มองโลกแบบ Biden : ทั้งหดหู่และผิดเพี้ยน - Forbes Thailand

มองโลกแบบ Biden : ทั้งหดหู่และผิดเพี้ยน

ถ้าหากคุณอยากรู้สึกหดหู่สุดใจเกี่ยวกับอนาคตของสหรัฐฯ จงอ่านสุนทรพจน์ของ Jake Sullivan ที่ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ Sullivan คิดว่าตนกำลังกล่าวสรุปถึงวิสัยทัศน์อันทรงพลังของรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดี Biden ถึงจุดหมายของสหรัฐฯ และโลกทั้งใบที่รัฐบาล Biden ต้องการนำพาไป “สิ่งที่ตรงข้ามกับสังคมอุดมคติอย่างสิ้นเชิง” น่าจะเป็นข้อสรุปที่ถูกต้องมากที่สุด

    

    ไม่ต้องสนใจตลาดการค้าเสรีหรอก Sullivan ยืนยันอย่างมั่นใจว่า เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยตลาดเสรีจะดำเนินไปอย่างผิดทิศผิดทาง เขาพรั่งพรูถึงคำอุปมาแสนธรรมดาเกี่ยวกับความไม่เสมอภาค การซื้อหุ้นคืน และความตกต่ำของภาคการผลิตของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สูญเสียตำแหน่งงานให้กับตลาดต่างประเทศ และปล่อยให้จีนและประเทศอื่นๆ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีที่มีความสำคัญอื่นๆ

    Sullivan ดูแคลน “การลดหย่อนภาษีเละการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเปรียบเทียบกับการให้รัฐบริหาร รวมถึงการเปิดเสรีทางการค้า ในฐานะกระบวนการที่เบ็ดเสร็จในตัวเอง” Sullivan มีความเห็นว่าเราต้องการการวางแผนจากภาครัฐและลดการพึ่งพาตลาดเสรี โดยกล่าวว่า “กลยุทธ์ของภาคอุตสาหกรรมอเมริกันยุคใหม่จะเป็นตัวกำหนดว่าหน่วยธุรกิจใดบ้างที่เป็นรากฐานของการเติบโตทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์จากมุมมองด้านความมั่นคงของประเทศและจากภาคเอกชนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะระดมการลงทุนที่จำเป็นต่อการเดินหน้าสู่เป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของประเทศของเรา เราจำเป็นต้องทุ่มการลงทุนจากภาครัฐตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ลงไปในภาคธุรกิจดังกล่าว”

    การบังคับใช้พลังงานทดแทน เริ่มจากการติดตั้งกังหันลมและแผ่นรับพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องลงมือทำเป็นอันดับแรก รวมถึงการยุติการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล “…เพื่อฉกฉวย
ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าว อเมริกาจำเป็นต้องมีกลยุทธ์การลงทุนที่รอบคอบและตรงจุดเพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมการลดต้นทุน และการสร้างตลาดงานที่สดใส”

    การร่ายยาวของ Sullivan เกี่ยวกับตลาดเสรีนั้นผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงนี่คือความไม่เสมอภาคหรือ? ผู้คนต่างก็ต้องการรายได้เพิ่มขึ้น การลดหย่อนภาษีที่บังคับใช้ในปี 2017 ส่งผลดีกับทั้งภาคธุรกิจและบุคคลธรรมดา ค่าแรงของบรรดาผู้มีรายได้น้อยและชนกลุ่มน้อยปรับเพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้ของกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า

    ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์เป็นอย่างไรบ้าง? สหรัฐฯ นำหน้าจีนในเรื่องสถาปัตยกรรมชิปชั้นสูงอยู่ 5 ปี
แล้วภาคการผลิตเล่า? ภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากยุคที่กฎระเบียบต่างๆ ขาดความเป็นธรรมในช่วงต้นศตวรรษนี้ การผ่อนคลายกฎระเบียบ รวมถึงการลดหย่อนภาษีในช่วงที่ Donald Trump ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีทำให้ภาคการผลิตมีทิศทางที่ดีขึ้น

    การที่รัฐบาลบังคับให้ใช้พลังงานทดแทนทำให้ต้นทุนด้านพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมากในเยอรมนีและประเทศอื่นๆ มากกว่าเท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนด้านพลังงานของเรา และพลังงานทดแทนเองก็ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งพลังงานที่เอาแน่เอานอนไม่ได้

    ยิ่งไปกว่านั้นการผลิตพลังงานสีเขียวในปริมาณมากขึ้นต้องแลกกับการทำเหมืองแร่เพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างผลเสียอย่างมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม การให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนนี้ยังทำร้ายประเทศกำลังพัฒนาด้วยการโจมตีประเทศเหล่านั้นด้วยต้นทุนพลังงานที่สูงเกินจริง นี่คือเหตุผลว่าทำไมอินเดีย จีน และประเทศอื่นๆ จึงเลือกใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเพียงอย่างเดียว

    สิ่งที่ Sullivan และพรรคพวกมองข้ามไปอย่างง่ายๆ เลยก็คือ การที่เศรษฐกิจ “ซึ่งชี้นำ” โดยรัฐบาลในรูปแบบที่เขาคิดนั้นมีผลการดำเนินงานที่แย่กว่าเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยตลาดเสรีอย่างแน่นอน อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจของประเทศในสหภาพยุโรปที่มีการบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจความเกลียดชังแบบออกนอกหน้าของ Sullivan ที่มีต่อตลาดเสรีนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นในเสรีชน ท้ายที่สุดแล้วตลาดก็คือผู้คนที่ตัดสินใจทำการซื้อขายกันนับครั้งไม่ถ้วนทุกเมื่อเชื่อวัน ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมักจะเกิดขึ้นจากผู้คนที่ไม่ยึดติดกับความรู้แบบเดิมๆ ความก้าวหน้าต้องอาศัยการทดลองที่ทำขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยบุคคลและองค์กรจำนวนมากมาย

    “การชี้นำ” จากภาครัฐเป็นเครื่องหมายรับประกันถึงความเฉื่อยชาในตอนท้าย องค์การ NASA ที่เต็มไปด้วยนวัตกรรมในช่วงทศวรรษ 1960 ต้องหลีกทางให้กับองค์กรหัวโบราณซึ่งขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โชคดีที่เรายังมี Elon Musk และ SpaceX ซึ่งความรู้และวิสัยทัศน์ของพวกเขาล้ำหน้ากว่าของ NASA และจีน

    

อย่าปิดเสียงวิทยุ AM!

    วิทยุระบบ AM กำลังถูกโจมตี และเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องทำให้เสียงเหล่านี้เงียบลง วิทยุ AM ถือกำเนิดมานานกว่า 1 ศตวรรษแล้ว และถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในรถยนต์และรถบรรทุกมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ วิทยุระบบนี้มีผู้ฟังจำนวนหลายสิบล้านคน และยังเป็นสิ่งจำเป็นในการกระจายเสียงในสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างไรก็ตามผู้ผลิตรถยนต์หลายต่อหลายรายได้จัดให้วิทยุระบบ AM อยู่ในรายการสิ่งที่ต้องตัดออก Ford Motor ก็เพิ่งประกาศว่า ในรถยนต์ Ford รุ่นใหม่ทุกรุ่นจะไม่มีวิทยุคลื่นเก่าแก่นี้

    ผู้ผลิตยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าส่วนใหญ่ โดยแบรนด์ที่โด่งดังที่สุด ได้แก่ Tesla ไม่ติดตั้งวิทยุ AM ในรถยนต์ของตนเพราะยานยนต์ไฟฟ้าปล่อยสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งรบกวนการรับวิทยุ AM อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของ Ford ก็ชี้ชัดว่า ยานยนต์แบบดั้งเดิมที่มีเครื่องยนต์แบบสันดาปภายในก็ยังออกแบบแผงหน้าปัดที่ไม่มีเครื่องรับวิทยุ AM เช่นกัน

    

ปัญหาสัญญาณรบกวนคลื่นวิทยุในรถยนต์ไฟฟ้าสามารถแก้ไขได้

    การแก้ปัญหาดังกล่าวมีต้นทุนที่ต้องจ่าย หากแต่เป็นจำนวนเงินเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเงินอุดหนุนจำนวนมหาศาลที่ประธานาธิบดี Biden กันเอาไว้สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า

    เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่บริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินต่างแสดงความกังวลในประเด็นดังกล่าว อดีตผู้อำนวยการสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง (Federal Emergency Management Agency: FEMA) 7 คนได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยัง Pete Buttigieg รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมโดยมีเนื้อความตอนหนึ่งว่า “กฎหมายรัฐบาลกลางบังคับให้ FEMA ต้องดำรงรักษาไว้ซึ่งความสามารถในการแจ้งข่าวสารถึงประชาชนชาวอเมริกันทุกคน” ระบบแจ้งเตือนสาธารณภัยแห่งชาติ (National Public Warning System) ซึ่งเป็นเพียงวิธีการเดียวที่รัฐบาลจะสามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ในประเทศได้ในเวลาเดียวกันนั้นเปิดโอกาสให้ FEMA ทำเช่นนั้นได้

    “ความสำเร็จของระบบแจ้งเตือนสาธารณภัยแห่งชาติพึ่งพาวิทยุระบบ AM เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณได้ในระยะทางไกล และสัญญาณมีความทนทานถึงแม้ในช่วงของภัยธรรมชาติที่เลวร้ายที่สุด อย่างไรก็ดีถ้าหากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ยินยอมติดตั้งวิทยุ AM ในยานยนต์ที่ตนผลิต นั่นหมายความว่าระบบเตือนภัยกลางที่มีความสำคัญอย่างยิ่งนี้จะไม่สามารถใช้งานได้ตามแผนอีกต่อไป”

    วิทยุระบบ AM เองก็มีข้อเสีย เริ่มจากคุณภาพของดนตรีบนสถานีวิทยุระบบ AM บนคลื่นไฟฟ้าสถิตซึ่งผู้ฟังสัมผัสได้บริเวณสายไฟฟ้าบ่อยครั้ง ประกอบกับจำนวนผู้ฟังโดยรวมลดลงอย่าง
ต่อเนื่อง แต่เป็นที่แน่นอนว่าวิทยุ AM นั้นยังคงมีความสำคัญอยู่ทั้งในอเมริกาและในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

    สิ่งที่นำเราไปสู่อีกหนึ่งความเสี่ยงต่อการอวสานของวิทยุระบบ AM และ FM นั่นก็คือผู้ผลิตรถยนต์ต้องการเจาะแหล่งรายได้หลายพันล้านเหรียญที่อาจได้มาจากค่าสมาชิกของบริการหลายต่อหลายอย่างบนแผงหน้าปัดรถยนต์ ซึ่งออกแบบให้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้มากขึ้น ความกระหายรายได้เพิ่มของบรรดาค่ายรถยนต์ได้รับการกระตุ้นจากผู้ขับขี่ที่เต็มใจจ่ายค่าสมาชิกเพื่อแลกกับบริการของ SiriusXM ถ้าเป็นเช่นนี้จะให้ฟังรายการวิทยุแบบฟรีๆ ทำไมกันเล่า

    ผู้มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมต้องทำงานอย่างหนักเพื่อปกป้องวิทยุระบบ AM เอาไว้ ท้ายที่สุดแล้วรายการวิทยุในรูปแบบทอล์กโชว์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งผ่านมุมมองแบบอนุรักษ์นิยมไปยังกลุ่มผู้ฟังในสภาพสังคมที่มีแต่ความเกลียดชังซึ่งนับวันยิ่งมากขึ้นไม่ว่าอย่างไรก็ตามเราต้องปกป้องวิทยุ AM เอาไว้ให้จงได้

    

อ่านเพิ่มเติม : พุ่งขึ้นหลังพลิกฟื้น AMD

คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกันยายน 2566 ในรูปแบบ e-magazine