โรดแมพเศรษฐกิจของ Trump - Forbes Thailand

โรดแมพเศรษฐกิจของ Trump

แผนการด้านเศรษฐกิจของ Trump นั้นถูกอธิบายไว้อย่างละเอียดใน “Scoring the Trump Economic Pla+n” เขียนโดย  Wilbur Ross และ Peter Navarro ซึ่งปัจจุบัน Ross เป็นคนที่ Trump เลือกให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ส่วน  Navarro เป็นที่ปรึกษาด้านการค้าโดยผมได้ย่อยเนื้อหาของรายงานฉบับดังกล่าวเพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจได้อย่างง่ายๆ ดังนี้

“New Normal” คือข้ออ้างทางการเมืองสำหรับการที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจตกต่ำนับจากปี 1947 เรื่อยมาจนถึงปี 2001 เศรษฐกิจสหรัฐฯ โตในอัตราเฉลี่ยปีละ 3.5% แต่นับจากปี 2002 มาจนถึงวันนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงเหลือ แค่ปีละ 1.9% เท่านั้น อัตราการเติบโตที่หายไป 1.6 percentage point หรือเท่ากับเศรษฐกิจโตในอัตราที่ชะลอลงถึง 45% จากระดับการเติบโตตามปกติก่อนปี 2002 ทำไมอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถึงได้ลดลงไปอย่างฮวบฮาบขนาดนี้? นักเศรษฐศาสตร์ หลายคนอธิบายอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวในยุคนี้ว่าเป็น “new normal” โดยโทษว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากร อย่างเช่น อัตราการทำงานของกำลังแรงงานที่ลดลงและการที่คนรุ่น baby-boomer เข้าสู่วัยเกษียณ - การแก้ไขนโยบายการค้า การกำกับดูแลธุรกิจ ภาษาและพลังงาน นโยบายที่แย่ทำให้คนไม่อยากลงทุนในสหรัฐฯ และผลักให้เม็ดเงินลงทุนไหลออกไปซึ่งส่งผลโดยตรงให้เศรษฐกิจตกต่ำลง เนื่องจาก GDP สหรัฐฯ ที่ขยายตัวทุกๆ  1% จะก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 1.2 ล้านตำแหน่ง
Wilbur Ross (ซ้าย) รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ และ Peter Navarro ที่ปรึกษาทางด้านการค้า
- กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกินไปกำลังฆ่าภาคธุรกิจกว่า 80% ของซีอีโอกิจการขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ เห็นด้วยกับเรื่องนี้ โดยระบุว่ากฎเกณฑ์เหล่านี้จัดว่าแย่สุดๆ ยิ่งเมื่อมาดูกฎเกณฑ์ที่กำกับดูแลธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐฯ ที่มีจำานวนถึง 28 ล้านบริษัทแล้วก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะแม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะมีส่วนในการจ้างงานถึง 2 ใน 3 ของการจ้างงานทั้งหมด แต่กลับถูกกระทบจากกฎเกณฑ์ การทำาธุรกิจหนักยิ่งกว่ากิจการขนาดใหญ่เสียอีก Heritage Foundation และ National Association of Manufacturers (NAM) ประเมินว่าต้นทุนในการปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ของทางการสูงถึงปีละประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญหรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 10% ของ GDP สหรัฐฯ โดย NAM ระบุว่า “ภาระของผู้ผลิตขนาดเล็กในสหรัฐฯ สูงกว่าธุรกิจเฉลี่ยถึงสามเท่า” ภายในช่วงเวลาแค่ 8 ปีภายใต้การบริหารประเทศโดยประธานาธิบดี Obama ต้นทุนของภาคธุรกิจในการปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์ของทางการไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม แรงงาน การธนาคาร และการคุ้มครองผู้บริโภค เพิ่มขึ้นถึงปีละ 1.2 แสนล้านเหรียญ ซึ่งต้นทุนเหล่านี้ก็เช่นเดียวกับต้นทุนทางธุรกิจอื่นๆ ที่ถูกส่ง ผ่านไปให้กับผู้บริโภคซึ่งต้องจ่ายเงินแพงขึ้นเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจากข้อมูลของ Competitive Enterprise Institute “ภาษีซ่อนรูป” เหล่านี้คิดเป็นมูลค่าสูงถึงปีละ “เกือบ 15,000 เหรียญต่อครัวเรือน” - ภาคการผลิตจะส่งผลแบบทวีคูณมากที่สุดทั้งในแง่ของการสร้างงาน และการกระจายความร่ำรวยเป็นที่น่าสังเกตว่าแผนปฏิรูปกฎเกณฑ์การทำธุรกิจของ Trump จะเน้นไปที่ภาคการผลิตมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นภาคที่ทรงพลังมากที่สุดในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจรวมถึงรายได้ภาคธุรกิจและกำลังแรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานประเภทกรรมาชีพ นักเศรษฐศาสตร์ Mark และ Nicole Crain ประเมินว่าในปัจจุบัน “ต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของทางการในภาคการผลิตสูงกว่าภาคอื่น อย่างไม่ได้สัดส่วนกัน...บริษัทในภาคการผลิตต้องจ่ายต้นทุนสูงถึง 19,564 เหรียญต่อหัวพนักงานในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของทางการสูงกว่าต้นทุนเฉลี่ยของบริษัทในภาคเอกชนโดยรวมที่ 9,991 เหรียญต่อหัวพนักงานถึงเท่าตัว” ตั้งแต่ที่เริ่มเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ สัดส่วนของแรงงานในภาคการผลิตต่อกำลังแรงงานโดยรวมได้ลดลงจากระดับสูงสุดที่ 22% ในปี 1997 เหลือแค่ 8% ในปัจจุบัน บางคนอาจจะแย้งว่าการจ้างงานที่ลดลงเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีในภาคการผลิตโดยหันไปพึ่งพาเครื่องจักรมากขึ้น แต่หากลองเปรียบเทียบกับประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่ในระดับแนวหน้าและถือเป็นผู้นำในเทคโนโลยีด้านการพัฒนาด้านหุ่นยนต์อย่างเยอรมนีและญี่ปุ่นแล้วจะพบว่าแม้สัดส่วนการจ้างงานในภาคการผลิตจะลดลงในช่วงหลัง แต่ก็ยังสูงถึงเกือบ 20% และ 17% ตามลำดับสำหรับเยอรมนีและญี่ปุ่น หากใครตามไปอ่านรายละเอียดก็จะเห็นว่าในรายงานฉบับนี้ บอกทิศทางของนโยบายด้านต่างๆ ของ Trump เอาไว้หมดไม่ว่าใครจะชอบหรือไม่ชอบวิสัยทัศน์ของ Trump แต่โรดแมพด้านนโยบายของเขาก็ชัดเจนแล้ว และตั้งแต่ที่เขาเข้ารับตำแหน่งมาจนถึงนาทีนี้ ก็เป็นข้อพิสูจน์อย่างดีว่าเขามีเจตนาที่จะเดินตามโรดแมพนี้
RICH KARLGAARDผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของ Forbesกับผลงานหนังสือเล่มล่าสุด TEAM GENIUS : THE NEW SCIENCE OF HIGH-PERFORMING ORGANIZATIONS
  ติดตามบทความที่ผ่านมาของเขาได้ที่ www.forbes.com/karlgaard
คลิกอ่านบทความทางด้านเศรษฐกิจ ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ เมษายน 2560 ในรูปแบบ e-Magazine