วงการนกพิราบแข่งของไทยอ้าแขนต้อนรับสมาชิกใหม่ สดาวุธ เตชะอุบล ประธานกรรมการ บริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ที่แม้จะเพิ่งเลี้ยงนกพิราบแข่งได้ไม่กี่ปี แต่ตอนนี้กรงของเขาก็มีนกร่วม 300 ตัว และคว้าแชมป์รายการใหญ่ในไทยได้ 2 รายการ พร้อมมองหาโอกาสในการส่งแข่งต่างประเทศ
ผู้นำคันทรี่ กรุ๊ป วัย 65 ปี ชอบเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่เด็ก ทั้ง ปลา นก สุนัข ฯลฯ จวบจน 2-3 ปีที่ผ่านมาก็เลี้ยงนกพิราบอย่างจริงจัง เพราะมีความน่าสนใจในแง่สายพันธุ์และยังช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานความเป็นคนทำอะไรก็ต้องทำให้ดีที่สุด ทำให้เขาศึกษานกพิราบสายพันธุ์ต่างๆ และเสาะหานกสายพันธุ์ดีมาครอบครอง เพราะถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่ง “แรกๆ ก็ไม่รู้หรอกว่าสายพันธุ์อะไร แต่พอเริ่มเลี้ยงก็เริ่มศึกษา คุยกับผู้ที่เลี้ยงนกด้วยกัน นกพันธุ์ไหนเป็นอย่างไร เราก็ดูว่าสายพันธุ์ไหนเด่น ชนะได้รางวัลเรื่อยๆ แล้วไปเยี่ยมกรงเหล่านั้น ไปศึกษานกเก่งๆไปจับ เมื่อซื้อหรือประมูลมาแล้วก็นำมาเข้าคู่” นกพิราบของสดาวุธจึงมาจากเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์นกพิราบที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งสายพันธุ์เด่นๆ ที่สดาวุธมีก็เช่น Gaby Vandenabeele จากเบลเยียม Jan Hooymans และ Gerard Koopman จากเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น เขาบอกเพิ่มด้วยว่า ระยะหลังมูลค่านกพิราบแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนหนึ่งเพราะชาวจีนมีกำลังซื้อมากขึ้น ทำให้มีเงินลงทุนกับนกสายพันธุ์เยี่ยมอีกประการคือการแข่งนกพิราบที่จีนมีเงินรางวัลสูงนกตัวไหนที่ขึ้นชื่อก็มักถูกชาวจีนซื้อไปเป็นส่วนใหญ่บางตัวคิดเป็นเงินไทยตก 10 กว่าล้านบาทก็มีหลังจากเลี้ยงนกได้สักระยะ สดาวุธก็ส่งนกลงรายการแข่งขันนกพิราบแข่งนานาชาติ พัทยา จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2559 โดยสมาคมนกพิราบแข่งนานาชาติเป็นการแข่งแบบ One Loft Race และสามารถทำเวลาได้เป็นที่ 1 ระยะทาง 530 กิโลเมตร จาก จ.อุดรธานี-พัทยา จ.ชลบุรี ได้รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเงินบำรุงพันธุ์ 5 ล้านบาทไปครอง “ผมส่งไปครั้งแรกที่พัทยา ก็ไม่คิดอะไรเพราะส่งแค่ 10 ตัว แต่ก็ชนะ ถือว่าเป็นโชคหรือดวง ส่วนการแข่งครั้งที่ 2 ผมส่ง 20 ตัว ก็ต้องแล้วแต่โชค ผมคิดว่าทุกคนก็ต้องลุ้นว่าจะมีโอกาสชนะ” สดาวุธเผยยิ้มกว้าง การแข่งขันนกพิราบในไทยยังมีการแข่งจากกรงแบ่งเป็นสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้นักเลี้ยงนกจะลงสายใดขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งกรง สำหรับสดาวุธซึ่งกรงในกรุงเทพฯ อยู่ในทิศทางที่เหมาะกับการแข่งสายอีสาน จึงส่งนกพิราบลงสายดังกล่าวและคว้าชัยการแข่งขันประลองความเร็วนกพิราบแข่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2560 จุดแข่งขันบึงกาฬ-กรุงเทพฯ ครองถ้วยสมาคมนกพิราบแข่งนานาชาติพร้อมเงินบำรุงพันธุ์ ต่อจากนี้หากมีโอกาสก็อาจส่งแข่งต่างประเทศ “การแข่งขันนกพิราบแต่ละครั้งแข่งกันเป็นพันตัว ตัวไหนกลับมาก่อนคือเก่งจริงๆ จึงเป็นกีฬาที่สนุกและตื่นเต้น” อ่านเพิ่มเติม: ณรงค์ เจียรวนนท์ เปิดกลยุทธ์ ชิงชัยสมรภูมิ “แข่งนกพิราบ” ภาพ: อรรคพล คำภูแสน และเครือเจริญโภคภัณฑ์คลิกอ่านบทความการสร้างธุรกิจ ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ กุมภาพันธ์ 2561 ในรูปแบบ e-Magazine