MEA เปิดวิสัยทัศน์ว่าที่ผู้ว่าการคนใหม่ “วิลาศ เฉลยสัตย์” วางยุทธศาสตร์สู่ Smart Utility พัฒนาองค์กรให้เป็น Service Innovation ชูแนวคิดขับเคลื่อนองค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นพลิกบทบาท MEA สู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ - Forbes Thailand

MEA เปิดวิสัยทัศน์ว่าที่ผู้ว่าการคนใหม่ “วิลาศ เฉลยสัตย์” วางยุทธศาสตร์สู่ Smart Utility พัฒนาองค์กรให้เป็น Service Innovation ชูแนวคิดขับเคลื่อนองค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นพลิกบทบาท MEA สู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ

วิลาศ เฉลยสัตย์ ว่าที่ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนองค์กร ภายหลังได้เข้ามารับตำแหน่งว่าที่ผู้ว่าการ MEA คนที่ 18 โดยกล่าวว่า วิสัยทัศน์ของ MEA ยังคงเดินหน้าสู่การเป็น “พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร” หรือ Energy for City Life, Energize Smart Living ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ให้มีความทันสมัย มั่นคงและปลอดภัย “การเป็น Metro Utility หรือพลังงานสำหรับเมืองหลวงหรือเมืองมหานคร เป็นการขับเคลื่อนเพื่อวิถีชีวิตของคนเมืองหลวง วิสัยทัศน์นี้เป็นวิสัยทัศน์ที่ Dynamic หรือมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะวิถีชีวิตของ  คนเมืองไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเมกะเทรนด์ต่างๆ เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เปลี่ยนตามเทคโนโลยีต่างๆ MEA จึงต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ดังนั้น จึงกลายเป็นวิสัยทัศน์ที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา” MEA มุ่งมั่นในการพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรให้สอดคล้องกับภารกิจที่กำหนดไว้ คือ การส่งมอบนวัตกรรมและบริการที่เป็นเลิศให้กับลูกค้า ขยายความร่วมมือทั้งภายในองค์กรที่เป็นพนักงานและภายนอกองค์กรที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ตลอดจนปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและความยั่งยืนภายใต้ความภูมิใจของทีม MEA ทุกคน ยึดค่านิยม CHANGE ด้วยงานหลักของ MEA คือ การบริการ ภารกิจดังกล่าวจึงดำเนินงานผ่านค่านิยม CHANGE ที่กำหนดให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยเน้นการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และร่วมผลักดันให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ ค่านิยมดังกล่าวประกอบด้วย C-Customer Focus ที่เน้นลูกค้า ยึดความต้องการของลูกค้าและมุ่งไปสู่ความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้า ให้ข้อแนะนำต่างๆ และให้บริการให้ถูกต้องกับความต้องการของลูกค้า ซึ่ง MEA ได้กำหนดไว้เป็นค่านิยมอันดับแรก H-Harmonization หรือการทำงานที่สอดประสาน เนื่องจาก MEA เป็นองค์กรที่มีพนักงานเกือบ 8,000 คน ที่ร่วมขับเคลื่อนงานในหน่วยงานต่างๆ กว่า 50 หน่วยงาน ดังนั้น การประสานความร่วมมือหรือบูรณาการ เพื่อให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ จึงมีบทบาทสำคัญในการมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร A-Agility หรือการปรับเปลี่ยนให้ทันการณ์ การปรับตัวแบบเชิงรุกพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เป็นการทำงานที่ต้องการความคล่องตัว โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เป็นยุคที่ความต้องการของคนเมืองเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ MEA จะต้องรวดเร็วและปรับเปลี่ยนได้ทันการณ์ N-New Ideas เป็นเรื่องการสร้างนวัตกรรมหรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ กล้าคิด ทำสิ่งใหม่ๆ และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้า G-Governance เป็นเรื่องความโปร่งใส การมีคุณธรรม ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความยุติธรรม เสมอภาคและเท่าเทียมในการให้บริการ E-Efficiency เป็นการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งมั่น ทุ่มเท เพื่อความสำเร็จของงานที่เกินกว่า  เป้าหมาย พร้อมสร้างคุณค่าต่างๆ คืนให้กับลูกค้า และสังคม “MEA มีการทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นระบบของการจัดการองค์กรที่มีความต่อเนื่องมาตลอด มีการวางยุทธศาสตร์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและดำเนินงาน ทีมผู้บริหาร ซึ่งอยู่ทีมเดียวกัน เห็นพัฒนาการ แผนพัฒนา ทิศทางและวิสัยทัศน์ขององค์กรมาโดยตลอด ผมจึงมีส่วนในการวางวิสัยทัศน์ร่วมกับผู้บริหารคนก่อนๆ สิ่งที่สำคัญ คือ สถานการณ์ทางธุรกิจและภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นเรื่องของผู้บริหารแต่ละท่านที่จะปรับปรุง พัฒนา นำกลยุทธ์ของตน นำองค์กรให้ผ่านการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย ตรงกับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้” วิลาศกล่าว
วิลาศ เฉลยสัตย์ ว่าที่ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA
วางยุทธศาสตร์ผ่าน Roadmap 3 ระยะ สำหรับยุทธศาสตร์ของ MEA ได้กำหนด Roadmap ไว้ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรกในปี 2563-2565 ที่มุ่งเน้นการเป็น Smart Energy ทั้งตัวระบบหรือ Smart System และงานบริการหรือ Smart Service โดย MEA มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสนับสนุนธุรกิจหลัก ด้วยการดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือเพื่อบริการลูกค้านอกเหนือจากการจำหน่ายไฟฟ้าที่เป็นธุรกิจหลัก ตลอดจนแสวงหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและพันธมิตรทางธุรกิจ ระยะที่ 2 ในปี 2566-2570 MEA จะใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรให้เป็น Innovative Utility โดย MEA อยู่ระหว่างดำเนินการสร้าง Innovation Hub เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ มีโครงการต้นแบบที่ได้คิดค้นขึ้น ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้ภายในองค์กร และในปีถัดไปจะมุ่งเน้นนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์และให้คุณค่าแก่ประชาชนผู้ใช้ภายนอก ระยะที่ 3 ในปี 2571-2580 MEA จะมุ่งสู่การเป็น Sustainable Utility โดยวางเป้าหมายในเรื่องผลประกอบการที่เติบโตอย่างยั่งยืน การดำเนินงานเพื่อสังคม ภายใต้หลักเกณฑ์ CSV หรือ Creating Shared Value เพื่อสร้างคุณค่าร่วม ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับกิจการ และการสร้างคุณค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันเพื่อความสำเร็จในระยะยาว “ในฐานะผู้นำองค์กร ผมมีหน้าที่นำพา MEA โดยใช้ Strong Leadership หรือความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งในการขับเคลื่อนองค์กร ไปสู่การเป็นพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร ซึ่งในช่วงภาวะการเปลี่ยนแปลงทั้งการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก COVID-19 ผู้นำองค์กรจะต้องมี Adaptive Leadership ต้องมีการปรับตัว เพื่อให้การดำเนินงานของ MEA ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้ คือ ต้องเร็ว ชัดเจน และมุ่งไปสู่ Smart Utility ในอนาคต” วิลาศกล่าว มุ่งสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ สำหรับนโยบายในการขับเคลื่อน MEA โดยทั่วไป MEA จะเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยพิจารณาความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า และเมกะเทรนด์ต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Decarbonization หรือการลดการปล่อยคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น Decentralization หรือการกระจายศูนย์ และ Digitalization หรือการมุ่งสู่ดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเข้ามาปรับรูปแบบการให้บริการของ MEA อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสถานการณ์ไม่คาดฝัน เช่น COVID-19 ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้การปรับตัวของ MEA ต้องเร่งดำเนินการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตใหม่หรือ New Normal และ Next Normal ของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบัน สังคมได้เปลี่ยนไปสู่สังคมไร้การสัมผัส หรือ Touchless Society การทำธุรกิจจากที่บ้าน การใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทำให้ MEA ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับกับพลวัตเหล่านั้น “เรื่องแรก คือ บริการของ MEA จะมุ่งสู่ดิจิทัล เพื่อตอบสนอง Touchless Society โดยจะพิจารณาจากสัดส่วนที่ผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งขณะนี้ คือ บ้านที่อยู่อาศัยที่เราจะต้องไปจัดการดูแลเป็นอันดับต้นๆ    ดังนั้น จึงมีกระบวนการการปรับเปลี่ยนการบริการ และปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้า เพื่อตอบสนองกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป” วิลาศกล่าว การปรับเปลี่ยนบริการให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค คือ การเพิ่มงานบริการออนไลน์ให้ครอบคลุม ทั้งบน Website (www.mea.or.th) และแอปพลิเคชั่นต่างๆ รวมถึงการปรับเปลี่ยนบริการ MEA สู่ระบบดิจิทัลทั้งหมดภายใต้นโยบาย Fully Digital Service ที่วางเป้าหมายไว้ในปี 2565 ผู้ใช้บริการสามารถดำเนินการต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชั่น MEA Smart Life ในโทรศัพท์มือถือโดยไม่ต้องเดินทางมายังสำนักงานของ MEA ทั้งเรื่องการขอใช้ไฟฟ้า การปรับเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าหรือการย้ายเครื่องวัดไฟฟ้า สามารถดำเนินการผ่านแอปพลิเคชั่น MEA Smart Life ตลอดจนช่องทางการติดต่อ MEA ผ่าน Line ในชื่อบัญชี MEA Connect ที่เข้ามาเสริมการให้บริการผ่านคอลเซ็นเตอร์ 1130 โดยปัจจุบัน MEA Connect มีผู้ใช้งานจำนวนกว่า 1.9 ล้านราย นอกจากระบบดิจิทัลในงานบริการ MEA ยังใช้เทคโนโลยีที่จะเข้าไปซ่อมแซมแก้ไขระบบไฟฟ้าให้รวดเร็ว  ยิ่งขึ้น โดยมีการบริหารงานภาคสนามที่เรียกว่า Field Force Management ที่รับข้อมูลจากการแจ้งเรื่องผ่านมาทาง Smart Life ซึ่งจะเข้าไปที่โอปะเรเตอร์ของ MEA จากนั้นระบบจะทำการเชื่อมกับแผนที่ GIS (Geographic Information System) หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของ MEA นำไปสู่การแก้ไขที่รวดเร็วขึ้น ถือเป็นอีกตัวอย่างที่ MEA ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิทัลเข้ามาให้บริการประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า การพัฒนานวตกรรมของ MEA ยังรวมถึง Smart Metro Grid หรือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่สื่อสารข้อมูลผ่าน Smart Meter ทำให้สามารถตรวจสอบไฟฟ้าดับแบบเฉพาะเจาะจงเป็นรายบ้านได้ การนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน และ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) หรือการควบคุมการสั่งการระยะไกลและการเก็บรวบรวบข้อมูล ซึ่งสื่อถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้า สำหรับวิถีแห่งโลกอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Decarbonization ที่เป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ในกิจการไฟฟ้า MEA มีนโยบายสนับสนุนพลังงานสะอาดหรือพลังงานสีเขียวที่เป็นพลังงานทางเลือกผ่านโครงการโซลาร์ประชาชนที่ MEA รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานโซลาร์ในราคา 2.20 บาทต่อหน่วย MEA จะยังคงดำเนินนโยบายสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง สนับสนุนการใช้รถอีวี (Electric Vehicle) หรือรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ผ่านการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานและการติดตั้งสถานีชาร์จตามสำนักงานสาขาของ MEA และความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในการติดตั้งหัวชาร์จสำหรับรถอีวีอีกด้วย ขับเคลื่อนองค์กรด้วย GIVE วิลาศกล่าวว่า เป้าหมายของ ​MEA ที่ได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ คือ การเป็นองค์กรที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งในฐานะผู้ว่าการ จะต้องขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายภายใต้วิสัยทัศน์ โดยกำหนดบทบาทผ่าน GIVE ที่ประกอบด้วย G-Good Partnership ประสานความร่วมมือทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร I-Inspiration to the Next Generation หรือการสร้างผู้นำยุคใหม่ให้เกิดขึ้น เนื่องจากองค์กรใหญ่ๆ ไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยซีอีโอหรือผู้นำเพียงคนเดียวได้ แต่ต้องมีผู้นำที่มีความเข้มแข็งอยู่ในทุกระดับ ต้องสร้างแรงบันดาลใจ สร้างความเข้มแข็ง ส่งเสริมให้ผู้นำกล้าตัดสินใจ V-Velocity เรื่องความเร็วในยุคปัจจุบันนี้ ความเร็วเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้ธุรกิจอยู่รอด ผู้นำองค์กรจะต้องหาวิธีที่ทำให้เกิดการตัดสินใจเร็ว มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวัดผล มีการติดตาม และรู้ความคืบหน้าของเรื่องต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในไมล์สโตนของความสำเร็จ E-Empowerment หรือการปล่อยอำนาจ กระจายอำนาจให้คนตัดสินใจ ในฐานะผู้นำองค์กร เมื่อให้อำนาจแก่บุคลากรในองค์กร เขาเหล่านั้นจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร มีส่วนร่วม และรักองค์กร ทั้งนี้ ก่อนเข้ารับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการ MEA วิลาศได้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการบริการระบบจำหน่าย ตำแหน่งรองผู้ว่าการกิจการองค์กรและสังคม ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการ (ธุรกิจและบริการ) และตำแหน่ง      ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า โดยเริ่มงานกับ MEA ตั้งแต่ปี 2533 ในตำแหน่งวิศวกรโครงการ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานระบบไฟฟ้าให้กับลูกค้าขนาดใหญ่ วิลาศจบการศึกษา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ Master of Science in Electricity Industry Management and Technology จาก ​University of Strathclyde ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันอายุ 55 ปี