ถอดแนวคิด ‘ดร.ยุ้ย-เกษรา’ หัวเรือใหญ่เสนาฯ ลงมือลุยเชิงรุก ถึงลูกถึงคน ตั้งวอร์รูมช่วยเหลือทุกคนเก็บตกทุกภาคส่วน พร้อมร่วมสู้ฝ่าวิกฤตโควิด-19 - Forbes Thailand

ถอดแนวคิด ‘ดร.ยุ้ย-เกษรา’ หัวเรือใหญ่เสนาฯ ลงมือลุยเชิงรุก ถึงลูกถึงคน ตั้งวอร์รูมช่วยเหลือทุกคนเก็บตกทุกภาคส่วน พร้อมร่วมสู้ฝ่าวิกฤตโควิด-19

ถอดไอเดีย SENA ZERO COVID ผ่านวิธีคิดและการลงมือทำแบบเชิงรุกของ ผศ. ดร. เกษรา              ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ทั้งลงพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อดูแลและช่วยเหลือแรงงานด้วยตัวเอง หลังจากแคมป์ก่อสร้างทั่วกรุงเทพฯ ถูกประกาศสั่งปิดชั่วคราว พร้อมทุ่มฉีดวัคซีนให้พนักงาน ผู้รับเหมาและแรงงานถ้วนหน้า ตั้งวอร์รูมจัดทีม  ช่วยเหลือและศูนย์พักคอย มุ่งมั่นช่วยเหลือทุกคนร่วมสู้และฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน “โควิด-19 เป็นวิกฤตที่กระทบกับทุกคน คนรอบตัวเรา ทั้งลูกค้า ซัพพลายเออร์และพาร์ทเนอร์ที่ทำงานให้เราได้รับผลกระทบกันหมด เพราะเป็นเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ลึกไปกว่านั้นไม่ใช่แค่การกลัวเสียชีวิตจากการติดเชื้อ แต่เป็นการกลัวตกงาน กลัวขาดรายได้จากการเป็นโรคและไม่สามารถทำงานได้ หรือแม้แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อธุรกิจของนายจ้างจนกังวลเรื่องการถูกเลย์ออฟ” ดร. เกษรากล่าว ปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากโควิด-19 เกิดในฝั่งผู้ซื้อบ้าน แต่ในปีนี้กระทบในฝั่งการผลิตหรือการก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นซัพพลายเชนของธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ต้องสะดุดจากคำสั่งปิดแคมป์ก่อสร้างหลังจากพบคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อในกลุ่มแรงงานก่อสร้างเมื่อกลางปีที่ผ่านมา การปิดแคมป์ก่อสร้างส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมาก บริษัทก็ได้รับผลกระทบจากการที่ไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ แม้จะขายได้ก็ตาม
ผศ. ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์
หลังจากแคมป์ก่อสร้างถูกปิด ดร. เกษรา นำทีมเสนาฯ เดินทางลงไปดูพื้นที่ด้วยตัวเองเช่นเดียวกับเมื่อครั้งวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่นั่งเรือเข้าช่วยเหลือลูกบ้านที่ประสบภัย วิกฤตรอบนี้ ดร. เกษรา ทั้งขึ้นท้ายรถกระบะ ปั่นจักรยานสำรวจพื้นที่ หรือเดินเท้าเข้าไปในชุมชน เพื่อเห็นปัญหาด้วยตาตัวเองว่า คนงานก่อสร้างหรือชุมชนต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง บริษัทสามารถช่วยเหลือในส่วนใดได้บ้าง ซึ่งการลงพื้นที่สำรวจนี้เองทำให้เห็นปัญหาและเข้าใจปัญหาได้อย่างถ่องแท้ ทำให้สามารถนำกลับมาวางแผน เพื่อแก้ปัญหาและช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด “เราพบปัญหามากมาย ปัญหาบางอย่างเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยหากนั่งอยู่ในออฟฟิศแอร์เย็นๆ อย่างการไปแจกถุงยังชีพตามแคมป์ก่อสร้าง เมื่อลงพื้นที่จึงพบว่า บางแคมป์มีเด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็กพักอยู่ด้วย ทำให้เราเพิ่มนมกล่องเข้าไปในถุงยังชีพ ที่ไหนมีเด็ก ที่นั่นต้องมีนม ที่ไหนมีคนแก่ มีคนป่วย ที่นั่นต้องมียา” ดร. เกษรากล่าว บางแคมป์พบว่า มีคนงานท้องเสียหลายคน เกิดจากการส่งเฉพาะอาหารแห้งไปช่วย เพราะอาหารแห้งสะดวกในการเก็บ แต่คนงานต้องการอาหารสด จึงเด็ดผักเก็บปลาข้างไซต์ก่อสร้างมาทำอาหารกินในแคมป์ เพราะออกนอกแคมป์ไม่ได้ จึงท้องเสีย วันนั้นจึงซื้อยามาแจกจ่าย และซื้อของสด เช่น เนื้อไก่ ผักต่างๆ มาให้คนงานทำกินในแคมป์ “ถ้าเราไม่ใส่ใจ ไม่ลงรายละเอียด เราจะไม่รู้ปัญหาเหล่านี้เลย เราอยากทำให้ดีที่สุด เพราะคนงานไม่มีใครช่วยเหลือเขาได้ แคมป์ถูกปิด เขาไม่สามารถเดินทางไปไหนได้ และไม่มีหน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยเหลือเลย เขาไม่มีคนอื่นมาช่วยนอกจากเรา ถ้าเราเป็นกลุ่มเดียวที่เขาหวังพึ่งพา เราต้องทำให้เต็มที่ และทำให้ดีที่สุด” นอกจากการแจกถุงยังชีพให้กับคนงานก่อสร้างเป็นประจำแล้ว บริษัทยังมีมาตรการความช่วยเหลืออื่นๆ ได้แก่ การจัดหาวัคซีนให้กับพนักงานบริษัท ผู้รับเหมา แรงงานไทยและต่างด้าว การแจก Caring Gift ที่มียาฟ้าทะลายโจรและวิตามินซีให้กับลูกบ้านและลูกค้า การบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลตำรวจ รวม 27 ล้านบาท ผ่านมูลนิธิร่วมทางฝัน สำหรับสร้างห้องแรงดันลบและซื้ออุปกรณ์การแพทย์ - สร้างห้อง ICU ความดันลบ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมกระเกียรติ โดยคณะทำงานของรพ.เร่งก่อสร้างห้องตลอด 24 ชม. จนแล้วเสร็จภายใน 7 วัน และเปิดใช้รักษาคนไข้ทันที - โรงพยาบาลรามาธิบดี 5 ล้านบาท เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ - โรงพยาบาลตำรวจ 2 ล้านบาท เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เสริมเรื่องมุมมองส่วนตัวในการดำเนินโครงการนี้ - มอบฟ้าทะลายโจร 1,5000 กระปุก ให้แก่ลูกบ้าน ลูกค้า - ตลอดเดือนกันยายน ทางเสนามีแจกข้าวกล่อง 10,000 กล่องให้กับที่ได้รับผลกระทบ บริเวณหน้าอาคารธัญลักษณ์ภาคย์ “วิกฤตรอบนี้กระทบเยอะ กระทบยาว และเป็นไปด้วยความไม่รู้ คาดการณ์ไม่ได้ว่าวิกฤตจะจบเมื่อไหร่ เป็นวิกฤตที่ทำให้ยิ่งเห็นปัญหารากฐานของประเทศ คือ เรื่องการแบ่งแยกของชนชั้น คนที่จะต้องถูกช่วยที่สุดเป็นคนที่ลำบากที่สุด แม้โควิดไม่ได้เลือกคนจนคนรวย ทุกคนมีโอกาสติดได้หมด แต่กลับกลายเป็นว่า คนที่มีอันจะกิน มีเครือข่าย สามารถเข้าถึงเรื่องต่างๆ ได้มากกว่า ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องพื้นฐาน เช่น การหาวัคซีน การมีโรงพยาบาลรองรับ คนยากไร้ติดเชื้อง่าย แต่หาที่รักษาได้ยาก นี่คือความแตกต่างของชนชั้นในอีกรูปแบบที่เราเห็นได้ชัด” ดร. เกษรากล่าวเสริม
ผศ. ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์
ดร. เกษรา ยังได้ผุดไอเดียตั้ง COVID War Room ขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาและเอื้อมไปให้ถึงคนที่ตกหล่นจากการเยียวยา จากการเข้าถึงวัคซีนหรือความช่วยเหลือ โดยในวอร์รูมมีทีมประสานงานและบริหารจัดการ 4 ทีม ทีมแรกจะมีหน้าที่สอบถามความต้องการของผู้เสี่ยงติดเชื้อ สำหรับการเข้ากักตัวที่ศูนย์พักคอย และประสานหาโรงพยาบาลหรือสถานที่ตรวจตามช่องทางต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ทีมที่ 2 จะมีหน้าที่ติดตามอาการและประเมินระดับอาการที่แยกเป็นสีเขียว เหลืองและแดง ขณะที่ทีมที่ 3 จะประสานงานเกี่ยวกับการรับ-ส่งตัวผู้เสี่ยงติดเชื้อและผู้ป่วยติดเชื้อไปยังที่ต่างๆ ส่วนทีมที่ 4 จะเป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ของพนักงานระหว่างการอยู่พักรอที่ศูนย์พักคอย สำหรับศูนย์พักคอย ตั้งอยู่ที่เสนาเฮ้าส์ พหลโยธิน 30 เพื่อเป็นที่พักคอยสำหรับผู้ที่ติดเชื้อและอยู่ระหว่างรอการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทล และเป็นสถานที่กักตัวของผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อ โดยจะส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อให้พนักงานหายป่วยและได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย ศูนย์พักคอยได้เตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ต่างๆ มีการแยกการเข้าออกของผู้ติดเชื้อและเจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์ผ่านทางบันไดหนีไฟ และทางเข้าออกปกติของลูกค้าทั่วไป ซึ่งทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้กักตัว จะทำการฉีดฆ่าเชื้อตามบันไดและทางเดินหน้าห้องพัก และพ่นฆ่าเชื้อที่ห้องพัก โดยจะทิ้งห้องไว้ 2-3 วันหลังทำการพ่นฆ่าเชื้อแล้ว “ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าชีวิตคน ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างด้าว การช่วยเหลือของเราไม่ได้สิ้นสุดแค่การพาพวกเขาไปถึงโรงพยาบาล แต่จะสิ้นสุดตรงที่พวกเขาได้กลับบ้านอย่างปลอดภัยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่หรือบริษัทเล็กก็สามารถช่วยเหลือสังคมได้ โดยเริ่มทำให้ดีที่สุดจากจุดที่ยืน นั่นคือการดูแลทุกคนที่เราเอื้อมถึง เราไม่จำเป็นต้องรอให้ตัวเองเป็นบริษัทใหญ่ เพราะไม่มีใครเล็กเกินกว่าจะช่วยคนอื่นได้” ดร. เกษรากล่าวทิ้งท้าย https://www.youtube.com/watch?v=8k4JNeduteQ