‘การแข่งทางอวกาศ’ ควรค่าแก่การลงแข่ง หรือนักลงทุนทั้งหลายแค่เฟ้อฝันกันไปเอง แม้ว่าความเชื่อเรื่อง UFOs หรือสิ่งมีชีวิตนอกโลกนี้หรือไม่ แต่ NASA (ตอนนี้รวมถึงบุคคลธรรมดาๆ ด้วย) สำรวจจักรวาลนี้ หุ้นต่างๆ ที่เกี่ยวกับเหล่าดวงดาวก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่คุณควรมองดู
เหมือนกับนักธุรกิจทั้งหลายจะหันไปให้ความสนใจกับ ‘การแข่งทางอวกาศ’ มากขึ้น และเมื่อเดือนมิถุนายน ทาง The Pentagon ได้มอบหมายให้หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจของภาครัฐสืบสวน ‘ปรากฏการณ์บนฝากฟ้าที่ไม่สามารถระบุได้’ หรือ UAPs ที่ได้มีการรายงานถึง UFO หลายครั้ง แม้ว่าหน่วยปฏิบัตินี้จะไม่สามารถแสดงหลักฐานที่ทำให้เห็นชัดว่าสิ่งเหล่านี้มันมาจากนอกโลก แต่ทางเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่าทุกๆ เหตุการณ์ที่พบนั้นยังคงอธิบายไม่ได้ “ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นจากการต่อต้านต่างชาติหรือเป็นอะไรที่มาจากนอกโลกก็ตาม UAPs มีศักยภาพที่จะมีนัยยะกว้างขวางซึ่งเราต้องจริงจังกับมันมากขึ้น” Andrew Chanin ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO แห่ง Procure Funds บริษัทเบื้องหลังกองทุนรวม ETF UFO กล่าวกับ CBS “เราสำรวจไปแค่พื้นผิวของสิ่งที่เรารู้อยู่ตอนนี้จริงๆ” และเขาก็พูดถูก เรารู้น้อยมาก และยังมีอะไรอีกเยอะที่เราต้องเรียนรู้ ดังนั้น จึงทำให้เกิดโอกาสมากมาย นอกจากจะมีหน้าที่เฟ้นหาความจริงของการพบ UAP แล้ว อุตสาหกรรมอวกาศก็ได้พุ่งสู่ดวงจันทร์จริงๆ เมื่อได้มีการปล่อยจรวดเอกชน Inspiration4 ครั้งแรก โดยใน ‘การแข่งทางอวกาศ’ ของเหล่าเศรษฐีพันล้านนี้ ทาง Jeff Bezos เองก็ได้ออกไปท่องอวกาศโดยโดยสารจรวด New Shepard ของ Blue Origin ไป ท่ามกลางนวัตกรรมและการสำรวจที่เพิ่มขึ้น ในปี 2020 ทาง Space Foundation กลุ่มสนับสนุนไม่แสวงกำไรได้รายงานว่าอุตสาหกรรมอวกาศของโลกนี้มีมูลค่าราว 4.23 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากรายได้เชิงพาณิชย์ อีกทั้ง ทาง Bank of America ก็ได้คาดการณ์ว่ารายได้ของอุตสาหกรรมนี้จะเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 230 และแตะ 1.4 ล้านล้านเหรียญฯ ในปี 2030 เลยทีเดียว ทั้งนี้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้ก็โตถึงร้อยละ 10.6 ต่อปีเลยทีเดียว แม้ว่าจะมีบริษัทอย่าง SpaceX, Virgin Galactic และ Blue Origin อยู่ แต่ส่วนใหญ่บริษัทเหล่านี้ก็เข้าถึงไม่ได้ หรือไม่ก็แพงเกินไปสำหรับนักลงทุนรายย่อยทั่วไป ต่อมาในปี 2019 ทาง Procure Space ETF ได้เปิดโอกาสให้หล่านักลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างง่ายๆ และลงทุนในอุตสาหกรรมอวกาศนี้ได้หลากหลายมากขึ้นอีกด้วย โดยกองทุนรวมดัชนีนี้ประกอบไปด้วยบริษัทในอุตหาสกรรมอวกาศกว่า 30 แห่งเลยทีเดียว บริษัทโฮลดิ้งอื่นๆ ที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอวกาศที่อยู่ใน ETF ได้แก่ Garmin บริษัทชั้นนำด้านเนวิเกเตอร์ บริษัทด้านเทคโนโลยีการวางตำแหน่งอย่าง Trimble และผู้จัดจำหน่ายดาวเทียมอย่าง Maxar นอกจากนั้น DISH และ Sirius XM สองบริษัทด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมยังอยู่ในกองทุนรวมนี้ด้วย ทั้งนี้ก็เนื่องจากรายได้ที่คาดว่าจะได้ส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะมาจากบริษัทสื่อสารบรอดแบนด์เหล่านี้สูงเลยทีเดียว “อวกาศเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้ผมตื่นตาตื่นใจมานานแล้ว แต่ก็แค่ตอนนี้เท่านั้นแหละที่เราเริ่มมีหุ้นในดัชนีที่หลากหลาย” Chanin กล่าวกับ CNN นอกจากนั้นทางกองทุนรวม ETF ของ SPDR S&P Kensho Final Frontiers ยังได้รวมบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมอวกาศและบริษัทคู่สัญญาด้านการป้องกันประเทศไว้มากมาย โดยหนึ่งในนั้นก็คือ Virgin Galactic ในขณะเดียวกันกองทุนรวม ETF ของ Ark Space Exploration and Innovation ก็มีการป้องกันที่คล้ายกัน อีกทั้งยังมีหุ้นของ Amazon และ Google ซึ่งทั้งสองก็ถือหุ้นของ SpaceX ไว้อีกด้วย นักลงทุนที่กำลังมองหาช่องทางในการเข้าสู่วงการอวกาศ อาจจะกังวลกับการซื้อหุ้นในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่การลงทุนในกองทุนรวม ETFs นั้นเป็นเส้นทางที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ได้โดยปราศจากนำความสำเร็จของบริษัทไปเสี่ยงอยู่กับสิ่งที่เรายังไม่รู้จักดีพอ นั่นเพราะว่า ETFs เหล่านี้ยังมีหุ้นจากหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้อย่างน้อยๆ ก็มีผลประโยชน์ที่หลากหลายนั่นเอง อีกอย่าง การที่หุ้นด้านอวกาศเยอะขึ้นแบบนี้ มีสาเหตุมาจาก SPACs หรือ Special Purpose Acquisition Companies หรือที่บางครั้งเรียกกันว่า ‘บริษัทเช็คเปล่านั่นเอง’ โดย SPACs เปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนในจักรวาลนี้สามารถผันตัวเป็นมหาชนได้ แม้จะไม่ได้มี IPO เยอะแยะ วิธีการก็คือไปรวมตัวกับบริษัท ‘เปลือก’ ที่เป็นมหาชนอยู่แล้วนั่นเอง ตัวอย่างเช่น Astra Space ที่ผันตัวเป็นมหาชนผ่านการจับมือกับ Holicity, Momentus ที่ไปจับมือกับ Stable Road Capital, Rocket Lab กับ Vector Acquisition และอีกมากมาย ดังนั้น แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าเอเลี่ยนมีจริงหรือไม่ แต่โอกาสเหล่านี้นั่นมีจริงแน่ๆ แปลและเรียบเรียงโดย ทัตชญา บุษยากิตติกร จากบทความ Should You Invest In The Space Race—And How? เผยแพร่บน Forbes.com อ่านเพิ่มเติม: คอมมิวนิตี้สร้างจาก ‘การพิมพ์ 3 มิติ’ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine