เหตุฉุกเฉิน ที่รายงานผ่านสื่อโซเชียลนั้น มักจะถูกคัดกรองและนำเสนอในแง่มุมที่สะอาดสะอ้าน แต่ Andrew Frame ผู้ก่อตั้ง Citizen เลือกที่จะใช้ข้อมูลจากการแจ้งเหตุฉุกเฉินผ่าน 911 เพื่อรายงานเหตุอาชญากรรมและความวุ่นวายกันแบบดิบสด ส่งตรงถึงคุณ
ทว่า นี่จะเป็นรูปแบบความปลอดภัยสาธารณะแห่งอนาคตหรือจะเป็นเพียงรายงานจากวิทยุตำรวจประจำศตวรรษที่ 21 ที่ Baltimore เหตุแทงกันที่ Los Angeles และเพลิงไหม้ที่ New York สำนักงานของ Citizen เต็มไปด้วยโต๊ะทำงานที่ติดตั้งจอไวด์สกรีนให้ความรู้สึกผสมผสานกันระหว่างห้องควบคุมจราจรทางอากาศกับห้องค้าหลักทรัพย์ที่ Wall Street บรรดานักวิเคราะห์ในวัย 20 ถึงต้น 30 ฟังคลิปเสียงสอดแทรกด้วยเสียงซ่าผ่านหูฟังชนิดครอบหูสายตาจดๆ จ้องๆ ไปยังข้อความสนทนาสดและแผนที่เมืองที่เปลี่ยนไปมา นิ้วมือกดแป้นคียบอร์ดเพื่อสลับดูเหตุโศกนาฏกรรมพร้อมกับส่งสัญญาณเตือนควมปลอดภัย แบ่งปันวิดีโอ และโพสต์รายงานสถานการณ์ล่าสุดให้ผู้ใช้ Citizen ที่อยู่ใกล้สถานที่เกิดเหตุร้ายในเช้าวันนั้น “เมื่อก่อนคุณจะต้องไปโรงเรียนตำรวจจึงจะสามารถเข้าถึงข้อมูลอาชญากรรมแบบเรียลไทม์ได้ หรือไม่ก็ต้องเป็นพนักงานดับเพลิงเพื่อเข้าถงเหตุเพลิงไหม้ ทั้งที่คนทั่วไปควรจะได้รับข้อมูลเหล่านี้แบบเรียลไทม์เช่นกัน” Andrew Frame ผู้ก่อตั้ง Citizen แม้ว่าปัจจุบัน Citizen จะทำงานในเพียง 5 เมือง (New York, L.A., Baltimore, Philadelphia และ San Francisco) แต่มีผู้ใช้งานที่มีความเคลื่อนไหวกว่า 1 ล้านคนในแต่ละสัปดาห์ รายงานข่าวทางโทรทัศน์จะนำวิดีโอที่ผู้ใช้ Citizen บันทึกไว้ไปออกอากาศกว่า 100 คลิป ทั้งนี้บริษัทแห่งนี้เปิดตัวเมื่อปี 2016 ในชื่อ Vigilante โดยมุ่งที่จะเป็นเครื่องมือปราบปรามอาชญากรรม แต่กลับถูก Apple สั่งห้ามใช้งานอย่างรวดเร็วด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย อย่างไรก็ดีในเวลานี้ Citizen รั้ง Top 10 ของ App Store ในกลุ่มแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง บ่อยครั้งทะยานทำอันดับเหนือ CNN, Buzzfeed, New York Times และ Google News ได้รับคะแนนเฉลี่ย 4.7 จากคะแนนเต็ม 5 จากผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 2.2 หมื่นคน ทว่า Citizen ไม่ได้เป็นเพียงรายเดียวในกลุ่มความปลอดภัยแต่ยังมี Nextdoor ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ประจำย่าน San Francisco ปัจจุบันมีมูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีหมวดหมู่อาชญากรรมและความปลอดภัย โดยสมาชิกจะรายงานเหตุอาชญากรรมและการกระทาต้องสงสัย ขณะที่ Ring ซึ่งเป็นบริษัทกริ่งประตูอัจฉริยะที่ Amazon ซื้อไปในราคา 1 พันล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้วมีบริการเฝ้าสังเกตการณ์ในพื้นที่ ซึ่งผู้ใช้และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสามารถเข้ามาโพสต์รายงานข่าวและคำเตือนได้ แม้ Citizen จะยังไม่มีรายได้ แต่สามารถระดมทุนได้ถึง 40 ล้านเหรียญจากบริษัทร่วมลงทุนที่ทรงอิทธิพลอย่าง Sequoia Capital, Founders Fund, Slow Ventures โดยข้อมูลของ Citizen ทั้งหมดได้มาจากการดักฟังระบบวิทยุสาธารณะแบบเดียวกับที่ผู้ที่ใช้เล่นเป็นงานอดิเรก นักข่าว หรืออาชญากรเฝ้าดักฟังมาเป็นเวลานับสิบๆ ปีแล้ว โดยสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองและไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือหรือแม้กระทั่งการอนุญาตจากหน่วยงานที่มีอำนาจ วิทยุ R1 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Citizen จะทำหน้าที่เป็นเครื่องรับสัญญาณวิทยุตำรวจความแรงสูง สังเกตการณ์และบันทึกช่องวิทยุสาธารณะพร้อมกันสูงสุดได้ถึง 900 ช่องทั่วทั้งเครือข่ายผู้เผชิญเหตุฉุกเฉินประจำเมือง ไม่ว่าจะเป็นตำรวจในพื้นที่หรือประจำรัฐ บริการเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์หรือเพลิงไหม้ ตลอดจนความปลอดภัยในการเดินทางและสนามบิน ในแต่ละวันเครือข่ายของ Citizen ที่ประกอบไปด้วย R1 20 เครื่องจะบันทึกสัญญาณวิทยุ กว่า 2,000 ชั่วโมง แม้ R1 จะมีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพสูงมีระยะครอบคลุมกว้างขวาง ทำให้ Citizen สามารถขยายไปยังเมืองอื่นๆ ได้โดยไม่ต้องลงทุนหาสถานที่หรือพนักงานใหม่เท่ากับว่า Citizen ใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่ากระป๋องเครื่องปรุง Old Bay เพื่อทำงานครอบคลุมทั่ว Baltimore โดยบรรดาแฟนคลับมองว่ๆ Citizen เป็นวิธีสอดส่องดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ของตน ขณะที่คนอื่นๆ เชื่อว่า รายงานสดทางวิดีโอจะช่วยคุ้มครองทั้งผู้ต้องสงสัยและเจ้าหน้าที่ตำรวจ “ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจะโปร่งใสมีความน่าเชื่อถือ และความเชื่อใจกันมากขึ้น ซึ่งน่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้” Ben Jealous อดีตหัวหน้า NAACP กล่าว ปัจจุบันเขาคือ หุ้นส่วนของ Kapor Capital ซึ่งลงทุนใน Citizen ด้วยนั่นเอง ทว่า นักวิจารณ์กลับมองว่า แอปพลิเคชันดังกล่าวมีลักษณะเหมือนการถ้ำมอง อีกทั้งยังสร้างกระแสความหวาดผวา ทำให้เมืองที่ปลอดภัยที่สุดดูเหมือนจะกลายเป็นเมืองที่มีแต่เหตุอาชญากรรมยังไงยังงั้น นอกจากนี้ หากใช้ผิดวิธียังอาจทำให้ผู้ใช้พาตัวเองเข้าไปตกอยู่ในอันตรายได้ ถึงเวลาแจ้งเตื่อน แนวคิดเรื่อง Citizen เกิดขึ้นมาในปี 2015 ขณะมองด้านหลังของที่ที่เคยเป็นตึกแถวสำหรับพักอาศัยใน Lower Manhattan เขาคิดถึงสัญญาณอันทันสมัยและไร้ตัวตนวิ่งทะลุอาคารสมัยศตวรรษที่ 19 ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ไร้สาย ไวไฟ วิทยุตำรวจ ถ้ามีวิธีทำให้สมาร์ทโฟนจับสายโทรศัพท์ฉุกเฉินได้ล่ะ เขาวิ่งกลับเข้าไปข้างใน บอกวิศวกร เพียง 1 สัปดาห์พวกเขาก็ได้ต้นแบบออกมา ในเวลานี้ Citizen ต้องหาทางแก้ปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งคือแพลตฟอร์มที่ไม่มีโฆษณาจะทำเงินได้อย่างไร แม้ Frame จะไม่ยอมเผยรายละเอียด แต่แหล่งข่าวในบริษัทบอกเป็นนัยว่าน่าจะเป็นรูปแบบที่ Citizen เรียกเก็บเงินจากมหาวิทยาลัย สนามบิน สนามกีฬา และสถานที่อื่นๆ ที่มีคนรวมตัวกันอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ทางการสามารถส่งคำเตือนไปยังผู้ใช้งานได้ไม่ว่าจะเพื่อส่งคำแนะนากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือคืนความสงบหลังจากคำเตือนผิดพลาด นอกจากนี้ ยังให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อความถึงเจ้าหน้าที่ทางการเกี่ยวกับประเด็นวิตกกังวลเรื่องความปลอดภัย “พบเห็นสิ่งผิดปกติโปรดแจ้ง” ผ่านช่องทางมือถือนั่นเอง แม้ว่า Frame จะยังคงไม่เปิดเผยแผนธุรกิจของตน (ตามคาด) แต่เขาสัญญาว่า itizen จะไม่หากินจากการโฆษณาหรือการเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ “เราจะไม่หารายได้หรือสร้างธุรกิจจากการขายข้อมูลส่วนบุคคล ธุรกิจของเราทั้งหมดนั้นก่อตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้ใช้ ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวด้วย” นับเป็นการเดินทางมาไกลเหลือเกินสำหรับอดีตแฮกเกอร์วัยรุ่นที่ครั้งหนึ่งเคยเฉียดคุกจากการเจาะเข้าระบบของรัฐบาล “ตอนที่ผู้พิพากษาให้รอลงอาญา ผมรู้สึกเหมือนกับรักษาโรคร้ายในระยะสุดท้ายจนหายขาด หลังจากนั้นมาผมก็ไม่เคยแหกกฎอีกเลย” เรื่อง: Steven Bertoni เรียบเรียง: ปาริชาติ ชื่นชม ภาพ: Jamel Toppinคลิกอ่านฉบับเต็มบทความ "ผู้บริหารภัยพิบัติ" ได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับมกราคม 2563 ได้รูปแบบ e-magazine