลงการณ์ว่า รัฐบาลจีนจะดำเนินมาตรการตอบโต้การกระทำของสหรัฐฯ อย่างเต็มที่ พร้อมเตือนให้สหรัฐฯ หยุดแทรกแซงกิจการภายในของจีน หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ออกมาประกาศขึ้นบัญชีดำบริษัทจีนเพิ่มอีก 59 แห่ง เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2020 รวมเป็น 147 แห่ง “เราขอเรียกร้องให้สหรัฐฯ หยุดการกระทำต่อต้านระบบการคบหาแบบพหุภาคี (multilateralism) และปฏิบัติต่อรัฐต่างๆ อย่างเท่าเทียม” โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีนกล่าว ในที่นี้ หนึ่งในบริษัทที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีดำ คือ Commercial Aircraft Corp of China Ltd. (COMAC) ผู้ผลิตอากาศยานพาณิชย์ของจีน ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดจนกลายเป็นคู่แข่งและภัยคุกคามของบริษัทเครื่องบินอย่าง Boeing และ Airbus  ขณะที่บริษัทอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศจีน (Aviation Corp of China หรือ AVIC) ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน และอีก 10 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้รับผลกระทบจากกฎหมายข้อบังคับในครั้งนี้เช่นกัน อย่างไรก็ดี การขึ้นบัญชีดำของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของสหรัฐฯ อย่างแน่นอน เพราะขณะนี้ Boeing กำลังอยู่ในระหว่างการขออนุมัติจากสำนักงานบริหารการบินของจีน (CAAC) ให้สามารถนำเครื่องบิน Boeing 737 Max กลับมาทำหารบินได้อีกครั้ง หลังเครื่องบินรุ่นดังกล่าวประสบเหตุเครื่องบินตก 2 ครั้งภายใน 5 เดือน และถูกคำสั่งห้ามทำการบินตั้งแต่เดือนมีนาคม 2019  นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า MSCI บริษัทผู้จัดทำดัชนีในการลงทุนหุ้น ที่มีดัชนีที่กองทันทั่วโลกใช้เพื่อเป็นดัชนีอ้างอิง ประกาศถอนหุ้น 7 บริษัทรายใหญ่สัญชาติจีนออกจากดัชนี โดยอ้างว่าบริษัทดังกล่าวสนับสนุนกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน รวมไปถึงสนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 5 มกราคม 2020  สำหรับรายชชื่อบริษัทจีนที่โดนถอดถอนออก ได้แก่
  1. SMIC ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของจีน
  2. Hikvision บริษัทผลิตกล้อง CCTV รายใหญ่
  3. China Communications Construction รัฐวิสาหกิจรับเหมาก่อสร้าง
  4. China Spacesat บริษัทผลิตและพัฒนาดาวเทียม และอุปกรณ์ที่เกียวข้อง
  5. China Railway Construction Corporation รัฐวิสาหกิจรับเหมาก่อสร้างด้านรถไฟ
  6. CRRC รัฐวิสาหกิจจีนผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่
  7. Dawning Information Industry ผู้ผลิต Super Computer รายใหญ่ของจีน
ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่ MSCI จะถอดบริษัทจีนออกจากดัชนีนั้น บริษัทจัดทำดัชนี เช่น S&P Global และ FTSE Russell ก็ได้ถอดบริษัทจีนเหล่านี้ออกจากดัชนีอ้างอิงด้วย ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะทำให้กองทุนหรือสถาบันการเงินที่อ้างอิงทั้ง 3 ดัชนี จะต้องขายหุ้นบริษัทจีนเหล่านี้ออกมา ในขณะเดียวกัน MSCI ก็ได้เตรียมที่จะทำดัชนีใหม่ที่มีรายชื่อบริษัทจีนเหล่านี้ด้วย ถ้าหากสถาบันการเงินยังต้องการลงทุนในบริษัทจีนเหล่านี้อยู่  จีนตอบโต้สหรัฐฯ สำหรับในประเด็นนี้ SMIC ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของจีน ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว พร้อมระบุว่าการโดนแบนจากสหรัฐฯ ในครั้งนี้ไม่มีผลต่อแผนการปฏิบัติงานในระยะสั้น แต่ “จะส่งผลกระทบต่อการวิจัยและการพัฒนาชิป 10 นาโนเมตรและผลิตภัณฑ์อื่นๆ” แปลและเรียบเรียงโดย ชญาน์นัทช์ ธนินท์พงศ์ภัค จากบทความ China Urges U.S. To Stop Bullying With Blacklist, Vows To Take Action เผยแพร่บน Forbes.com อ่านเพิ่มเติม: ทำไม “จีน” จึงเลือกลงทุนใน “แอฟริกา”