ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง รัฐวิสาหกิจคิดใหม่ บสย. New Normal ปรับ Mindset ขับเคลื่อนองค์กร
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นนักบริหารรุ่นใหม่ ผู้รักความท้าทายและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ใช้เวลาเพียงปีเศษๆ ปรับลุคใหม่ให้องค์กรรัฐวิสาหกิจ ขนาด 400 คน ทำงานเชิงรุก ปลุก “เสือหลับ” เป็น “เสือตื่น” ปราดเปรียว ด้วยการ Transform องค์กร พลิกโฉม บสย. สังกัดกระทรวงการคลัง เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจคิดใหม่ ไต่ระดับการ ทำงานด้วยสปีดความเร็วสามารถก้าวผ่านความท้าทายใหม่ด้วยผลงานท้าพิสูจน์ ค้ำประกันสินเชื่อ 100,000 ล้านบาท ภายในเวลา 5 เดือน
Transform คือจุดเริ่ม แต่สิ่งที่ท้าทายและโจทย์ที่ใหญ่กว่า คือ คิดเชิงกลยุทธ์เพื่อบริหารจัดการองค์กร
เป้าหมาย ต้องหาให้เจอ New Business Model ปรับโครงสร้าง ระดมมือบริหาร ผ่าตัดใหญ่
ตอบโจทย์รัฐ ลดการพึ่งพา นำองค์กรเข้าสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ก้าวทันสถานการณ์โลก เพิ่มสีสัน
ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ที่เข้าถึงและเข้าใจพันธมิตรสถาบันการเงิน และผู้ประกอบการ SMEs
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในระหว่างเดือน มกราคม-พฤษภาคม สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เราถอดบทเรียนจากสถานการณ์ พบว่าธุรกิจได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ผู้ประกอบการ SMEs ขาดสภาพคล่อง ต้องการเงินทุนหมุนเวียน บสย. ซึ่งอยู่ในระหว่างช่วงการ Transform ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ COVID-19 ที่นำไปสู่วิถีใหม่ของโลก สู่ New normal (นิวนอร์มัล) หรือ ความปรกติใหม่ เกิดเป็นความท้าทายใหม่อีกรอบหนึ่ง ภารกิจค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ SMEs ยิ่งมีความท้าทาย ต้องเข้มข้นขึ้น พร้อมก้าวสู่ New normal บริบทใหม่ บสย.” ดร.รักษ์ กล่าว
New normal บสย. รัฐวิสาหกิจคิดใหม่ มุ่งเน้นการปรับกระบวนการทำงาน คิดใหม่ ทำใหม่ การบริหารจัดการองค์กรใหม่ 3 มิติ คือ 1.New Process 2.New Mindset 3.System Integration และการเติม พลังบวกให้พนักงาน
1.New Process… Lean and Automation ทำน้อย..แต่ได้มาก หรือการเพิ่มผลิตภาพ Productivity เปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กร ปรับกระบวนการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ปรับกระบวนการอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ นำระบบไอทีปรับปรุงประสิทธิภาพ พัฒนากระบวนการทำให้การอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า จากวันละ 350 ฉบับ เป็น 1,400 ฉบับต่อวัน โดยยังได้ปรับใช้กระบวนการทำงานการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อเป็นแบบ Batch Approval ซึ่งสามารถอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อได้ถึงคราวละ 5,000 ล้านบาท ตอบโจทย์การปล่อยสินเชื่อให้เร็วขึ้น โดยทำงานแบบคู่ขนานกับสถาบันการเงิน ทำให้ บสย. เข้าไปนั่งในใจลูกค้าและคู่ค้า
2.New Mindset… SMEs Centric เปลี่ยน Mindset โดยปรับพันธกิจจาก “ผู้ค้ำประกันปลายน้ำ” เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับผู้ประกอบการ SMEs 3 ล้านราย เป็นศูนย์กลาง มี บสย. เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยมีสถาบันการเงินเป็นคู่ค้าทางธุรกิจ เห็นได้จากโครงการคลินิกหมอหนี้ บสย. ซึ่งเดินเคียงข้างลูกค้าตั้งแต่วันที่เข้ารับคำปรึกษาจนได้รับวงเงินสินเชื่อ
3. System Integration… คิด ริเริ่ม เพิ่ม Productivity ปรับวิธีคิดและการทำงานแบบ Project Base บูรณาการทำงานเพื่อผลสำเร็จร่วมกัน ลดปัญหาการทำงานแบบไซโล เพิ่ม Productivity ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ปรับลดพนักงานในสำนักงานเหลือ 1 ใน 3 ตามหลัก Physical Distancing ส่วนที่เหลือปฏิบัติงานแบบ Work from Home และทำงานที่สถานที่ปฎิบัติงานสำรอง (Co-Site) มีการจัดทีม The Well Being ดูแลด้านสุขอนามัย และอำนวยความสะดวกแก่พนักงาน ส่งผลให้ บสย. ประสบความสำเร็จในการเพิ่ม Productivity เกินเป้าหมายที่วางไว้
การปรับกระบวนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ ระหว่าง ม.ค.- 15 มิ.ย.2563 แตะเป้าหมายอย่างรวดเร็วกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ภายในระยะเวลาไม่ถึง 6 เดือน ได้แก่ 1.ยอดอนุมัติการค้ำประกันสินเชื่อ จาก 34,870 ล้านบาท ปี 2562 เพิ่มเป็น 106,154 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 204% 2.อนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) จาก 30,447 ฉบับ ในปี 2562 เป็น 110,701 ฉบับ เติบโต 264% และ 3.จำนวนลูกค้าใหม่ จาก 25,470 รายในปี 2562 เป็น 73,300 ราย เติบโต 188% นับเป็นการทุบสถิติถล่มทลาย
ความสามารถการฝ่าด่านอันท้าทายนี้ เป็นผลจากการปรับ Mindset การปรับกระบวนการทำงาน และการทำงานที่เกิดจากความร่วมมือจากพนักงานทุกคนแบบ “ใจแลกใจ” ที่มาจากการเติมพลังบวก ตลอดช่วงเวลาของการ Transform องค์กร ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ต้องเพิ่มสปีดเพื่อเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้นตรงหน้า
การปรับกระบวนการทำงานดังกล่าว ตอกย้ำบทบาทและภารกิจของ บสย. ที่ว่า “ค้ำประกันสินเชื่อ” เป็นกลไกที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเร่งและกระตุ้นให้เกิดสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจได้มากถึง 130,000 ล้านบาท ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะที่ 8 และโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS บสย. สร้างไทย โดยการเติมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ SMEs และเจ้าของธุรกิจโดยตรงเหล่านั้น ให้มีทุนเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ และยังช่วยรักษาการว่าจ้างงานของ SMEs ได้มากถึง 590,000 คน
แน่นอนว่าภารกิจช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนภายใต้การนำทัพของ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. จะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่ยังทำหน้าที่ดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการ SMEs รายย่อย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการอาชีพอิสระ หรือกลุ่ม SMEs รายจิ๋ว ตลอดจนการให้ความ ช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจบใหม่กว่า 5.2 แสนราย ให้สามารถหาแหล่ง เงินทุนในการสร้างอาชีพให้กับตัวเองได้ โดย บสย. ยังได้เตรียมปรับโครงการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่ม Micro ให้กระชับและตอบโจทย์ความต้องการ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้กลับมา Re-Start และมีทุนประเดิมในการเริ่มต้นทำธุรกิจอีกครั้ง ซึ่งแนวทางการให้ความช่วยเหลือนี้ เป็นโจทย์ที่ต้องรับมือในช่วงการฟื้นตัวหลังจากการผ่อนคลายของรัฐบาล และเป็นความท้าทายใหม่ที่กำลังจะเข้ามา