ยนตรกรรมไฟฟ้าของจีนรุดหน้ากว่าหลายประเทศ มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้า 100% หรือ BEV เป็นรองเพียงแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าไฮเทคจากอเมริกา แต่หากนับรวมรถไฟฟ้า แบบปลั๊กอินไฮบริด BHEV จีนครองอันดับ 1 ของโลกในปี 2565
ราวกลางเดือนเมษายน ปี 2566หลังเทศกาลสงกรานต์ไม่นานผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ดัง BYD นำทัพสื่อมวลชนไทยกว่า 50 ชีวิตเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตโรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานแบตเตอรี่ อาณาจักรของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ของจีน ที่ตระกลู พรประภานำเข้ามาทำตลาดและทำยอดขายถล่มทลายเมื่อกลางปี 2565 ที่ผ่านมา
งานนี้ ประธานวงศ์ พรประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด แวะมาทักทายสื่อมวลชนเพียงเวลาสั้นๆ หลังสิ้นสุดการเยี่ยมชมโรงงานต่างๆ ของ BYD ด้วยเหตุที่ว่าอยากให้สื่อได้เห็นความยิ่งใหญ่ของ BYD ที่จีน ซึ่งเป็นอาณาจักรการผลิตที่ยิ่งใหญ่ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนหลังจากค่ายรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 รายนี้ประกาศเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานในไทยเมื่อเดือนกันยายน ปี 2565
โดยเมื่อวันที่ 8 กันยายน ปี 2565 BYD ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายที่ดิน 600 ไร่ กับ บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียลดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือ WHA Group เพื่อลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งไฟฟ้าพวงมาลัยขวาที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่ดินแปลงนี้อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม WHA ระยอง 36 และคาดว่า จะเรื่ม การผลิตรถยนต์ไนปี 2567ด้วยการลงทุนกว่า 17,900 ล้านบาท ซึ่งจะมีกำลังการผลิต 150,000 คันต่อปี เพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนและยุโรป
รถไฟฟ้าอันดับ 1 โลก
การประกาศลงทุนโรงงานนอกจีนของ BYD เรียกความสนใจได้มากพอสมควร ด้วยความที่ BYD เป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลกที่มียอดขายเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อ้างอิงข้อมูลจาก EV Volumes ระบุยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ BEV และรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด BHEV รวมทั้ง 2 ประเภท BYD ถือว่ามียอดขายอันดับ 1ของโลกด้วยตัวเลขกว่า 1.8 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 211% แบ่งเป็น BEV จำนวน 1 ล้านคัน และ BHEV กว่า 800,000คัน รองลงมาเป็น Tesla จำหน่ายรถ BEV อย่างเดียวเกือบ 1.4 ล้านคัน อันดับ 3 เป็น VW Group จำหน่ายทั้ง BEV, BHEV รวมกว่า 800,000 คัน อันดับ 4 GM incl. Wuling ขายได้กว่า 600,000 คัน ส่วนใหญ่เป็น BEV และอันดับ 5 Stellantis ขายได้เกือบ 590,000 คัน เป็น BEV และ BHEV อย่างละครึ่ง
จะเห็นว่า BYD เป็นเจ้าตลาดยนตรกรรมไฟฟ้าในปัจจุบันอย่างแท้จริง ฐานผลิตใหญ่อยู่ในประเทศจีน ทั้งสำนักงานใหญ่ โรงงานประกอบ โรงงานผลติ และโรงงานแบตเตอรี่ BYD เป็นบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงที่ทุ่มเทวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าค่ายดังแห่งนี้มีอายุเพียง 28 ปีเท่านั้น หลังจากก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2538 และเติบโตอย่างรวดเร็ว ในรอบกว่า 2 ทศวรรษมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ พลังงานใหม่ และการขนส่งทางรถไฟ ตั้งแต่การผลิต และกักเก็บพลังงานไปจนถึงการใช้งาน
นอกจากนี้ BYD ยังทุ่มเทให้กับการจัดหาโซลูชันด้านพลังงานที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ตอบโจทย์โลกในเรื่องของความยั่งยืนและพลังงานสีเขียว BYD จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและ Shenzhen มีรายได้และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเกินกว่า 1 แสนล้านหยวน (ราว 5 แสนล้านบาท)
BYD ถือกำเนิดมาในฐานะบริษัทยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้า นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ชีวิตผู้คนให้ดีขึ้น ดังนั้น พันธกิจของแบรนด์ จึงกำหนดไว้ว่า “นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น” โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงอาทิตย์มาเป็นตัวขับเคลื่อนในช่วงกลางวันโซลาร์ฟาร์มจะดึงเอาพลังของแสงแดด ในเวลากลางคืนระบบกักเก็บพลังงานจะส่งพลังงานให้กับครอบครัวรถยนต์ไฟฟ้าตามท้องถนน และระบบ skyrail ตามสายสีเขียวเชื่อมต่อเมืองด้วยการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น อนาคตพลังงานใหม่เป็นภารกิจของ BYD และความฝันสีเขียวของมวลมนุษยชาติด้วย Technology Green Future BYD
โดยการพัฒนาของรถยนต์พลังงานใหม่ด้วย 3 เทคโนโลยี ได้แก่ แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า และระบบควบคุมไฟฟ้า BYD เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของโลกที่มีความเชี่ยวชาญและทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มรูปแบบในเทคโนโลยีหลัก 3 ประการของ EV ได้แก่ แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้าและระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2561BYD ดำเนินการเพื่อให้ได้กำลังการผลิตแบตเตอรี่ที่ 28 GWh ต่อปี ทำให้เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าชั้นนำของโลกการเยี่ยมชม BYD ครั้งนี้เริ่มต้นที่สำนักงานใหญ่ที่เมือง Shenzhen สำนักงานแห่งนี้มีพื้นที่หลายพันไร่ อาณาจักร BYD เป็นสำนักงานและโรงงาน จะเรียกว่าเมืองอุตสาหกรรมก็ไม่ผิด แต่ทว่าเป็นเมืองของ BYD ที่ตั้งสำนักงานงานมีโถงจัดแสดงประวัติความเป็นมาและเทคโนโลยีต่างๆให้ผู้มาเยือนได้สัมผัส รวมถึงรถต้นแบบBYD คันแรก
ในบริเวณเดียวกันยังเป็นที่ตั้งโรงงานผลิตขนาดใหญ่ มีรถไฟฟ้าแบบโมโนเรล (Sky Shutter) วิ่งให้บริการภายในอาณาบริเวณสำนักงานและโรงงาน เป็นเส้นรอบวงความยาว 3 กิโลเมตรไว้คอยบริการพนักงานภายใน ซึ่งอาณาจักรแห่งนี้ถือเป็นสำนักงานระดับนานาชาติของ BYD ที่คอยต้อนรับผู้มาเยือนให้ได้สัมผัสถึงความยิ่งใหญของโรงงานผลิตรถยนตไฟฟ้า อันดับ 1 ของโลกทที่มีอายุกิจการเพียง 28 ปี แต่สามารถครองเจ้าตลาดยนตรกรรมไฟฟ้าโลกได้อย่างชัดเจน
ผลิตครบวงจร
ความยิ่งใหญ่ที่สัมผัสได้จากการมาเยือนโรงงาน นอกจากขนาดโรงงานที่ใหญ่แล้วระบบนิเวศในการผลิตยนตรกรรมไฟฟ้า
ที่ครบวงจรคืออีกหนึ่งความใหญ่ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทำไม BYD ถึงก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1ของโลกในด้านรถไฟฟ้าได้เพียง 2 ทศวรรษ เพราะฐานผลิตที่แข็งแรงและเครือข่ายการผลิตที่ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ แผงวงจรควบคุมระบบไฟฟ้า แบตเตอรี่ และตัวรถ ทุกอย่างมีครบใน BYD
วันที่เยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ทัพสื่อมวลชนยังมีโอกาสได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตแบตเตอรี่ และการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของแบตเตอรี่ เทคโนโลยีที่เรียกว่า Blade Battery ซึ่งมีความปลอดภัยสูง แม้ถูกกระแทกแรงขนาดไหนก็ไม่มีการระเบิดนี่เป็นอีกหนึ่งจุดแข็งที่เหนือคู่แข่ง
หลังจากเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ และโรงงานแบตเตอรี่แล้ว ในวันรุ่งขึ้นทีมงานได้นำทัพสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมโรงงานประกอบ BYD ที่เมือง Changsha เป็นโรงงานที่ทันสมัยใช้แรงงานคนพอประมาณการผลิตทำได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ทำให้เห็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยียนตรกรรมไฟฟ้า ไม่แปลกใจเลยที่แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนแบรนด์นี้ก้าวสู่อันดับ 1 ของโลกด้วยความพร้อมของการผลิตที่ครบวงจรส่งต่อกันอย่างราบรื่นและรวดเร็ว กำลังการผลิตตอบรับความสามารถในการสร้างการยอมรับและยอดขายที่สูงเป็นอันดับ 1ของโลกได้อย่างลงตัว
ไม่เพียงเท่านั้นเครือข่ายธุรกิจของ BYDมีครอบคลุมหลากหลาย ตั้งแต่รถยนต์โดยสารไฟฟ้า (passenger vehicles)บรรยากาศบริเวณโรงงานและสำนักงานใหญ่ BYD ที่เมือง Shenzhen เป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดย่อมและตัวสำนักงานใช้เป็นโชว์รูมนำเสนอประวัติความเป็นมารถไฟฟ้า BYD กับเส้นทาง 28 ปีสู่รถไฟฟ้าที่ขายดีอันดับ 1 ของโลก
รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ (commercial vehicles) รถไฟฟ้าระบบราง (rail transit) แบตเตอรี่ และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีทั้งโซลูชัน, แอปพลิเคชัน และเทคโนโลยี ด้วยความพร้อมเหล่านี้ทำให้อาณาจักร BYD ครองเจ้าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าโลกได้อย่างแข็งแกร่งในวันที่เยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ผู้บริหาร BYD ประจำสำนักงานใหญ่ออกมากล่าวต้อนรับสื่อไทยและนำชมสถานที่สำคัญและโถงนิทรรศการที่น่าสนใจ บอกเล่าประวัติความเป็นมา ความมุ่งมั่น และความอลังการของสำนักงานสากลแห่งนี้
ขณะเดียวกันผู้บริหาร BYD จีนย้ำว่าโรงงาน BYD แห่งแรกนอกจีนคือ โรงงาน ล่าสุดที่ EEC ประเทศไทย เขาอธิบายว่าการเลือกที่ตั้งโรงงานก็มีหลายเรื่องราว BYD คิดว่าทุกช่วงที่เข้าตลาดไทยทุกๆ รุ่นต้องมีวันที่ประสบความสำเร็จได้ และพิสูจน์ได้จากยอดขายที่กลับมาเขาเล่าว่า ปีที่แล้วเปิด ATTO 3 วันที่ 1 เดือน 7 มีคนรอคิวค้างคืนจองรถ BYDกระจายไปทั่วประเทศไทยและทั่วโลก เป็นภาพที่สื่อถึงโปรดักต์และแนวคิดกับโซเชียลและนำไปสู่การยอมรับ การสร้างสังคมรถยนต์ไฟฟ้า สังคมสีเขียวคือนโยบายของบริษัท แต่ลำพังบริษัทเดียวไม่พอ ทุกคนควรร่วมกันสร้างสังคมสีเขียว โดย BYDหวังว่าการพัฒนาเมืองไทยจะขยายไปทั่วอาเซียน
ไทยตอบรับเกินคาด
ขณะที่ตลาดในไทยเปิดรับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างชัดเจน ยอดขายที่ทำได้ถล่มทลายกว่า12,000 คัน และสามารถส่งมอบได้ภายในเวลารวดเร็วเกิดคาดหมาย ทำให้ตลาด BYD ในไทยคึกคัก แน่นอนเมื่อส่งมอบรถได้จำนวนมากการใช้ก็มากตามไปด้วย มีประเด็นการเรียนรู้การใช้งานผลิตภัณฑ์ตามมาอย่างมากเช่นเดียวกัน
หลังจากเยี่ยมชมโรงงานครบ 2 วัน ในวันที่ 3 คณะสื่อมวลชนจากไทยได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมงาน Shanghai InternationalAutomobile Industry Exhibition หรือเซี่ยงไฮ้ ออโต้ โชว์์ 2023 ที่นคร Shanghaiซึ่งงานนี้แน่นอนรถยนต์ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่โดดเด่น บูธ BYD จัดแสดงรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่น เช่นเดียวกับค่ายรถนานาชาติมาร่วมงานอย่างคึกคัก แต่สีสันและไฮไลต์หลักยังคงเป็นยนตรกรรมไฟฟ้าจากจีนที่ครองพื้นที่แสดงงานอย่างโดดเด่น หลายบูธในพื้นที่จัดแสดงซึ่งกว้างเท่ากับชาเลนเจอร์ 8 ฮอลล์ ต้องบอกว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ต้องใช้เวลาทั้งวันกว่าจะชมครบทุกฮอลล์
หลังชมงานในช่วงสายไปถึงช่วงค่ำ ได้เวลาที่ผู้บริหารไทย ประธานวงศ์ พรประภา แวะเข้ามาทักทายพูดคุยกับสื่อไทยในงานเพียงเวลาสั้นๆ ราว 1 ชั่วโมง แต่เขาก็ได้บอกเล่าประสบการณ์น่าสนใจในการทำตลาด BYD ในไทย เริ่มตั้งแต่ทำอย่างไรถึงได้แบรนด์นี้เข้ามาจำหน่าย “เขาเคยเข้ามาไทยหลายครั้งแต่ยังไม่ลงเอยกับใครสักที จนกระทั่งเราได้มีโอกาสคุยและได้นำเข้ามา” ประธานวงศ์เริ่มต้นเล่าที่มาสั้นๆเมื่อครั้งดีลแบรนด์เข้ามาในไทยได้สำเร็จนั่นคือเมื่อกลางปี 2565
หลังจากนั้นราวต้นไตรมาส 3 ของปี 2565ก็เริ่มเปิดขาย สิ่งที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมายเพราะยอดจองมีเข้ามาเกินกว่า 10,000 คันแต่ที่สำคัญไปกว่านั้นบริษัทสามารถส่งมอบรถได้ถึง 12,000 คันภายในเวลาไม่กี่เดือน “ผมคาดว่าจะใช้เวลาสัก 4-5 เดือน แต่เปล่าเลยทุกอย่างมาเร็วมาก ขายใน 42 วันและจีนก็ส่งมอบรถได้อย่างรวดเร็ว” เขาเล่าพร้อมรอยยิ้มจางๆ เพราะนี่คือความสำเร็จที่มาพร้อมข้อคำาถามตามมามากมายหลังจากนั้น
“เราส่งมอบได้ 10,000 คันภายใน 2 เดือนเดือนแรกอย่างเดียวมีเคสชนเข้ามา 14 เคส ไม่รู้เพราะรถเราแรงหรือรถเราห่วย” เขาเล่า ติดตลก แต่มันอาจเป็นเพราะความเร็วปรู๊ดปร๊าดของรถไฟฟ้าทำให้การขับขี่เร็วกว่ารถสันดาปทั่วไป แต่นี่ก็เป็นปัญหาที่ต้องปรับตัว ทั้งเรื่องอะไหล่ที่ต้องเตรียมพร้อมและบริการที่ต้องรวดเร็ว
ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
BYD ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่อยากใช้รถไฟฟ้า เพราะรถรุ่น ATTO 3 ที่นำเข้ามาไม่ใช่ตลาดแมส แต่ก็อยู่ในระดับกลางๆสูงกว่าแมสขึ้นมาแต่ตัวรถใส่ความลักชัวรี่ต่างๆ เข้าไป ทำให้คุ้มค่ามีราคา “ไม่ได้แพงเกินไป แต่ใน segment เขาไม่ใช่รถที่ถูกแน่นอน แล้วก็ไม่ใช่รถที่แพงที่สุด แต่เขาคุ้มที่สุดคือจุดยืนของ BYD” ซีอีโอ เรเว่ ออโตโมทีฟ ยืนยันพร้อมย้ำว่า จุดยืนนี้ตรงกับความต้องการผู้บริโภคจึงทำให้การตอบรับดี
“BYD ไม่ใช่บริษัทที่ทำรถถูกที่สุด แต่เป็นรถที่คุ้มที่สุดในราคาระดับกลาง ATTO เป็นรุ่นที่ขายดีที่สุด” ประธานวงศ์ย้ำและเขายังบอกด้วยว่า การคุยกับค่ายรถจีนถ้าไม่ใช่ BYD น่าจะเหนื่อย การยอมรับมาตรฐานต่างๆ BYD ก้าวข้ามความเป็นจีนไปสู่มาตรฐานสากลที่ส่งออกไปนอกตลาดจีนได้แล้ว
อย่างไรก็ตามในแง่โปรดักต์มีความเป็นสากล ส่วนในแง่การทำงานประธานวงศ์บอกว่า ระดับบริหารมีความเป็นสากลพูดคุย
เข้าใจง่าย เข้าใจดี และมีความรวดเร็ว แต่ในระดับปฏิบัติงานมีติดขัดบ้างในบางข้อรายละเอียดงานแต่ไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ “มีติดขัดบ้างเรื่องเอกสารเรื่องอะไรมีปวดหัวนิดนึง แต่ว่าตัวผู้บริหารไม่ติดเลย เป็นอินเตอร์แล้ว” ซีอีโอ เรเว่ ออโตโมทีฟ ยืนยัน
เขายังบอกด้วยว่า ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจีนรายนต์ต้องการไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ทั้งที่จริงๆ เขาสามารถแซงคนอื่นไปแล้วแต่ก็ยังรู้สึกว่าต้องให้ได้เร็วกว่านี้อีก “ผมมองว่าอาจเป็นเพราะก่อนหน้านี้เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีใครๆ จะนึกถึงญี่ปุ่นพอจีนก้าวขึ้นมานำก็อยากทิ้งห่างให้มากที่สุด” ความจริงก็คือ ทุกวันนี้ใครๆ ก็รู้ว่า เทคโนโลยีจีนรุดหน้าไปกว่าคนอ่นื แล้ว แต่เขาก็ยังมีความรู้สึกทำนองนั้นอยู่ อย่างไรก็ตามการทำงานกับจีนไม่มีปัญหา “เราบอกว่าอย่างนี้ได้แต่นาน อย่างนี้ไม่ได้นะอย่างงั้นไม่ควร เขาก็ฟัง ถ้าเป็นคนอื่นเขาอาจจะไม่ฟังเราก็ได้ เขาใหญ่ขนาดนั้นแล้ว” แม่ทัพเรเว่อธิบายวิธีการทำงานที่เขารู้สึกว่าได้รับความไว้วางใจ พาร์ตเนอร์รับฟังความคิดเห็นและเชื่อถือ
เขายกตัวอย่างกรณีปัญหาเรื่องจานเบรกมีปัญหา พอแจ้งไปที่ BYD ตอนบ่ายวันรุ่งขึ้นได้คำตอบกลับมาพร้อมอธิบายชี้แจงว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งจุดนี้ถือว่าตอบสนองเร็วต่างจากค่ายรถอื่นที่เคยร่วมงานมา ซึ่งมักไม่ยอมรับความบกพร่อง “แต่คนจีนของ BYD รับฟัง เรารับแล้วก็ไปศึกษาหาคำตอบมาให้ด้วย” ไม่เพียงหาคำาตอบแต่ยังให้รายละเอียดปัญหาอย่างครบถ้วน พร้อมส่งหลักฐานการเทสเอกสารทุกอย่างมา ทั้งหมดนี้ตอบสนองเสร็จภายใน 3 วัน “เขาไปหาตัวเลยว่ามันผิดพลาดตรงไหน ขั้นตอนไหน โรงงานผลิตพอครบ 3 วันส่งจานเบรกทั้งหมดขึ้นเรือมาหาเราเลย”
เมื่อถามถึงการตลาด ซีอีโอเรเว่บอกว่า “ตอนนี้ก็มียอดจองเข้ามาเรื่อยๆ ยังเป็น ATTO อย่างเดียว แต่เดี๋ยวต่อไปก็จะมี Dolphin เข้ามาก็รอดูตลาดกันอีกครั้ง” จบการพูดคุยเพียงสั้นๆ ในช่วงอาฟเตอร์ปาร์ตี้หลังงานเซี่ยงไฮ้ ออโต้ โชว์ที่แสดงศักยภาพค่ายรถยนต์จีนผงาดสมศักดิ์ศรีไม่แพ้ใครเลยจริงๆ
อ่านเพิ่มเติม : อินโดรามา เวนเจอร์ส และ Polymateria นำเทคโนโลยีไบโอทรานส์ฟอร์เมชั่น คว้ารางวัลนวัตกรรมจากสมาคมอุตสาหกรรมผ้านันวูเว่นนานาชาติ