โจทย์สองด้านของ SAPPE - Forbes Thailand

โจทย์สองด้านของ SAPPE

ท่ามกลางความเงียบเหงาของทุกภาคส่วนนับเป็นเรื่องยินดีว่ายังมีบางบริษัทที่แม้ได้รับผลกระทบบ้าง แต่ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปโดยปกติ ไม่มีการเลย์ออฟพนักงาน และปรับเงินเดือนให้ นั่นคือ SAPPE

SAPPE คือ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มและอาหารเพื่อสุขภาพที่มุ่งเน้นนวัตกรรม ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ 5 กลุ่มหลักประกอบด้วยเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความงาม เช่น Sappe Beauti Drink, B’lue ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มน้ำผลไม้ทั้งมีและไม่มีชิ้นเนื้อ เช่น Sappe Aloe Vera, all coco ผลิตภัณฑ์ประเภทผงพร้อมชงเพื่อสุขภาพและความสวยงาม เช่น เพรียว คอฟฟี่, เพรียว สลิมฟิต และกลุ่มขนมเพื่อสุขภาพ เช่น เจลลี่เพื่อสุขภาพและความงาม Sappe Beauti Jelly, ขนมปลาย่างอบกรอบ ZEA Max, ขนมผลิตจากคางกุ้ง Chim Dii และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม เช่น เพรียว คอฟฟี่ แบบกระป๋อง ปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE กล่าวถึงสถานการณ์ปีที่ผ่านมาว่าค่อนข้างที่จะโชคดี ได้รับผลกระทบเพียงบางส่วน ไม่เลวร้ายถึงขั้นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ “โควิด-19 impact ทุกธุรกิจ ปกติเจอแค่โจทย์ทางธุรกิจจะแก้ไขและปรับตัวอย่างไร แต่ crisis ครั้งนี้เป็นโจทย์สองด้าน คือ 1. ธุรกิจที่เราต้องประคับประคอง 2. ความเป็นอยู่ของพนักงาน และผู้คนที่เราต้อง concern มากขึ้น ในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงาน เราให้ความใส่ใจอย่างมากในเรื่อง safety, preventive โควิด protocol เราเป็นไงบ้าง โดยเฉพาะเราเป็นโรงงานผลิตเครื่องดื่ม อาหาร ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษให้ผู้บริโภค safety เราต้องปรับตัวเยอะมาก เพื่อให้อาหารและเครื่องดื่มที่ deliver สู่ผู้บริโภคอย่างปลอดภัย “การจำหน่ายในประเทศเราปรับตัวเยอะมากๆ ช่วงล็อกดาวน์ทำอย่างไรให้สินค้าถึงมือลูกค้ามากขึ้น ให้ผู้บริโภคมาดื่ม เรื่อง communication ก็สำคัญ แผนมาร์เก็ตติ้งมีการปรับตัวอย่างมาก เน้นขายทางออนไลน์มากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มของมาร์เก็ตเพลสหรือเซปเป้ออนไลน์” เนื่องจากรายได้มาจากการส่งออก 50-60% โจทย์อีกข้อคือ ทำอย่างไรให้สินค้าส่งถึงมือผู้บริโภคต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งมีทั้งเอเชีย ยุโรป อเมริกา “ตลาดต่างประเทศมี lead time ส่งของเข้าประเทศ บางประเทศปิดท่าเรือช่วงล็อกดาวน์ ยิ่งช่วงนี้มีวิกฤตสายเรือที่ไม่ค่อยมีด้วย ค่าเรือแพงขึ้นทำอย่างไร เราต้องแพลนค่อนข้างเยอะมาก ในการปรับตัวว่า ทำอย่างไรให้สินค้าไปอยู่ในมือลูกค้าไปอยู่บนเชลฟ์ โดยไม่ขาดสต็อก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SAPPE เปิดเผยถึงรายได้ปีที่ผ่านมาว่า ยอดขายลดลงร้อยละ 5-7 และไตรมาสแรกของปี 2564 ติดลบเล็กน้อยแต่ประเมินว่าปีนี้ยังมีการเติบโต เพราะบริษัทมีตลาดหลายประเทศ บางประเทศสถานการณ์เริ่มฟื้นกลับมาจากการระบาดของโวรัสโคโรนาบ้างแล้ว “เรามีตลาดบางประเทศที่ยังไปได้ดีส่วนในประเทศพยายามมีสินค้าใหม่ เพื่อทำให้ตลาดมีสีสันมากขึ้น เป็นความโชคดีเราอยู่ใน sector อาหาร เครื่องดื่ม ซึ่งยังเป็นสิ่งจำเป็นบางส่วนสำหรับ consumer” ในส่วนของพนักงาน บริษัทคำนึงถึงความปลอดภัย จึงให้ทำงานที่บ้านตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่มีการระบาด รวมทั้งให้การสนับสนุนทั้งเทคโนโลยี ไอที เพื่อให้สามารถทำงานที่บ้านสะดวกขึ้นและยังดูแล “จิตใจ” ของทีมงาน โดยฝ่ายบุคคลเพิ่งเปิดสายฮอตไลน์ ให้พนักงานโทรเข้ามาปรึกษาปัญหาหรือคลายเครียด เนื่องจากการทำงานและต้องอยู่บ้านตลอด 24 ชั่วโมง บางคนอาจไม่คุ้นชิน “เรา support เต็มที่เพื่อให้บุคลากรสามารถมี peace of mind สายฮอตไลน์เพิ่งเปิดช่วงโควิด ตอนนี้เรามี Line Chat รวบรวม activity ของบริษัท ใครอยากเขียนหรือพูดคุยอะไรทำได้หมด เราเชื่อว่าการทำงานที่บ้านอาจมีความเครียด ไหนจะลูก สามี ภรรยา ต้องอยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมง” และว่า “สิ่งที่เราปรับปรุงมีแผนระยะสั้น ระยะยาว หรือ purpose บริษัทคืออะไร เรามี mission ขององค์กรคือ ทำให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้น...สิ่งที่เราทำคือ 1. พนักงานต้องมีชีวิตดีขึ้นเรา preventive, encourage จัดหาวัคซีนให้พนักงาน พยายามให้ทุกคนได้รับวัคซีนเร็วที่สุด 2. consumer เราอยาก deliver สินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อเขามากขึ้น เราเป็นบริษัททำ functional food และ functional drink พยายาม encourage การกินหรือดื่มผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง เรามองว่าเราน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยคนรอบข้างอย่างน้อยก็ให้มีชีวิตดีขึ้น” ในตอนท้ายปิยจิตกล่าวถึงบทเรียนที่ได้รับจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2563 ว่า “โควิดคงอยู่กับเราไปอีกนาน เราต้องอยู่กับมันให้ได้ เรา respect ชีวิตของตนเองมากขึ้น มันมี lesson ให้เรา learn เราคิดมาตลอดว่ามนุษย์ทำอะไรได้ทุกอย่าง แต่สิ่งเล็กๆ อย่างไวรัสสามารถ disrupt ได้ ไม่ว่าเราจะใหญ่แค่ไหน สิ่งเล็กๆ สามารถทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนได้ แม้แต่ธุรกิจเราก็ตาม สมมติเราเป็นองค์กรเล็กๆ อย่าคิดว่าไม่สามารถ disrupt อะไรได้ ยังสามารถ disrupt การใช้ชีวิตของคน หรือ whatever ที่ทำได้ “โลกมีความเปลี่ยนแปลงเยอะ ชีวิตเราอยู่ในความเสี่ยงตลอดเวลา หากมีอะไรที่สำคัญควรจะทำก่อน การใช้ชีวิตเหมือนพุทธศาสนาที่บอกว่า ทุกอย่างไม่แน่นอน อะไรที่คิดว่าทำแล้วมีประโยชน์ก็ควรรีบทำ ทำแล้วมีความสุขและไม่เบียดบังคนอื่นก็รีบทำ ไม่จำเป็นต้องรอให้เกษียน หรืออีก 2 ปีแล้วค่อยทำ” ภาพ: กิตติเดช เจริญพร และ SAPPE
คลิกอ่านฉบับเต็ม และบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนสิงหาคม 2564 ในรูปแบบ e-magazine