คุยกับ ‘วิศรุต พุทธารี’ ในวันที่ความอุ่นใจถูกเติมเต็มด้วย Passion ของชีวิต
ภาพลักษณ์ของ วิศรุต พุทธารี อาจถูกครอบไว้ด้วยแนวคิดและมุมมองในการบริหารมาตลอด 20 ปี ก่อนจะลุกออกจากตำแหน่งรองผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ–ธุรกิจค้าปลีก บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานขายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทั้งค้าปลีกและค้าส่ง ที่ต้องรับผิดชอบยอดขายถึง 60% ของยอดขายรวมทั้งหมดของบริษัท แล้วย้ายมานั่งเก้าอี้ที่ปรึกษาและผู้ช่วยประธานกรรมการ โดยรับบทบาทใหม่เป็นผู้กำหนดทิศทางและวางเป้าหมายของบริษัททั้งระยะกลางและระยะยาว การขยับออกมาจากงานด้าน Operation ทั้งหมด ไม่แต่เฉพาะเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับบทบาทที่ท้าทายเขามากขึ้นเท่านั้น ที่ทำให้วิศรุตตัดสินใจสวมหมวกใบใหม่ แต่มันยังทำให้เขาเกิด Passion ใหม่ คือ "ผมอยากหาเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้น เป็นเป้าหมายที่ตั้งไว้" วิศรุต กล่าว
กล้าเดินในเส้นทางที่แตกต่าง
วิศรุต ได้เงินเดือนก้อนแรกจากการทำงานในตำแหน่งกราฟิกดีไซน์เนอร์ที่ ประกิต แอนด์ เอฟซีบี เอเจนซี่โฆษณาชื่อดัง หลังจบปริญญาตรีด้านกราฟิกดีไซน์และการถ่ายภาพที่ University of the Pacific จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นงานสายอาชีพที่เขาชื่นชอบในตอนนั้น และต่อมาเขาได้เลือกเดินเส้นทางใหม่ในสายการบริหารธุรกิจ จากจุดเริ่มต้นโดยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อด้าน MBA ที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพียงต้องการแตกหน่อความรู้ เพื่อสร้างความต่างให้กับชีวิต ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาตัดสินใจเลือกเดินบนเส้นทางใหม่จากสายอาชีพกราฟิก สู่สายการบริหารธุรกิจ โดยผันตัวเองมาทำงานที่บริษัท ไทยน้ำทิพย์ ตลอด 19 ปีที่ไทยน้ำทิพย์ เขาได้มีโอกาสทำงานที่หลากหลายในหลายแผนก ไม่ว่าจะเป็น ทั้งแผนกขาย แผนก Business Development แผนก Customer Service System ทำให้เขาได้สัมผัสในทุกขั้นตอนของสายงาน และมากไปกว่านั้น เขายังบอกว่า บทเรียนที่ได้รับขึ้นอยู่กับว่าใครจะได้อะไรกลับไประหว่างการทำงาน
“ผมสนุกกับการทำงานมาตลอด เพราะตัวธุรกิจมีความท้าทายต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยที่มีคู่แข่งรายใหม่ที่ต่อสู้กับเราด้วยบรรจุภัณฑ์พลาสติกในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ต้องวางกลยุทธ์เพื่อรักษาตำแหน่งเจ้าตลาดน้ำดำไว้จนสำเร็จ หรือการปรับรูปแบบการขายโดยส่งพนักงานขายไปรับออเดอร์ตามร้านขายส่งและร้านค้าปลีก จากเดิมที่ต้องบรรทุกเครื่องดื่มไปเร่ขาย มาเป็นการส่งพนักงานขายไปรับออเดอร์และนำสินค้าไปส่งในวันรุ่งขึ้น ทำให้ร้านค้าได้รับสินค้าที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น ซึ่งไทยน้ำทิพย์เป็นบริษัทเครื่องดื่มรายแรกที่ปรับเปลี่ยนวิธีการขายจนสำเร็จ"
ท้าทายตัวเองด้วยโจทย์ที่ยากยิ่งขึ้น
ด้วยจำนวนผู้เล่นในธุรกิจน้ำดำมีไม่มากนัก การฟาดฟันกันในแต่ละศึกแม่ทัพอย่างเขายิ่งต้องใช้สรรพกำลังและยุทธศาสตร์ที่แยบยลเพื่อชิงตำแหน่งเบอร์หนึ่งของตลาด และหากช่วงไหนเจอศึกที่อยู่นอกเกม มันยิ่งเป็นช่วงเวลาการทำงานที่วิศรุตบอกว่า “มันท้าทายมาก เราพยายามค่อยๆ สร้าง ค่อยๆ ปรับ ตั้งแต่กระบวนการทำงาน คน และวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจมาหลายสิบปี มีความคล้ายกัน คือ วัฒนธรรมขององค์กรอาจจะไม่เหมาะกับสภาพตลาดตอนนี้แล้ว จึงต้องปรับและพัฒนาไปไม่หยุดนิ่ง เราต้องเตรียมวางรากฐานและต้องใช้เวลา เพราะไม่สามารถทำสำเร็จได้ใน 1-2 ปี” หลายคนอาจ มองเป็นปัญหาแต่เขากลับมองเป็นเกมที่ยิ่งแข่งยิ่งแกร่ง
เมื่อปี 2554 เกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ เขามองว่าเป็นอีกเกมที่ท้าทาย ซึ่งหลายธุรกิจไม่เคยเตรียมแผนการณ์ตั้งรับไว้ แต่วิศรุตก็เป็นหนึ่งในทีมไทยน้ำทิพย์ วางแผนล่วงหน้าพร้อมรับมือป้องกันโรงงานจากภัยน้ำท่วม จนน้ำไม่ทะลักเข้าสู่บริเวณโรงงาน ทำให้ไทยน้ำทิพย์เป็นเพียงบริษัทเดียวที่มีสินค้าจำหน่ายและผ่านพ้นวิกฤตนั้นมาได้ แต่ไม่ทันได้นิ่งนอนใจ ปีถัดไปวิศรุตเจอโจทย์ใหม่ที่ท้าทายยิ่งกว่า เมื่อบริษัทคู่แข่งมีการแยกธุรกิจระหว่างเจ้าของแบรนด์และผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย จึงเป็นช่วงที่บริษัทต้องอาศัยจังหวะเร่งขยายทั้งการผลิตและครอบคลุมตลาดให้มากที่สุด เพราะเป็นโอกาสในช่วงที่คู่แข่งหายไปจากตลาด จึงต้องเข้าไปทดแทนให้ได้มากที่สุด
“เราได้แต้มต่อในช่วงที่คู่แข่งกำลังมีปัญหาภายใน ก็เร่งขยายทั้งการผลิตและการครอบคลุมตลาดให้มากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่เราปรับตัวใหญ่อีกครั้งประมาณปี 61 ครั้งนั้นเราได้มีการปรับเรื่องการบริการร้านค้า เพิ่มจำนวนพนักงานฝ่ายขายและบริการเพื่อให้เข้าถึงร้านค้าปลีกให้มากขึ้น ทำให้เราเริ่มมองเห็นความต้องการของลูกค้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น" และด้วยการตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้นั่นเองทำให้เขาชนะในเกม และยังครองตลาดน้ำดำจนทุกวันนี้
ความสำเร็จของชีวิตคือการมี “เวลาชีวิต”
จากการทำงานที่เขาทุ่มเทมาตลอดทำให้เขาพบว่า สิ่งที่หายไปคือ เวลา เขาจึงวางแผนกับเป้าหมายใหม่ที่มาพร้อมกับบทบาทใหม่ในฐานะที่ปรึกษา
"งานในตำแหน่งสุดท้ายก่อนขยับมาเป็นที่ปรึกษา เป็นงานที่ต้องดูแลด้านการขายทั้งหมด จึงทำให้มีเวลาให้กับครอบครัว ให้กับตนเองและงานอดิเรกน้อยลงในช่วง 4-5 ปีที่ทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เราจึงเริ่มวางรากฐาน วางแผนและส่งมอบงานร่วมกับหัวหน้างานจนเริ่มเชื่อมั่นแล้วว่า รากฐานที่สร้างไว้นั้นแข็งแรงพอ เราก็ขยับตัวออกมามองดูภาพรวมในฐานะที่ปรึกษา"
วิศรุต บอกว่า พอถึงจุดหนึ่งความท้าทายไม่ได้จำกัดแค่เกมในสนามการทำงานเท่านั้น เพราะโจทย์ที่ยากยิ่งกว่าสำหรับคนที่ขึ้นมายืนอยู่ในตำแหน่งเช่นเขา คือการหาความสมดุลย์ให้กับชีวิตตัวเอง กลายเป็นเกมที่ว่า ใครสามารถหาเวลาคืนให้กับชีวิตได้มากที่สุดโดยที่คุณยังต้องแบกความรับผิดชอบเหล่านั้นไปด้วย คุณก็จะชนะเกมนี้
สำหรับเขาแล้วการลุกมานั่งเก้าอี้ที่ปรึกษาทำให้เขาได้เวลาชีวิตคืนมา ไม่ใช่เพราะบทบาทน้อยลงแต่เขาวางแผนเกมนี้ไว้นานแล้ว หลังจากค้นพบว่า การคว้าชัยชนะในเกมการทำงานไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตที่เขาต้องการ เพราะเขาต้องแลกด้วยการเลิกทำในสิ่งที่รักและสิ่งที่สำคัญกับชีวิตมากมาย ทั้งการใช้เวลากับครอบครัวหรือกิจกรรมที่เขาชื่นชอบอย่างปั่นจักรยาน เป็นต้น
“การขยับตัวครั้งนี้มันทำให้ผมได้เวลาชีวิตคืนมา ผมเอาเวลาที่ได้มาไปคืนให้กับครอบครัวจริงๆ ก่อนหน้านี้ผมก็สร้างความสมดุลย์ระหว่างงานกับชีวิตระดับหนึ่งแล้ว วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ก็เลือกที่จะปั่นจักรยาน ซึ่งชื่นชอบและจริงจังถึงขึ้นตั้งเป้าจะปั่นให้ได้ 80-100 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 200-300 กิโลเมตรต่อเดือน มีเวลาสัก 30-45 นาทีหลังเลิกงานผมก็จะหาเวลาออกกำลังกาย จนหลัง ๆ เริ่มไม่ค่อยมีเวลา ความรับผิดชอบมากขึ้นก็ส่วนหนึ่ง แต่พอเหนื่อยมากๆ ก็เริ่มค่อยๆ ทิ้งห่างมันไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็มาคิด....เราไม่ได้ต้องการชีวิตแบบนี้ นั่นก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่่เราเริ่มวางรากฐานอะไรหลายๆ อย่างเพื่อแลกกับเวลาส่วนตัวและเวลาที่ให้กับครอบครัวมากขึ้น"
วิศรุต ยังเล่าต่อว่า นอกจากเขาจะมีเวลาปั่นจักรยานมากขึ้น ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น เวลาที่ได้กลับมาทำให้เขาได้อยู่กับความคิดตัวเองมากขึ้น จนค้นพบงานอดิเรกอื่นๆ และสิ่งที่อยากทำอีกมากมาย
“ผมเป็นคนชอบกิน เวลาไปทำงานต่างจังหวัดพนักงานขายแนะนำร้านไหนอร่อยต้องตามไปกิน จนกลายเป็นคนชอบทำอาหาร เพราะบางอย่างหาซื้อไม่ได้ก็อยากทำเอง ยิ่งช่วงโควิดนี้พอมีเวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้นก็เริ่มเข้าครัวมากขึ้น"
งานอดิเรกอีกอย่างหนึ่งที่เขาสะสมเป็นสินทรัพย์ทางใจคือ “รถยนต์” เขาชอบถึงขนาดที่ว่า ลงมือซ่อม ขัดสี และดูแลรถยนต์ของเขาอย่างดีด้วยตัวเองตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลย หาความรู้จากการอ่านหนังสือ จากอินเตอร์เน็ต ยูทูป จนกลายเป็นทักษะติดตัวมาถึงวันนี้
“Porsche น่าจะเป็นรถที่ผมชื่นชอบมากที่สุด แต่ถ้าถามว่ารุ่นไหนทำให้ชอบการขับรถ ก็ต้อง Honda Integra เป็นรถที่ผมขับช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัยที่สหรัฐ เป็นรถคันเล็กแต่ขับสนุกมาก ผมเคยลงขับ Autocross ช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ซึ่งถือเป็นสนามที่ทำให้เราได้ฝึกและทดสอบฝีมือ และทำให้รู้ว่าทักษะการขับรถมันมีเรื่องให้เรียนรู้อีกมาก"
จากความสำเร็จที่ได้เวลากลับคืนมา แต่ก็ยังต้องการเครื่องมือที่ทำให้ “เวลาชีวิต” สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
เมื่อในวันนี้ เขาสำเร็จจากการบริหารเวลา มีเวลากับชีวิตได้มากขึ้น เป้าหมายของเขาก็ยังไม่หยุดแค่นี้ ยังคงวางแผนตั้งเป้าหมายเรื่องการเงิน และการลงทุน เพื่อเติมเต็มชีวิตให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หากถามว่าอะไรคือเคล็ดลับที่ช่วยให้การเชื่อมต่อกับเป้าหมายนี้สำเร็จได้ วิศรุต บอกว่า คุณต้องมีพาร์ทเนอร์ที่ดีและเครื่องมือที่ช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น
"ด้วยความเป็นคนที่ชอบวางแผน และวางเป้าหมายใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อความท้าทาย จากการทำงานก่อนหน้านี้ที่ไม่ค่อยมีเวลา และยังต้องมีเวลาให้กับครอบครัว และงานอดิเรกที่ชื่นชอบอย่างการขับรถยนต์ ผมยังมีเป้าหมายเพื่อการต่อยอดการเงินและการลงทุน พร้อมทั้งหาเครื่องมือที่ช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ด้านอื่นๆ ได้ด้วย ซึ่งการมีตัวช่วยที่ดีอย่าง ttb ที่เขามีการพัฒนาไปมากทั้งในแง่ของ Retail banking มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เรื่องการเงินหลากหลาย อย่างเช่นผมสนใจบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูง ก็มีบัญชีทีทีบี โนฟิกซ์ ที่ตอบโจทย์ และเรื่อง Mobile banking ก็สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ผ่าน ttb touch ได้สะดวกขึ้นเยอะมาก ทำให้เราทำอะไรได้รวดเร็วขึ้น ผมสามารถโอนเงินค่าเล่าเรียนให้ลูกที่ต่างประเทศได้เองเลย และสำหรับอีกหนึ่งตัวช่วย ttb reserve ที่ผมมองว่าเป็นตัวช่วยเชื่อมต่อไลฟ์สไตล์ทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุน เพราะมี Private Wealth Advisor คอยดูแลให้คำแนะนำทั้งเรื่องสภาพตลาด และการลงทุนในกองทุนต่างๆ ทำให้ผมสามารถบริหารการลงทุนได้อย่างลงตัวไปพร้อมๆ กับการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีโปรโมชันพิเศษต่างๆ มากมาย อย่างโปรโมชันร้านอาหาร Fine dining ที่ให้เครดิตเงินคืนถึง 50% นับว่าสูงมากในตลาดบัตรเครดิต และยังมีเรื่องการซื้อของออนไลน์ที่ได้รับคะแนน 2 เท่า ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน นับว่าเป็นสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่ามากๆ และที่ชอบที่สุดคือ การได้คะแนนรายปีที่ให้มาพร้อมกับบัตร และให้ทุกๆ ปี ให้เราเอาคะแนนไปแลกเป็นสิ่งที่เราต้องการได้ตามที่เราชอบ และมีอายุคะแนนนานถึง 4 ปี รวมถึงอีกหนึ่งบริการที่เหมาะกับคนรักรถอย่างผม คือ Roadside assistance บริการช่วยเหลือฉุกเฉินหากรถมีปัญหา อย่างน้อยก็อุ่นใจมากขึ้นว่ามีคนคอยอยู่เคียงข้างและดูแลเราตลอดเวลาที่เราต้องการ เหมือนมีคนคอยดูแล เอาใจใส่ รู้สึกง่าย สะดวก และปลอดภัย ทำให้ ttb reserve เป็นพาทเนอร์ที่ช่วยต่อยอดเป้าหมายที่ผมวางไว้ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นได้”
TAGGED ON