ปัจจุบันประเทศไทยแซงหน้าคู่แข่งในภูมิภาคและกำลังปูทางสู่การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Amit Ghosh ผู้อำนวยการ R3 ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สะท้อนภาพจากการร่วมปรับกระบวนการทำงานของธุรกิจไทยชั้นนำ และสถาบันการเงินของประเทศ จากการต่อยอดเทคโนโลยีบล็อกเชนในการสร้างความแตกต่าง
R3 ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Blockchain จากสหรัฐฯ ที่ทำงานร่วมกับกลุ่มองค์กรชั้นนำจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร สถาบันการเงินชั้นนำ และหน่วยงานของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยี Blockchain ประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงิน ซึ่งปัจจุบันมีองค์การหลากหลายเข้าร่วมเป็นสมาชิกมากกว่า 200 รายจากทั่วโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อยู่ภายใต้การดูแลจัดการของ Amit Ghosh สำหรับประเทศไทย R3 มีส่วนสำคัญในการนำเทคโนโลยีของบริษัทร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย ธนาคารกรุงศรีฯ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และ ธนาคาร HSBC ภายในแพลตฟอร์ม Corda ของ R3 มาใช้พัฒนาระบบต้นแบบการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินภายใต้ชื่อ โครงการอินทนนท์-รุกสร้างเงินดิจิทัลเพื่อธุรกิจ-
โครงการอินทนนท์ เป็นอีกหนึ่งในโครงการ Central Bank Digital Currency หรือ CBDC ที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศได้เข้าร่วมกับ R3 ที่เป็นเจ้าภาพด้านเทคโนโลยี เริ่มต้นโครงการราวปี 2560 เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำบล็อกเชนมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงินจากสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่จะเป็นตัวแทนของเงินได้จริงๆ โดย CBDC ถือเป็น "สกุลเงิน" ในรูปแบบดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ สามารถรักษามูลค่า และเป็นหน่วยวัดทางบัญชีได้ ไม่มีมูลค่าผันผวนเพื่อใช้เก็งกำไรอย่างสกุลเงินประเภทอื่น จึงใช้สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน และสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน “ทีมงานของ R3 ได้รวบรวมประสบการณ์หลากหลายจากการทำงานในโครงการ CBDC บนโครงการการค้าส่งและค้าปลีก และขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะทำงาน CBDC ที่จะเป็นหน่วยงานรวบรวมเครือข่ายธนาคารกลาง หน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงิน เครือข่ายการชำระเงินทั่วโลก และผู้ให้บริการเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของนวัตกรรมเข้าด้วยกัน” Amit Ghosh กล่าว สิ่งที่ R3 เข้ามามุ่งแก้ปัญหาคือการจัดการกับปัญหาเร่งด่วนที่สุดในด้านการเงิน การค้า ห่วงโซ่อุปทาน และการชำระเงินระหว่างธุรกิจต่อธุรกิจ หรือ B2B โดย Amit อธิบายเสริมว่างานที่เกี่ยวข้องในด้านซัพพลายเชน ซึ่งกระบวนการจัดหาเพื่อจ่ายซัพพลายเชนในปัจจุบันยังคงมีกระบวนการที่ล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการพึ่งพาเอกสารที่เป็นกระดาษ อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดและไร้ประสิทธิภาพ รวมไปถึงส่งผลให้ธุรกิจต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามมา นอกจากโครงการอินทนนท์แล้วนั้น R3 ยังได้ทำงานร่วมภาคเอกชน อาทิ การทำงานร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ทำให้เกิดโซลูชันบล็อกเชนแบบครบวงจรเป็นรายแรกของโลก สำหรับการจัดหาจัดการจ่ายที่เรียกว่า Blockchain Solution for Procure-to-Pay หรือ B2P และรวมถึงกลุ่มเครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG ธุรกิจปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นำโซลูชันนี้มาปรับใช้ เป็นต้น ซึ่งสำหรับประโยชน์จากบล็อกเชน B2P สามารถช่วยลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการจัดซื้อ สามารถลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องได้ถึงกว่าร้อยละ 70 โดยโซลูชัน B2P ได้ถูกนำไปใช้ในระบบนิเวศซัพพลายเออร์ของ SCG โดยคาดว่าซัพพลายเออร์มากกว่า 2,400 รายของธุรกิจในเครือ SCG จะได้รับประโยชน์จากโซลูชันนี้ภายในสิ้นปี 2563 ทั้งนี้ R3 ยังมีประวัติประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ ในไทยอีก เช่น J Ventures ที่เป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในปี 2561 ภายใต้แพลตฟอร์ม Corda เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของบริษัท R3-ทิศทางธุรกิจและกลยุทธ์ของ R3 ในประเทศ-
จากการที่ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป้าหมายในการสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางในด้านนวัตกรรมดิจิทัลในระดับภูมิภาค ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดทางด้านเทคโนโลยี เนื่องจากสตาร์ทอัพและธุรกิจต่างๆ เปิดกว้างและให้การยอมรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าปรับมาใช้อย่างจริงจัง กลยุทธ์ที่ครอบคลุมของ R3 ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือการนำเสนอ ซอฟต์แวร์ Distributed Ledger Technology หรือ DLT ที่เปลี่ยนภูมิทัศน์ในการถือครองข้อมูลเป็นการกระจายข้อมูลให้ทุกคนในเครือข่ายและจะเป็นการถือข้อมูลที่ตรงกันเหมือน ซึ่งเหมือนผสานกับแพลตฟอร์มบล็อกเชน Corda จะทำให้ R3 เป็นที่ปรึกษาทางด้านความคิด ค้นหาวิธีการทำงานใหม่ๆ จากเทคโนโลยีบล็อกเชนในอุตสาหกรรมที่แตกต่างออกไป และเป็นที่ต้องการของกลุ่มหมายในประเทศ อาทิ สำหรับ บรรดาผู้พัฒนาระบบ (ISV) สถาบันการเงิน บริษัทซัพพลายเชน และโลจิสติกส์ บริษัททุกขนาด และองค์ระดับประเทศอย่างรัฐบาล-ยกระดับธุรกิจด้วย Corda Enterprise-
จากเทคโนโลยีแพลตฟอร์มบล็อกเชนในยุคเริ่มต้นนั้น อ้างอิงจากความเสมอภาคทำให้ข้อมูลทั้งหมดถูกแชร์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดประเด็นที่หลากหลาย อาทิ ความเป็นส่วนตัว ความสามารถในการปรับขนาด และความสามารถในการทำงานร่วมกัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะขวางการเชื่อมโยงการทำงานของธุรกิจทั่วโลก ทำให้ R3 ได้พัฒนาแพลตฟอร์มบล็อกเชนสำหรับองค์กร ที่ชื่อว่า Corda Enterprise ซึ่งเป็นการนำเสนอคุณสมบัติและบริการที่ปรับแต่งมาอย่างดีสำหรับธุรกิจยุคใหม่ Corda Enterprise ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำธุรกรรมได้โดยตรง และมอบความเป็นส่วนตัวที่เข้มงวด โดยใช้ระบบสัญญาอัจฉริยะ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม และการเก็บบันทึกข้อมูล เพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ “แนวทางของ Corda ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลนั้น ล้ำหน้าในแวดวงบล็อกเชน เนื่องจาก Corda จะส่งข้อมูลตาม "ความจำเป็นที่ต้องรู้" เท่านั้น สิ่งนี้ช่วยให้มั่นใจได้ถึงความลับของการซื้อขายและข้อตกลง ในขณะที่ยังคงประโยชน์ไว้สำหรับโครงสร้างพื้นฐานบัญชีแบบแยกประเภทที่ใช้งานร่วมกัน” Amit กล่าว โดยแพลตฟอร์ม Corda ถูกนำไปใช้ในภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่การประกันภัย ด้านพลังงาน ข้อมูลประจำตัวดิจิทัล โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ และ govtech ทั่วโลก โครงการที่ใหญ่ที่สุดของ R3 คือการร่วมงานกับ Nasdaq, Contour, Infosys Finacle, Spunta และ RiskStream “ในปีนี้เราได้ประกาศความร่วมมือกับ Nasdaq บริษัท เทคโนโลยีตลาดหุ้นและตลาดทุนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมตลาดทุนใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อรองรับวงจรของสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมด ตั้งแต่การออกการซื้อขาย การชำระบัญชี และการควบคุมดูแล ทั้งนี้การรวม Corda เข้ากับ Marketplace Services Platform ของ Nasdaq ได้ปฏิวัติวิธีการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล และอนุญาตให้ใช้งานได้อย่างราบรื่น โปร่งใส ไม่เปลี่ยนรูปแบบ และปลอดภัย” นอกจากนี้ R3 ยังทำงานร่วมกับ Infosys Finacle พัฒนา Finacle Trade Connect เป็นแอปพลิเคชันการเงินการค้าในระดับการผลิตที่ใช้บล็อคเชนบน R3’s Corda “Finacle Trade Connect” แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการธุรกรรมการเงินการค้าในโลกแห่งความเป็นจริง ระหว่างและภายในกว่า 19 ประเทศ ในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมถึงการเปิดบัญชี การแฟ็กเตอริง การค้ำประกันจากธนาคาร การจัดหาเงินตามใบแจ้งหนี้ และเลตเตอร์ออฟเครดิต โดย Finacle Trade Connect ขณะนี้สถาบันการเงินสามารถเข้าถึงวิธีการที่โปร่งใส ปลอดภัย และคุ้มค่ามากขึ้นในการจัดการธุรกรรม Amit เสริมด้วยว่าจากประสบกาาณ์ของโครงการที่ผ่านมาเราเข้าใจดีว่าองค์กรต่างๆได้เปลี่ยนโฟกัสจากประสิทธิภาพที่แท้จริงไปสู่ความคล่องตัวมากขึ้น เพื่อให้บรรลุความสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องมีการแบ่งปันข้อมูลการทำงานร่วมกัน และวิธีการใหม่ในการดำเนินงานกับข้อมูลแบบ Silo ซึ่งจำเป็นทั้งในระดับประเทศและองค์กร “Blockchain ช่วยให้อุตสาหกรรมและข้อมูลแบบ Silo เป็นประโยชน์ต่อทุกคนๆ ได้โดยปล่อยให้ข้อมูลไหลเวียนได้อย่างอิสระในหน่วยธุรกิจและสามารถทำให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์ และองค์กรสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น สามารถทำงานร่วมกันในสายงานระดับประเทศ และในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ ตอบสนองต่อปรากฎการณ์หงส์ดำ (Black Swan event) บริหารความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็วขึ้น” ด้วย Corda เราเพิ่งเริ่มเห็นประโยชน์ของ blockchain ที่แสดงออกมา ในขณะที่นักพัฒนาบน CorDapps ยังคงสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ในวันข้างหน้า จากประสบการณ์การทำงานมากกว่า 18 ปีของเขาในฝ่ายการพัฒนาธุรกิจและการดำเนินงานมาแล้วหลายตำแหน่งทั้งที่ Visa PayPal และ Hewlett Packard ครอบคลุมทั้งด้านกลยุทธ์และการดำเนินงาน การพัฒนาธุรกิจและการออกแบบโซลูชันเพื่อการค้าด้านการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลและบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ โดยเขาทิ้งท้ายว่า “ในแต่ละโครงการ R3 เชื่อว่าความสำเร็จมักเกิดจากการสร้างสมาคมที่เข้มแข็งและเป็นตัวแทนที่ทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายในอุตสาหกรรมหนึ่งๆ หรือในหัวข้อเฉพาะต่างๆ ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่ R3 ได้รับจากการมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ที่ผ่านมาก็คือ ความเชี่ยวชาญจำเป็นที่จะต้อง เตรียมพร้อม และทำงานร่วมกับผู้เข้าร่วมที่หลากหลายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน”ไม่พลาดบทความด้านกลยุทธ์องค์กรและธุรกิจ ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine และ ทวิตเตอร์ Forbes Thailand