"นโยบายการเงินและภาษี" กับชาติมหาอำนาจ - Forbes Thailand

"นโยบายการเงินและภาษี" กับชาติมหาอำนาจ

การศึกษาความรุ่งเรืองและล่มสลายของชาติมหาอำนาจนักประวัติศาสตร์และนักวิชาการมักมองข้ามความสำคัญของ นโยบายการเงินและภาษี พวกเขาเขียนหนังสือออกมามากมายทั้งที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้นหรือถดถอย ระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ ความลับทางการทูต และอื่นๆ อีกมากมาย

แต่น้อยคนนักที่จะให้ความสำคัญกับบทบาทสำคัญของเงินและภาษีในชะตากรรมของประเทศชาติ อย่างเช่น การเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในธนาคารกลางหรือกระทรวงการคลัง ที่ไม่เคยกระตุ้นให้บรรดาสื่อขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงแห่งชาติ ลองพิจารณาความจริงพื้นฐานเกี่ยวกับเงินและภาษี ขณะที่ทำเนียบขาวมัวเพ่งความสนใจไปกับความจำเป็นในการปรับปรุงระบบการทหารที่เสื่อมทรามและหาทางรับมือกับประเทศที่มีนโยบายต่อต้านอเมริกาอย่างรัสเซีย จีน และอิหร่าน ถ้าสหรัฐฯ ต้องการเล่นบทตำรวจโลกอย่างสร้างสรรค์ ประเทศจะต้องมีสกุลเงินที่มีเสถียรภาพตลอดจนระบบอัตราภาษีที่ต่ำและสมเหตุสมผล สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดนวัตกรรมและความแข็งแรงทางเศรษฐกิจที่จำเป็นต่อความรับผิดชอบดังกล่าวสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการเผยแผ่ความมั่งคั่งไปทั่วโลก ความสำเร็จที่มั่นคงจะนำไปสู่การเลียนแบบนโยบายโดยถ้วนหน้าประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นแล้วหลายครั้งหลายครา
  • ความตกต่ำอันเป็นปริศนาของกรุงโรมเกิดขึ้นคู่ขนานกับความเสื่อมทรามของค่าเงินและการขึ้นภาษีอย่างไม่หยุดหย่อน
  • ฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นแค่จุดเล็กๆ ของยุโรป เป็นแผ่นดินจมน้ำแต่กลับประสบความสำเร็จในการแยกตัวจากราชวงศ์ Habsburg อันยิ่งใหญ่ของสเปน กลายเป็นอาณาจักรที่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลก ตลอดจนเป็นเมืองหลวงทางการเงินของโลก โดยตั้งอยู่บนนโยบายที่แข็งแกร่งด้านการเงินและการจัดเก็บภาษีในระดับต่ำเมื่อฮอลแลนด์ติดบ่วงภาษีที่เพิ่มขึ้น ความรุ่งโรจน์และอิทธิพลของอาณาจักรก็เสื่อมลงตามไปด้วย
  • อังกฤษเคยเป็นประเทศชั้นสอง หันมาทำตามอย่างชาวดัตช์แต่ทำได้ดีกว่า สิ่งที่ตามมาคือการปฏิวัติอุตสาหกรรม อังกฤษยังคงความเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้ได้สูญเสียอาณานิคม 13 แห่งไปเมื่อหละหลวมในหลักการภาษีต่ำ
  • สหรัฐฯ ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษแต่ยังเอาอย่างในหลักการด้านการเงินและภาษี และสามารถสร้างอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ จนกระทั่งได้ยกเลิกกฎทองในช่วงทศวรรษที่ 70 หลังจากนั้นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายปีของประเทศลดฮวบลงกว่าร้อยละ 25
เมื่อไรก็ตามที่เราเดินออกนอกเส้นที่แท้จริงไปสู่อำนาจและความมั่งคั่งรุ่งเรือง เราและโลกของเราต้องจ่ายค่างวด ครั้งที่เลวร้ายที่สุดเกิดขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) และสถานการณ์เงินเฟ้อครั้งรุนแรงในช่วงทศวรรษที่ 70 และ ต้นทศวรรษที่ 80 ในทั้งสองช่วงดังกล่าว อำนาจและความเป็นที่เคารพยำเกรงของสหรัฐฯ ตกต่ำ สร้างปัญหาไปทั่วโลก เราเกือบสูญเสียอารยธรรมในทศวรรษที่ 30 และต้นทศวรรษที่ 40 แม้เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อ แต่รัสเซียซึ่งกำลังใกล้จะตอกฝาโลงตัวเอง กลับกลายมาเป็นประเทศที่ค่อยๆ เรืองอำนาจมากขึ้น  

สืบค้น สัมภาษณ์และเขียน จนได้หนังสือเล่มเยี่ยมที่ชื่อ Working

กล่าวกันว่า The Life of Samuel Johnson ของ James Boswell เป็นหนังสืออัตชีวประวัติภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด Boswell ใช้เวลานานนับปีคลุกคลีอยู่กับ Johnson จดบันทึกรายละเอียดมากมายของชายยิ่งใหญ่ผู้นี้ สำหรับ Boswell เองนั้น ไม่ว่าตอนนี้เขาจะอยู่ที่ไหนไม่ควรพอใจอยู่แค่ผลงานดังกล่าว งานชิ้นเยี่ยมของ Robert Caro เป็นประวัติชีวิตของ Robert Moses ชายผู้ที่สร้างสะพาน ถนนทางหลวง สวนสาธารณะ และสนามเล่นเกือบจะทุกแห่งใน New York City ยุคศตวรรษที่ 20 ตลอดจนบริเวณโดยรอบของเมือง ยังไม่พูดถึงโครงการที่อยู่อาศัยอันน่าทึ่งหลายแห่ง นอกจากนี้ ยังมีงานที่เขาเขียนเล่าเรื่องราวชีวิตของ Lyndon Johnson ประธานาธิบดีคนที่ 36 ของสหรัฐฯ (Caro กำลังอยู่ระหว่างเขียนเล่มที่ 5 ซึ่งเป็นเล่มสุดท้าย) ผลงานทั้งสองเรื่องของเขาสร้างความตรึงใจไม่แพ้หนังสือของ Boswell อันที่จริงแล้ว อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำแน่นอนว่า Caro ไม่ได้คลุกคลีตีโมงอยู่กับบุคคลที่เขาเขียนถึงอย่างที่ Boswell เกาะติด Johnson เป็นเงาตามตัว แต่คุณจะเข้าใจไปว่าเขาได้ทำาเช่นนั้น เขาติดตามสัมภาษณ์ทุกคนที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลในหนังสือของเขาอย่างไม่เว้นวาย ในหลายๆ กรณี Caro ได้สนทนาและจัดเสวนาถามตอบซ้ำไปซ้ำมา
คลิกอ่านบทความทางด้านการลงทุนและเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับ สิงหาคม 2562 ในรูปแบบ e-Magazine