สร้างความได้เปรียบในการลงทุน เพื่อต่อยอดผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น - Forbes Thailand

สร้างความได้เปรียบในการลงทุน เพื่อต่อยอดผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น

    ท่ามกลางสถานการณ์การลงทุนที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน หนึ่งในคำถามสำคัญที่นักลงทุนพยายามหาคำตอบคือ จะค้นหาโอกาสการลงทุนในยุคเศรษฐกิจผันผวนเพื่อต่อยอดผลตอบแทนในการลงทุนได้อย่างไร ให้สามารถพิชิตเป้าหมายทางการเงินอย่างยั่งยืน

    หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะปลดล็อกให้นักลงทุนเข้าใจมุมมอง และปัจจัยการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินอย่างรอบด้านเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนบนพื้นฐานความเสี่ยงที่ยอมรับได้ คือ เครื่องมือ VTAR จากธนาคารยูโอบี ซึ่งเป็นกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เพื่อหาโอกาสการลงทุนในทุกสินทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรม ภูมิภาค และช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยจะพิจารณาจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ Value, Trend, Activity และ Risk

    เริ่มจาก Value ใช้วิเคราะห์ระดับมูลค่าหุ้นและโอกาสกำไรเติบโตในอนาคต โดยจะดูจาก P/E Ratio ซึ่งนิยมใช้ประเมินมูลค่าหุ้นว่ามีราคาถูกหรือแพง โดยนำราคาหุ้นหารด้วยกำไรต่อปี เพื่อดูว่าราคาเป็นกี่เท่าของกำไร หรืออาจวิเคราะห์จากส่วนต่างของผลตอบแทน (Option-adjusted Spread: OAS) ซึ่งจะแปลงส่วนต่างระหว่างราคาที่ควรจะเป็น (Fair Price) และราคาตลาด (Market Price) เป็นต้น

    ถัดมาคือ Trend ใช้ดูทิศทางแนวโน้มราคาจากตัวชี้วัดต่างๆ อาทิ Simple Moving Averages (SMA) เพื่อดูว่าสินทรัพย์ตัวนั้นอยู่ในแนวโน้ม "ขาขึ้น" หรือ "ขาลง" โดยคำนวนจากราคาในช่วงเวลาดังกล่าวว่ามีค่าสูงกว่าหรือต่ำกว่า ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง หรืออาจจะใช้ Relative Strength Indicator (RSI) ซึ่งใช้วัดความแข็งแรงของตลาดในแต่ละช่วงเวลา ควบคู่ไปกับการดูเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (Fund flows)

    Activity เพื่อให้เข้าใจปัจจัยมหภาคและกิจกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อการลงทุน อาทิ นโยบายของธนาคารกลาง รวมถึงดัชนีทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ดัชนี PMI ที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ, ดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมรวม (Industrial Production) และดัชนียอดค้าปลีก (Retail Sales) สุดท้ายคือ Risk ใช้ระบุถึงความเสี่ยงต่างๆ และโอกาสที่ความเสี่ยงจะลดลง อาทิ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ หรือความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงสำหรับการนำเครื่องมือ VTAR มาใช้นั้นด้วยความที่ยูโอบี มีแนวคิดในการบริหารความมั่งคั่งที่เป็นเอกลักษณ์ (Signature) คือ Risk-First Approach หรือการบริหารพอร์ตที่ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจและประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้เป็นอันดับแรกแทนที่จะโฟกัสเฉพาะผลตอบแทน ยูโอบีจึงแนะนำให้ลูกค้าบริหารพอร์ตของลูกค้า โดยแยกเงินลงทุนเป็น 2 ส่วน ส่วนหลักหรือ Core Portfolio จะเน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว มีความผันผวนไม่มากเน้นการสร้างกระแสเงินสด แนะนำให้ลงทุนในตราสารหนี้, กองทุน Multi-Asset เป็นต้น

    ขณะที่ส่วนเสริมคือ Tactical Portfolio จะเน้นการลงทุนที่มุ่งแสวงหาโอกาสระยะสั้น มีเป้าหมายเพื่อการเติบโตของเงินทุน โดยยูโอบีจะนำเครื่องมือ VTAR มาใช้ในการบริหารพอร์ต Tactical เพื่อเฟ้นหาสินทรัพย์ที่น่าสนใจในการลงทุนในแต่ละสภาวะอย่างครอบคลุมครบทุกด้าน

    ตัวอย่างสินทรัพย์ที่ยูโอบีใช้เครื่องมือ VTAR วิเคราะห์และแนะนำให้เป็นหนึ่งใน Tactical-Top Ideas คือ หุ้นกลุ่มสุขภาพทั่วโลกที่ได้รับอานิสงส์จากความต้องการบริการและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจากการเพิ่มขึ้นของสังคมผู้สูงอายุทั่วโลก บวกกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านยาและการรักษาต่างๆ จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสุขภาพมีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง 

    แม้ว่า Valuation ของหุ้นกลุ่มสุขภาพทั่วโลกอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีตอาจจะไม่ได้อยู่ในระดับที่ถูกมากนัก แต่ก็เป็นกลุ่ม Defensive Stock หรือหุ้นที่มีความทนทานในทุกสภาพตลาด ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงเห็นได้จากในช่วงที่ผ่านมา ด้าน Trend พบว่า Momentum ด้านราคาหุ้นอาจถูกกดดันจากความผันผวนและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่อาจมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อตลาดกลับเข้ามาลงทุนกลุ่ม Defensive มากขึ้น หุ้นกลุ่มสุขภาพทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่ากลุ่มอื่น และเป็นกลุ่มที่การเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2008 อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ความเสี่ยง หลักๆ ยังคงเป็นผลจากภาระต้นทุนที่อาจเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ และการสูญเสียอำนาจในการผูกขาดสูตรยาของกลุ่ม Biopharma ขนาดใหญ่

    อีกหนึ่งสินทรัพย์ที่ยูโอบีใช้เครื่องมือ VTAR วิเคราะห์และแนะนำให้เป็นหนึ่งใน Tactical-Top Ideas เช่นกันคือ หุ้นจีน เอเชีย และอาเซียน โดยยูโอบีมองว่าภูมิภาคเอเชียจะได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศของจีน อีกทั้งเงินเฟ้อที่ไม่ได้สูงและกดดันเท่าตลาดพัฒนาแล้ว ทำให้ธนาคารกลางใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย ขณะที่จีนก็มี Valuation ณ ปัจจุบันน่าสนใจ รวมถึงมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ทั้งการเงินการคลังที่ช่วยให้ Sentiment ดีขึ้นตามภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว เช่นเดียวกับอาเซียนที่มี Valuation ที่เหมาะสมและคาดการณ์กำไรยังคงทนทานและแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้ว ในด้านความเสี่ยงกลุ่มหุ้นเอเชีย จีน และอาเซียนยังต้องจับตาผลกระทบ

    ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของการนำเครื่องมือ VTAR มาเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้ลูกค้าคนสำคัญของธนาคารยูโอบีสามารถเข้าใกล้เป้าหมายทางเงินได้อย่างอุ่นใจ สามารถคว้าโอกาสเพื่อต่อยอดผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนติดต่อ UOB Privilege Banking โทร. 0 2081 0999 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.uob.co.th/privilegebanking