ทุกยามเย็นบทเพลงไทยดั่งเดิมที่เปิดผ่านเสียงตามสายจากหอกระจายข่าวท่ามกลางบรรยากาศโบราณสถาน โบราณวัตถุของเมืองสุโขทัย ได้ซึมซับลงในจิตใจของ มหาคุณ เทพสุทิน เด็กชายวัยเพียงสิบกว่าขวบที่เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทยที่สั่งสม โดยเฉพาะสมุนไพรที่นับมาปรุงเป็นตำรับยาพื้นบ้าน และจากการทำงานพาร์ทไทม์ในช่วงปิดภาคเรียนได้จุดชนวนฝัน โอกาสทางธุรกิจ จนเป็นที่มาในการก่อตั้ง บริษัท ตำรับไทย สมุนไพร จำกัด โดยมีเป้าหมายสร้างร้านจำหน่ายยาแผนโบราณที่เชื่อถือได้ทั่วดินแดนไทย
ย้อนกลับในวัยเด็ก มหาคุณ เทพสุทิน ผู้ก่อตั้งและกรรมผู้จัดการ บริษัท ตำรับไทย สมุนไพร จำกัด ได้พาตัวเองเข้าไปหาโอกาสทางธุรกิจสมุนไพรจากการรับจ้างเป็นพนักงานชั่วคราวระหว่างปิดภาคเรียนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับยาแผนโบราณจากสมุนไพรไทยทำให้ได้ค้นพบว่าความนิยมของสมุนไพรไทยเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก จากความขยันหมั่นเพียรและช่างสังเกตทำให้เขามองเห็นจุดบกพร่องที่หาสามารถแก้ไขได้จะเป็นโอกาสทางธุรกิจสำคัญ พร้อมๆ ไปกับการเรียนรู้ประสบการณ์ของร้านสมุนไพรในยุคนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการสั่งซื้อ ความหลากหลายของสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภค จากความมุ่งมั่นและไม่ลังเล 1 มีนาคม 2544 เขานำทุนส่วนตัวเปิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสาขาแรกที่ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ค สาขารังสิต พื้นที่เพียง 25 ตารางเมตร และเมื่อจบเดือนแรกร้านค้าของเขาสามารถทำกำไรและไม่ผิดจากที่คาดไว้ซึ่งเกิดจากการเตรียมตัวมาอย่างดีในการคัดเลือกสินค้าเข้ามาที่ร้านให้เหมาะกับพฤติกรรมและความต้องการ ซึ่งในช่วงปีแรกเขาลุยเดียวเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและพนักงานขาย รวมถึงออกไปคัดเลือกสินค้าที่ดียังสถานที่ต่างๆ เข้ามาจำหน่าย โดยมีมรรดาเข้ามาเฝ้าร้านแทน เมื่อต้องออกไปคัดเลือกสินค้าและ โดยมีกวาวเครือขาว กวาวเครือแดง กระช่ายดำเป็นสินค้าขายดี-ปรุงธุรกิจด้วยศาสตร์ผสมผสาน-
ขวบปีแรกของธุรกิจที่ไปด้วยดีท่ามกลางยอดขายที่เติบโต แต่กลับมีโจทย์ข้อใหม่ที่ผุดขึ้นมาท้าทายความคิดในฐานะเจ้าของกิจการคือจะทำธุรกิจอย่างไรโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาที่ร้านในทุกๆ วัน ในขณะนั้น ห้างหลักสี่พลาซ่าได้ทำการรีโนเวทธุรกิจใหม่พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ไอทีสแควร์ และประกาศให้เช่าพื้นที่ เขาจึงตัดสินใจเปิดสาขาที่ 2 ด้วยขนาดพื้นที่ 114 ตารางเมตร หลังจากเปิดสาขาแรกมาแล้ว 2 ปี ซึ่งในสาขาที่ 2 นี้เขาต้องการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้บริหารร้านค้าแต่กลับไม่ตรงกับความต้องการเนื่องจากซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในสมัยนั้นไม่สามารถเชื่อมต่อการบริหารงานระหว่างสาขาตามที่เขาต้องการ มีแต่ธนาคารหรือบริษัทใหญ่ที่สามารถใช้ระบบดังกล่าวได้ในยุคที่ ADSL คือความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงสุด จากจุดดังกล่าวเป็นที่มาและจุดเปลี่ยนทางธุรกิจ เมื่อเขาตัดสินใจทุ่มกำไรที่สะสมมาควานหาบริษัทเพื่อเขียนซอฟต์แวร์แบบใช้ในเว็บไซต์เพื่อบริหารและเชื่อมต่อการทำงานระหว่างสาขาเข้าไว้ด้วยกันและผนวกกับหลักการสร้างธุรกิจแบบ “Category Killer Store” ที่รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย "ผมมุ่งที่จะทำให้ธุรกิจจำหน่ายสมุนไพรไทยของผมเป็น Category Killer Store ณ ตอนนั้น ประกอบกับระบบที่สามารถปรับแต่งตามความต้องการ ซึ่งหลังจากบริษัทซอฟต์แวร์เขียนระบบเสร็จตามวัตถุประสงค์ ทำให้ธุรกิจของเรามีความยืดหยุ่นมากขึ้นในวันที่เปิดสองสาขาเริ่มเห็นความเป็นไปได้ทางธุรกิจมากขึ้นหลังกระบวนการจัดการหลังบ้านเรียบร้อย” สำหรับซอฟต์แวร์ที่ได้รับการปรับแต่งปัจจุบันยังคงใช้งานอยู่แต่เป็นเวอร์ชั่นที่พัฒนาไปมากซึ่งโดยหลักการ เขาได้ปรับแต่งเพื่อให้สามารถเกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องหลักเพื่อการทำงานกับ “ลูกค้า คู่ค้า ทีมงาน” ในส่วนของลูกค้านั้นร้านตำรับไทยฯ ถือเป็นเจ้าแรกๆ ที่แสดงราคาของสินค้าผ่าน “จอส่อง” ขนาดใหญ่สำหรับลูกค้าผู้ใหญ่ที่ต้องการเห็นส่วนลดและราคาขายที่ชัดเจน “ผมมีตั้งแต่ 17 ปีที่แล้ว เพราะว่าลูกค้าเราเป็นลูกค้าผู้ใหญ่ ดังนั้นส่วนลด ราคาขายเท่าไหร่ ต้องชัดเจน การขายกับผู้ใหญ่ในเจนฯ นั้นต้องตรงไปตรงมาทั้งราคาขายและส่วนลด 25 สตางค์ 50 สตางค์เป็นอะไรที่ลูกค้าใส่ใจมาก” ด้านการทำงานกับ คู่ค้า เนื่องจากระบบที่ On website เข้าถึงได้ในทุกทีที่มีอินเตอร์เน็ตทำให้คู่ค้าของเราสามารถดูใบสั่งซื้อ ใบรับสินค้า ทุกสิ่งทุกอย่างผ่านระบบได้ทันที และส่วนที่สามการทำงานกับทีมงาน พนักงานสามารถเข้าไปตรวจสอบการทำงาน ตารางการทำงาน สวัสดิการต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ได้ ทั้งยังมีโปรแกรมแชตระหว่างสาขา “ตอนนั้นเราทำก่อนที่จะมีไลน์เป็นเรื่องของเมื่อ 17 ปีที่แล้ว”-ยกระดับมาตรฐานไทยด้วยหลัก 20 ประการ-
การสร้าง Category Killer Store เพื่อให้ได้มาตรฐานในวงการสมุนไพรไทย อุปสรรคสำคัญที่สุดที่วงการแพทย์แผนโบราณคือเรื่องความปลอดภัย ร้านตำรับไทยฯ เป็นศูนย์รวมของสินค้าจากสมุนไพรพื้นบ้านไทยจากคู่ค้าทั่วประเทศและทำการกระจายไปยังทั่วประเทศเช่นกัน มหาคุณ จึงกำหนดหลักเกณฑ์ 20 ประการในคัดเลือกคู่ค้า ซึ่งมาตรฐาน 20 ประการนั้นมาจากการรวบรวมปัญหาที่สะท้อนจากลูกค้า และมาตรการด้านความปลอดภัยที่จำเป็น เพราะเป็นหัวใจหลักของการสร้างธุรกิจ อาทิ ใบอนุญาตการผลิตต่างๆ มาตรฐานโรงงานที่ได้มาตรฐาน อัตลักษณ์ความเป็นไทยที่สินค้าต้องมีภาษาไทยร้อยละ 60 ขึ้นไป "ผู้ประกอบการบางรายเอาสินค้ามาให้เราจำหน่ายแล้วบอกว่าเป็นของไทยแต่สินค้าเขาฉลากเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดเราขอไม่จำหน่าย เราอยากให้คนไทยบริโภค เราอยากสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย เราคงไม่อยากไปประเทศเกาหลี ไปเที่ยวเกาหลี แล้วเสร็จปุ๊บไปร้านช็อปเกาหลี แล้วเราไปหยิบสินค้าเกาหลีแต่กลับมีภาษาไทยเต็มไปหมด เขาคิดไม่ต่างเราเพราะไม่อย่างนั้นเนี่ยลูกค้าก็จะไม่ไว้วางใจเรา" สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้านั้น บริษัทตำรับไทยฯ ตั้งแผนกที่เรียกว่า “Product Marketing” ทำหน้าประสานงานกับกลุ่มคู่ค้าผลิตที่ส่วนมากเป็นธุรกิจในกลุ่ม SMEs ที่ปัจจุบันมีมากกว่า 500 รายที่ต้องเข้าร่วมกับบริษัท คู่ค้าบางรายมาพร้อมกระบวนการผลิตขั้นสูง บางรายเป็นกลุ่มขนาดเล็กที่มีสินค้าดี อยากผลิต แต่ไม่ผ่านมาตรฐาน 20 ข้อที่ทางบริษัทตำรับไทยฯ กำหนดไว้แผนก “Product Marketing” จึงกลายเป็นทั้งที่ปรึกษาและคู่ค้าไปในตัว เข้าไปช่วยเหลือและแนะนำในฝั่งคู่ค้าที่เป็นผู้ผลิตซึ่งถ้าเขาผ่านมาตรฐานของร้านตำรับไทยเชื่อได้ว่าสามารถไปจำหน่ายในทุกๆ ที่ได้ และสำหรับกลุ่มคู่ค้าที่ได้รับมาตรฐานอยู่แล้ว บริษัทตำรับไทยฯ ร่วมมือกับผู้ผลิตสินค้าในการสร้างสินค้าที่มีนวัตกรรมให้ทันสมัยและเข้าใกล้ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น อาทิ การใช้ดอกอัญชันเขียนคิ้วเพื่อให้คิ้วเข้มขึ้น บริษัทร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์กลายเป็นปากกาที่เหมือนสินค้าคอสเมติก มาสคาร่าแต่ภายในเป็นสมุนไพรสกัดจากดอกอัญชัน หรือการพัฒนาแผ่นมาส์กต่างๆ ที่เป็นมาส์กสมุนไพร “ใน 3-5 ปีข้างหน้าเป้าหมายต่อไปของเราคือพาสมุนไพรไทยเข้าใกล้คนไทยมากขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน เข้าใกล้กับวัฒนธรรมและประเทศ ผมอยากให้ร้านตำรับไทยฯ เป็นร้านที่เป็นอัตลักษณ์ของเมืองไทยในมุมของต่างประเทศเมื่อต้องการหาสมุนไพรที่มีมาตรฐาน ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำคือกลับมาทำจุดแรกว่าทำยังไงให้คนไทยยอมรับก่อน ถ้าคนไทยยอมรับต่างชาติก็ยอมรับเรา เพราะเราคือตัวจริง" ปัจจุบันร้านตำรับไทย สมุนไพรไทย ขยายสาขาในทั่วประเทศ 115 สาขา จากเดิมแผนการขยายสาขาก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 อยู่ที่ราว 130 สาขาในสิ้นปี แต่จากเหตุการณ์โควิด-19 การขยายสาขาอยู่ที่ราว 120 สาขาซึ่งการกระจายสาขาของร้านตำรับไทยนั้นเป็นการขยายสาขาภายใต้การบริหารงานของบริษัททั้งหมดเพื่อสารที่ส่งไปยังผู้บริโภคชัดเจนไม่ตกหล่นแต่ประการใด ช่วงท้ายการสัมภาษณ์มหาคุณ เทพสุทิน วัย 38 ปี สะท้อนถึงวิธีการแก้ปัญหาและอุปสรรคตลอด 19 ปี ในการก่อตั้งด้วยสองหลักการสำคัญคือ “การลงรายละเอียด” และ “ทำทุกอย่างให้เป็นกายภาพและจับต้องได้” “ถ้าคุณไม่ลง In details คุณจะไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง บางปัญหาเป็นปัญหาเล็กน้อยมาก แต่อย่าลืมว่าเล็กน้อยของเราอาจยิ่งใหญ่ของเขา ดังนั้นผมจะ In details โดยส่วนใหญ่ผมเก็บเคสตัวอย่างบ่อย สิ่งที่ผมชอบทำมากที่สุดก็คือนำปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเอามาแก้ไขแล้วต้องแก้ให้ได้เป็นกายภาพนี้คือสองสิ่งที่ผมใช้ในการบริหารมาตลอด 19 ปี” เขาย้ำด้วย In details ในนิยามการทำธุรกิจของผมหลักๆ คือใส่ใจ ใส่เข้าไปในใจ ใส่ใจกับพนักงาน ทีมงานที่บริษัทผมจะไม่เรียกพนักงานว่าทีมงาน ผมจะเรียกว่า น้องๆ เพราะเขาอยู่กับผมเป็นครอบครัว ภาพ: กิตติเดช เจริญพรไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine