บี.กริม เดินหน้าสนับสนุนการรณรงค์หยุดนำสัตว์ป่าออกจากถิ่นอาศัย ชี้เหตุต้นตอไวรัสโควิด-19 - Forbes Thailand

บี.กริม เดินหน้าสนับสนุนการรณรงค์หยุดนำสัตว์ป่าออกจากถิ่นอาศัย ชี้เหตุต้นตอไวรัสโควิด-19

FORBES THAILAND / ADMIN
25 Dec 2020 | 10:57 AM
READ 1601

ไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกจนมีผู้ติดเชื้อไปแล้วกว่า 63 ล้านราย ซึ่งเท่ากับจำนวนประชากรของไทยทั้งประเทศ แม้จะมีอัตราการเสียชีวิตต่ำไม่ถึง 3% ของจำนวนผู้ติดเชื้อ แต่การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นวงกว้าง หลายกิจกรรมต้องหยุดชะงัก ผู้คนไม่สามารถเดินทางข้ามประเทศได้อย่างสะดวก แหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่เคยคราคร่ำไปด้วยนักเดินทางจากทั่วทุก  มุมโลก มีสภาพไม่ต่างกับเมืองร้าง สายการบินหลายแห่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ธุรกิจ    ท่องเที่ยวทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นโรงแรมและร้านอาหาร ที่ต้องพึ่งพิงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลักแทบจะปิดกิจการต้นตอหลักของไวรัสโควิด-19 ซึ่งถือเป็นโรคอุบัติใหม่ เกิดจากการนำสัตว์ป่าออกจากถิ่นอาศัยเพียงเพื่อ  ตอบสนองความต้องการของคนบางกลุ่มที่มีค่านิยมผิดๆ เกี่ยวกับการบริโภคสัตว์ป่า สัตว์แปลก สัตว์หายากหรือสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ผ่านเมนูเปิบพิสดารต่างๆ เพื่อหวังใช้เป็นยารักษาโรค หรือเพื่อความบันเทิง ตลอดจนพฤติกรรมการสะสมซากสัตว์ หรือนำมาประดับตกแต่ง และแฟชั่นการเลี้ยงสัตว์ป่า สัตว์แปลก และสัตว์  หายาก เหล่านี้ คือต้นตอที่ทำให้โลกต้องเผชิญกับโรคระบาดแปลกใหม่ตลอดเวลาที่ผ่านมาทุกคนตระหนักดีว่า หากไม่ยับยั้งการนำสัตว์ป่าออกจากถิ่นอาศัย วันที่โลกจะต้องเผชิญกับโรคระบาดใหม่ๆ จะยังคงวนเวียนไปไม่รู้จบ ปัญหาเหล่านี้จะวนกลับมาอีกผ่านปรากฎการณ์ต่างๆ ที่โลกคอยส่งสัญญาณเตือน และถือเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นให้ได้ข้อมูลจากงานวิจัยเรื่อง “สถานการณ์สัตว์ป่าไทย : การค้าขายสัตว์ป่า สวนสัตว์ และเขตอนุรักษ์ : ปัญหา ทางออก และโจทย์วิจัย” เมื่อปี 2550-2551 โดยคณะนักวิจัยจากมูลนิธิเพื่อการศึกษาคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืช ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม พบว่า สัตว์ป่าในประเทศไทยยังคงถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าลดลงจากโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจต่างๆ และการขยายตัวของเมือง ส่งผลให้สัตว์ป่ายังคงถูกล่าในถิ่นกําเนิด แม้เป็นเขตอนุรักษ์และสัตว์ป่าหลายชนิดถูกจัดให้เข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์มากขึ้นผลการศึกษาระบุว่า ประเทศไทยยังคงถูกนานาประเทศมองว่า เป็นศูนย์กลางการนําสัตว์ป่าทั้งจากป่าภายในประเทศและประเทศใกล้เคียง ไปสู่ผู้ซื้อภายในและต่างประเทศ โดยมีการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่ามากขึ้นทั้งในรูปแบบของสวนสัตว์ และการครอบครองของรายย่อย

บี.กริม บริษัทไทยสัญชาติเยอรมัน องค์กรชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจในไทยมากว่า 142 ปี ในฐานะผู้สนับสนุนองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF ประเทศไทย) เพื่อการอนุรักษ์ประชากร  เสือโคร่งในประเทศไทย ได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในโครงการฟื้นฟูประชากร  เสือโคร่ง ประจำอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 7 ปี โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์ประชากรเสือโคร่งในไทย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังคงมีประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติมากเพียงพอต่อการฟื้นฟูจำนวนเสือโคร่งเนื่องจากเสือโคร่งเป็นนักล่าที่อยู่ตำแหน่งบนสุดของห่วงโซ่อาหาร จำนวนเสือโคร่งจึงเป็นดัชนีชี้วัดความ    อุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในผืนป่าได้ดี และการเพิ่มจำนวนเสือโคร่งจึงเป็นดัชนีชี้วัดจำนวนเหยื่อที่  หลากหลาย และความอุดมสมบูรณ์ในป่าแห่งนั้นเช่นกัน บี.กริม จึงมุ่งสนับสนุนการยับยั้งนำสัตว์ป่าออกจากถิ่นอาศัย และการทำลายป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง โดยมีเป้าหมายเพิ่มประชากรเสือโคร่งในไทยให้ได้ถึง 300 ตัวจากปัจจุบันอยู่ที่ 200 ตัวสิ่งสำคัญ คือ การปล่อยให้สัตว์ป่าอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมตามธรรมชาติ และการป้องกันไม่ให้ธรรมชาติ  ถูกทำลาย ซึ่งเป็นการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมธรรมชาติ รวมถึงสุขภาพของประชากรทั่วโลก โดย บี.กริม ยังได้สนับสนุนแคมเปญ “EndPandemics” ที่มุ่งไปที่ต้นตอของปัญหาโรคระบาดที่เกิดจากการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน ไม่ว่าจะเป็นการนำสัตว์ป่าออกจากถิ่นอาศัยที่ทำให้สัตว์ป่าเข้ามาใกล้กับคนมากขึ้น รวมถึงการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่ทำให้สัตว์ป่าต้องบุกรุกเข้ามาในชุมชน ซึ่งทำให้เชื้อไวรัสสามารถแพร่จากสัตว์ป่าสู่คนได้ไวรัสโควิด-19 ไม่ใช่โรคระบาดตัวแรกของโลก และเชื่อว่าจะไม่ใช่ตัวสุดท้าย เป็นเสมือนการส่งสัญญาณเตือนให้โลกตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงการขาดสมดุลของระบบนิเวศ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่า 70-75% ของโรคติดต่อใหม่ที่เกิดขึ้นสามารถส่งต่อจากสัตว์ถึงคนได้ ดังนั้นการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง นอกจากจะสามารถปกป้องและพิทักษ์รักษาสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคระบาดใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เฉกเช่นผลกระทบที่ทั่วโลก  ได้รับจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในทุกวันนี้