ไฟเซอร์ชูยานวัตกรรมปักหมุดพร้อมครองแชมป์ผู้นำอุตสาหกรรมยาระดับโลก-ไทย - Forbes Thailand

ไฟเซอร์ชูยานวัตกรรมปักหมุดพร้อมครองแชมป์ผู้นำอุตสาหกรรมยาระดับโลก-ไทย

ระยะเวลา 63 ปีของช่วงชีวิตคนหนึ่งคนอาจล่วงเลยจากวัยทำงานสู่วัยเกษียณอายุ แต่สำหรับบริษัทไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด คือการสะท้อนความแข็งแกร่งและยืนหยัดในอุตสาหกรรมยาในประเทศไทย      อย่างยาวนานด้วยจุดยืนและความมุ่งมั่นในการนำเสนอนวัตกรรมเพื่อช่วยผู้ป่วยในฐานะผู้ผลิต วิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์และยานวัตกรรมรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก การปรับโครงสร้างองค์กรไฟเซอร์ ในประเทศไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้สอดคล้องกับนโยบายการปรับโครงสร้างองค์กรทั่วโลกที่ต้องการให้มีแนวทางธุรกิจและแผนการตลาดที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเทศ        มากยิ่งขึ้น นับเป็นภารกิจหลักที่คุณเซลิม เซสกิน (Selim Sezgin) ผู้จัดการใหญ่ ประจำประเทศไทยและ  อินโดไชน่า บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความสำคัญและนำไปสู่การปฏิบัติใช้ในทุกส่วนขององค์กรภายหลังจากเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2559 เพื่อให้ไฟเซอร์ครองความเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง
คุณเซลิม เซสกิน ผู้จัดการใหญ่ ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
"ความน่าท้าทายของอุตสาหกรรมยาในประเทศไทย คือ นโยบายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการเข้าถึงยาที่เป็นนวัตกรรมของผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง เนื่องจากรัฐบาลต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่สูงขึ้น ทำให้ต้องออกนโยบายเพื่อช่วยลดภาระ อย่างไรก็ดี เรามองเห็นโอกาสของธุรกิจจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของรัฐบวกกับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เรามองว่า ปัจจัยเหล่านี้คือโอกาสสำคัญขององค์กรที่จะพัฒนาธุรกิจและการตลาดให้เติบโตควบคู่ไปกับความพร้อมขององค์กรที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการดำเนินยุทธศาสตร์ด้านการเข้าถึงยาเพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยได้มีโอกาสเข้าถึงยาที่เป็นวัตกรรมใหม่ๆ        ได้อย่างทั่วถึง" คุณเซลิมกล่าว พร้อมเปิดตัวยาใหม่เพื่อการป้องกันและรักษา สำหรับการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บทบาทหลักของไฟเซอร์คือการจัดหาและนำยานวัตกรรมใหม่เข้ามาสู่ตลาดในประเทศให้มากที่สุด ยาที่ไฟเซอร์ให้นิยามว่าเป็น “Breakthrough” ซึ่งผ่านการค้นคว้า วิจัย    และพัฒนาที่ตอบโจทย์ความต้องการทางการแพทย์ทั้งด้านการป้องกันซึ่งอยู่ในกลุ่มวัคซีนและกลุ่มรักษาโดยเฉพาะยาในกลุ่มมะเร็งวิทยา (Oncology) รวมทั้งกลุ่มยาโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases) และกลุ่มยาที่ช่วยบรรเทาปวด​ ซึ่งเป็นยากลุ่มที่ไฟเซอร์มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านวิจัยพัฒนาและเทคโนโลยีขั้นสูงด้านการผลิต เพื่อความมั่นใจในประสิทธิผลและความปลอดภัยสำหรับการใช้ยาเพื่อการรักษาผู้ป่วย ด้วยประสบการณ์ทำงานกับไฟเซอร์อย่างยาวนานตลอด 16 ปีทั้งที่สำนักงานใหญ่            ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษและตุรกี สิ่งที่ผู้บริหารประจำประเทศไทยคนปัจจุบันให้ความสำคัญเป็น          อันดับต้นๆ ต่อจากนี้ไปคือการนำยาและวัคซีนใหม่ที่เป็นนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2562 เพียงปีเดียวไฟเซอร์ได้รับการอนุมัติการจดทะเบียนยาใหม่กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาถึง 4 ตัว และจะคาดว่าจะได้รับการอนุมัติอีก 10 ตัว ภายใน 5 ปีข้างหน้าอีกด้วย ซึ่งยาตัวใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปในช่วง ‘สัปดาห์แห่งการรณรงค์ รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย' ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการรักษาที่ตอบโจทย์เชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา ไฟเซอร์ให้ความสำคัญกับยากลุ่มนี้ในฐานะยา “Breakthrough” มีความสำคัญกับประเทศไทยในฐานะ  เมดิคอลฮับ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งกับประเทศไทยที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 คาดการณ์ว่าประชากรไทยอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีสัดส่วน 20% จากประชากรทั้งสิ้น 67.6 ล้านคน และในปี 2574 สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 28% เป็นความท้าทายของ  ภาครัฐที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง สำหรับอีกหนึ่งประเด็นที่กำลังท้าทายงานวิจัยและนวัตกรรมของอุตสาหกรรมยาคือ การดื้อยาต้านจุลชีพซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจในวงกว้าง องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าโลกจะกลับสู่ยุคที่คนจะเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อแบคทีเรียอีกครั้งคาดว่าในปี 2593 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากปัญหาเชื้อดื้อยารวม 10 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในทวีปเอเชียมากที่สุดถึง 4.7 ล้านคน ด้วยเหตุนี้องค์กรจึงมีนโยบายสนับสนุนให้มีการใช้ยาอย่างเหมาะสมโดยให้ความร่วมมือกับ    หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในมาตรการการรับมือและแก้ปัญหาเชื้อดื้อยา
คุณเซลิม เซสกิน ผู้จัดการใหญ่ ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
"เราให้ความสำคัญยิ่งกับคุณค่าของการวิจัยและพัฒนา ด้วยการใช้งบประมาณมหาศาลในแต่ละปีเพื่อคิดค้นนวัตกรรมด้านการรักษาโรค เพื่อยับยั้งการระบาดการก่อตัวของโรคให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ซึ่งในปีนี้บริษัทแม่ได้ใช้งบประมาณราว 8.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับงานวิจัยและพัฒนา"    ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไฟเซอร์ ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า กล่าวเสริม ผนึกกำลังบุคลากร-ภาครัฐ-ธุรกิจ-สังคม เพื่อคนไทยสุขภาพดี นอกจากการป้องกันและรักษา รวมทั้งนวัตกรรมเพื่อการวิจัยพัฒนายาและเวชภัณฑ์ใหม่ และการทำงานกับภาครัฐ ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) ภายใต้การนำของคุณเซลิมยังให้ความสำคัญการพัฒนาพนักงานไฟเซอร์  กว่า 400 ชีวิต บุคลากรขององค์กรส่วนใหญ่คือผู้ประกอบวิชาชีพด้านเภสัชกรรม มีความรู้ความสามารถ  และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยขับเคลื่อนทั้งนโยบายธุรกิจ และโครงการเพื่อสังคมมากมายผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจและองค์กรไม่แสวงหากำไรอื่นๆ เช่นสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ มหาวิทยาลัย หน่วยงานวิชาการและภาครัฐ เพื่อช่วยให้คนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการให้ทุนการศึกษาแพทย์และเภสัชกร รวมถึงให้การฝึกอบรมต่างๆ แก่เยาวชนและชุมชนผ่านโครงการต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น "เราให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาบุคลากรและคนรุ่นใหม่ เพราะพวกเขาจะเป็นผู้จะขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าและให้คงความเป็นบริษัทยาและเวชภัณฑ์ชั้นนำแห่งหนึ่ง รวมถึงยังเป็นองค์กร    ในฝัน และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสากรรมยาในประเทศต่อไปในระยะยาว" ความก้าวหน้าในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่นเป็นสิ่งที่ผู้บริหารมากประสบการณ์อย่างคุณเซลิมไม่อาจมองข้าม    ทุกวันนี้ไฟเซอร์ได้พัฒนาวิธีการสื่อสารให้ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งไม่ต้องมีเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ เช่น    ให้คำแนะนำและปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาผ่านระบบดิจิทัล นอกเหนือจากรูปแบบเดิมที่ทำผ่านการพบปะหรือผ่านทางโทรศัพท์ โดยกำลังศึกษาที่จะใช้ประโยชน์จากระบบดิจิทัลให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาการสื่อสารและแนะนำการใช้ยาอย่างเหมาะสม ผ่านสมาร์ทโฟนและสมาร์ทวอทซ์ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและมากขึ้นต่อไปในอนาคต คุณเซลิมกล่าวปิดท้าย มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ย 130,000 ราย  ต่อปี พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับ 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชาย ได้แก่          1.มะเร็งตับและท่อน้ำดี 2.มะเร็งปอด 3.มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 4.มะเร็งต่อมลูกหมาก และ      5.มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ขณะที่ 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิง ได้แก่ 1.มะเร็งเต้านม      2.มะเร็งปากมดลูก 3.มะเร็งตับ 4.มะเร็งปอด และ 5.มะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่สาเหตุของการเสียชีวิตจาก      โรคมะเร็งเป็นอันดับที่ 1 ของทั้ง 2 เพศ กลับพบว่าคือโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ถัดมาคือ โรคมะเร็งปอด  (แหล่งข้อมูล: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี 2560)