บริการการโอนเงินต่างค่าสกุลระหว่างบุคคลกลายเป็นอาวุธใหม่ในสงครามชิงตลาดเงินแห่งอนาคต และเหล่าบรรดายักษ์ใหญ่แห่ง Silicon Valley ต่างมั่นใจว่า Transferwise สตาร์ทอัพมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต้องมาวินในสมรภูมินี้แน่
ถึงเวลาแล้วที่ประเทศเล็กๆ ในรัฐบอลติกซึ่งมีประชากร 1.3 ล้านคนแห่งนี้ฝากอนาคตของประเทศไว้กับการพัฒนาสู่การเป็นโรงบ่มเพาะเทคโนโลยี จนได้ธุรกิจดาวรุ่งแจ้งเกิด สำหรับเอสโตเนียแล้ว Käärmannกับ Hinrikus ก็คงจะไม่ต่างอะไรกับ Mark Zuckerberg และ Jeff Bezos นอกจากนี้พวกเขายังมีนักลงทุนระดับหัวแถวคอยให้การสนับสนุนเพื่อรองรับกระแสในประเทศ อาทิ Peter Thiel ก็เป็นนักลงทุนคนแรกๆ ใน TransferWise เช่นเดียวกับ Richard Branson ขณะที่ Andreessen Horowitz อัดฉีดเงินลงทุนเพิ่มเติมให้อีก 58 ล้านเหรียญในปีที่แล้ว ทำให้ Käärmann กับ Hinrikus สามารถเพิ่มจำนวนพนักงานเป็น 600 คน พวกเขาจำเป็นต้องใช้แรงงานและแรงเงินมากมายขนาดนั้นจริงๆ เพราะในการสร้างแพลตฟอร์มโอนเงินโดยตรงระหว่างบุคคล เช่น โอนเงินข้ามสกุลเงินผ่านช่องทาง Skype นั้น เท่ากับเป็นการเปิดศึกกับธนาคารเกือบทุกแห่งทั่วโลก รวมถึงขาใหญ่ที่เปิดให้บริการมายาวนานอย่าง Western Union ด้วย “ผมมีความคิดแย้งขึ้นมาว่า การเคลื่อนย้ายเงินไม่ควรจะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรมากมายขนาดนั้น”Käärmann กล่าว “จริงๆ มันก็เหมือนกับแค่คุณเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนไปทั่วนั่นแหละครับ” นั่นคือทฤษฎีมูลค่าพันล้านเหรียญเลยทีเดียว เอสโตเนียได้รับฉายา Silicon Valley แห่งรัฐบอลติก โดยมีมีต้นเรื่องมาจากการกดขี่ของอดีตสหภาพโซเวียตนั่นเองควบคุมการเรียนการสอนวิชาปรัชญาและสังคมศาสตร์ เหล่านักเรียนนักศึกษาต้องหันมาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก ในที่สุด ในปี 1989 กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย หลังจากนั้น 2 ปี เอสโตเนียก็ได้รับเอกราช ถัดมาอีก 3 ปี โปรแกรมท่องอินเทอร์เน็ตที่มีชื่อว่า Netscape ถือกำเนิดขึ้นเอสโตเนียซึ่งมีความเฉลียวฉลาดและพูดภาษาในตระกูล Uralic ที่ใกล้เคียงกับภาษาฟินแลนด์ เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในประเทศของตน Käärmann กลายเป็นจุดสนใจหลังจากที่เขาสร้าง Yahoo Finance เวอร์ชั่นบอลติกและสแกนดิเนเวีย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหน่วยที่ปรึกษาด้านการเงินและธนาคารให้กับ Deloitte ในลอนดอน และที่นี่เอง Käärmann ได้พบกับ Hinrikusเพื่อนโปรแกรมเมอร์ที่ทุ่มเทเวลามากมายให้กับการสร้างเว็บไซต์สมัยเรียนปริญญาตรี พวกเขาทั้งสองปิ๊งไอเดียขึ้นมาในปี 2007 ระหว่างที่ทั้งคู่อาศัยในลอนดอนในฐานะชาวต่างชาติ เนื่องจากธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมและบวกค่าแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ทำให้ทั้งคู่ ซึ่งต้องโอนเงินข้ามสกุลเงินอยู่บ่อยๆ นั้นต้องสูญเงินไปบางส่วน วิศวกรซอฟต์แวร์ชาวเอสโตเนียทั้ง 2 จึงคิดทางออกง่ายๆ ขึ้นมาวิธีหนึ่ง คือ Hinrikus จะโอนเงินยูโรจากบัญชีธนาคารในเอสโตเนียของตัวเองมาเข้าบัญชีเอสโตเนียของ Käärmann ขณะเดียวกัน Käärmann ก็จะโอนเงินปอนด์จากบัญชี HSBC ในอังกฤษของตัวเองไปเข้าบัญชีธนาคาร Lloyds ของ Hinrikus วิธีการนี้ทำให้พวกเขาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมโอนเงินระหว่างประเทศหรือสูญเสียเงินไปกับอัตราแลกเปลี่ยนด้วย เนื่องจากพวกเขาใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง หรือที่เรียกว่าอัตรากลาง (midmarket rate) ต่อมาไม่นาน พวกเขาเริ่มใช้ Skype ในการสนทนาผ่านชาวเอสโตเนียคนอื่นๆ ที่ต้องการแลกเปลี่ยนสกุลเงินด้วยวิธีการนี้ด้วยเช่นกัน ในที่สุดพื้นที่แลกเปลี่ยนเงินตราทาง Skype ก็พัฒนามาเป็น TransferWiseในปี 2011 Hinrikus กับ Käärmann ลาออกจากงานและต้องใช้เงินของตัวเองลงทุน ก่อนที่จะสามารถระดมทุนตั้งต้นได้ 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อีก 1 ปีต่อมา Thiel นำระดมทุนรอบใหม่ได้อีก 6 ล้านเหรียญ และในปี 2014 Branson ก็ร่วมลงทุนในรอบระดมทุนครั้งหนึ่งซึ่งได้เงินมา 26 ล้านเหรียญ ณ วันนี้ TransferWise ระดมทุนผ่านการร่วมลงทุน (VC) ได้ 91 ล้านเหรียญเข้าไปแล้ว TransferWise มีวิธีการทำงานอย่างไรน่ะหรือ อันที่จริงแล้ว การโอนเงินคือการใช้ระบบจับคู่ของบริษัทในลักษณะนี้เท่ากับว่า เงินแทบจะไม่ได้เคลื่อนย้ายข้ามประเทศเลย ปัจจุบันเงิน 750 ล้านเหรียญที่ TransferWise โยกย้ายในแต่ละเดือนในเวลานี้ โดยมีผู้ใช้บริการรับส่งเงินในประมาณ 60 ประเทศรวมแตะหลัก 1 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือคิดเป็นการทำธุรกรรมราว 500 รายการ ในระยะสั้น คู่แข่งตัวจริงคือ Western Union กับ MoneyGram สำหรับ Western Union มีรายได้ 300 ล้านเหรียญจากการโอนเงินผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น อีกทั้งยังมีสาขาและตู้บริการ 600,000 แห่งทั่วโลกเป็นกำลังหนุนสำคัญ ในการที่จะคว้าชัยชนะในการแข่งขันให้ได้นั้น TransferWise จะต้องมีการเชื่อมโยง (ซึ่งจริงๆ แล้วเราพบว่า การส่งเงินผ่านช่องทางของบริษัทแห่งนี้ง่ายกว่าแอพพลิเคชั่นของ Western Union เสียอีก) และราคาที่ดีกว่า เมื่อมองในระยะยาวกว่านั้น TransferWise เผชิญความเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้ยิ่งกว่า เนื่องจากเทคโนโลยีหลักเพื่อการโอนเงินของบริษัทนั้นพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยุค 1990 สวนทางกับ Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานกับ Bitcoin ที่มีความชาญฉลาดมากกว่าและมีศักยภาพพอที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าการทำธุรกรรมทั้งในระดับธุรกิจและส่วนบุคคลได้เลย นั่นแปลว่า หนุ่มเอสโตเนียนทั้ง 2 จะต้องเร่งพัฒนาโดยเร็ว Hinrikus กับ Käärmann กำลังทำงานอย่างหนักเพื่ออนาคต ซึ่งเทคโนโลยีของพวกเขาจะสามารถดำเนินการจ่ายเงินได้โดยทันที พวกเขาจะสามารถโอนเงินระหว่างสหราชอาณาจักรกับยูโรโซนในเวลาเพียง 17 วินาที ขณะที่การโอนเงินออกจากสหรัฐฯ อาจจะใช้เวลานานกว่าเพราะว่ากฎหมาย Dodd-Frank Act ระบุว่า ลูกค้ามีเวลายกเลิกได้ภายใน 30 นาที เรื่อง: SAMANTHA SHARF เรียบเรียง: ปาริชาติ ชื่นชมคลิ๊กอ่าน "โอนเงินข้ามแดนยุคใหม่ ต้นตำหรับเดียวกับ SKYPE" ฉบับเต็มได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ AUGUST 2016 ในรูปแบบ e-Magazine