อมร ทองธิว รุ่น 3 “วิริยะพันธุ์” - Forbes Thailand

อมร ทองธิว รุ่น 3 “วิริยะพันธุ์”

3 กุมภาพันธ์ 2490 เป็นวันเริ่มต้นกิจการวิริยะประกันภัยจากทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท ผ่านมา 73 ปี โฉมหน้าของธุรกิจประกันภัยแห่งนี้กำลังเข้าสู่รุ่นที่ 3 โดยมี อมร ทองธิว เตรียมดูแลธุรกิจ

ก้าวสู่ปีที่ 74 แม่ทัพวิริยะประกันภัยกำลังส่งไม้ต่อสู่ทายาทรุ่น 3 “อมร ทองธิว” บุตรชายวัย 37 ปี ของสุวพร ซึ่งคลุกคลีทำงานในวิริยะประกันภัยมานานกว่า 10 ปี วันที่ให้สัมภาษณ์ทีมงาน Forbes Thailand ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 อมร ทองธิว เป็นรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) เขาถูกวางตัวไว้ให้เป็นผู้บริหารหลักคนต่อไป เป็นคลื่นลูกใหม่ของวิริยะประกันภัยที่เป็นลูกไม้ใต้ต้นวิริยัพันธุ์ด้วยแนวคิดและการทำงานหลายอย่างที่เจ้าตัวบอกว่า มีคุณตาและคุณแม่เป็นต้นแบบทั้งทัศนคติ การทำงาน รวมทั้งบริบทในการทำธุกิจที่ต้องก้าวเดินควบคู่ไปกับสังคม อมร ทองธิว ย้อนกลับไปกว่า 7 ทศวรรษที่วิริยะประกันภัยเติบโตจากบริษัทประกันที่ก่อกำเนิดขึ้นเพื่อให้บริการธุรกิจในตระกูลวิริยะพันธุ์ยุคเริ่มแรกทั้งธนบุรีประกอบรถยนต์ และธนบุรีพานิช (เบนซ์ธนบุรี) ในการทำประกันภัยรถยนต์ต่อมาได้ขยายกิจการออกไปมากมาย กระทั่งก้าวขึ้นเป็นบริษัทประกันภัยอันดับ 1 ตั้งแต่ปี 2530 และต่อเนื่องยาวนานถึงปัจจุบันส่งผ่านการบริหารจากรุ่นบุกเบิก โดย “เล็ก วิริยะพันธุ์” ผู้ก่อตั้งมาสู่เจเนอเรชั่น 2 “สุวพร ทองธิว” (บุตรสาว) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บมจ. วิริยะประกันภัย ปัจจุบันวิริยะประกันภัยมีทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 2 พันล้านบาท ขยายสาขาครอบคลุมทั่วประเทศก้าวสู่บริษัทประกันภัยอันดับ 1 ทั้งประกันวินาศภัยและประกันภัยรถยนต์ ต่อเนื่องมานานเกือบ 30 ปี “ทำธุรกิจเพื่อสังคมที่ดีกว่า ไม่ใช่เพื่อหวังประโยชน์ส่วนตนโดยไม่สนใจผลกระทบต่อสังคม ธุรกิจที่ดีต้องมีกำไร แต่ต้องมีขอบเขต มีคุณธรรม เกิดประโยชน์ และไม่เอารัดเอาเปรียบกัน” เป็นคำกล่าวของ เล็ก วิริยะพันธุ์ ผู้ก่อตั้งวิริยะประกันภัย อมร ทองธิว ที่จากอดีตถึงปัจจุบันแนวคิดนี้ถูกบันทึกให้เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ ที่ตอกย้ำเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งกิจการ จารึกไว้เป็นหน้าสำคัญในหนังสือรายงานประจำปีของวิริยะประกันภัยทุกเล่ม จะเรียกว่าเป็นแนวปฏิบัติ หรือค่านิยมของวิริยะประกันภัยก็ไม่ผิด เพราะไม่เพียงบันทึกไว้ในเอกสารสรุปผลงานประจำปีของบริษัทเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวคิดแนวปฏิบัติที่ผู้นำวิริยะประกันภัยทุกคนยึดถือเป็นแนวทางในการบริหารงานและดำเนินธุรกิจ เช่นเดียวกับอมร เมื่อทีมงานถามว่าแบบอย่างการดำเนินชีวิตและการทำงานของเขาเป็นอย่างไร คำตอบที่ได้รับในทันทีคือ “มีคุณตาและคุณแม่เป็นต้นแบบ ผมเห็นการใช้ชีวิตและการทำงานของพวกท่านมาตั้งแต่ผมเกิด เห็นท่านทำงานควบคู่กับการดูแลสังคมทั้งในธุรกิจและโครงการเพื่อสังคมต่างๆ” ผู้บริหารหนุ่มตอบคำถามทันทีแทบไม่ต้องคิด เพราะนี่คือสิ่งที่เขาคุ้นเคยตลอดมา “โตมาก็เห็นคุณตาทำงานคุณแม่ทำงาน และธุรกิจประกันก็เป็นสิ่งที่ผมคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ” ว่าที่แม่ทัพคนใหม่ของวิริยะประกันภัยอธิบาย   เรียนรู้ 10 ปีพร้อมบริหาร ภายใต้บุคลิกแบบคนพูดน้อย อมรมีแววตาที่มุ่งมั่น เขาออกตัวว่า “ผมเข้ามาทำงานที่วิริยะประกันภัยกว่า 10 ปีแล้ว วันนี้มาเป็นหนึ่งในทีมบริหารมากกว่า เพราะวิริยะประกันภัยใหญ่มาก” คือประโยคแรกในการให้สัมภาษณ์ทีมงาน Forbes Thailand อย่างเป็นทางการในวันนั้น เขาค่อนข้างถ่อมตัวว่าเป็นเพียงหนึ่งในทีมบริหาร แม้จะถูกวางให้เป็นผู้สืบทอดกิจการในฐานะผู้บริหารหลักคนต่อไปก็ตาม ย้อนกลับไปในปี 2552-53 อมรสำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการศึกษาชื่อดังของอังกฤษด้วยหลักสูตร Faculty of Finance and Economics จาก London School of Economics and Political Sciences ก่อนหน้านั้นเขาจบปริญญาตรีคณะเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) เกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูจากประวัติก็พอบอกได้ว่าเป็นคน “เรียนเก่ง” ที่สำคัญเป็นวิชาที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารธุรกิจประกันภัยได้เป็นอย่างดี อมรบอกว่า ไม่ได้ตั้งใจจะเรียนมาเพื่อทำธุรกิจครอบครัว แต่เลือกเรียนเพราะชอบด้านเศรษฐศาสตร์ แต่เมื่อมาทำงานแล้วก็พบว่าพื้นความรู้ที่เรียนมานำมาใช้ได้ดีกับธุรกิจนี้เขาอธิบายเรียบๆ ถึงแนวคิดด้านการศึกษาว่าเลือกเรียนตามความชอบ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเหตุที่เขาชอบด้านเศรษฐศาสตร์ อาจเป็นเพราะซึมซับมาจากการได้เห็นคุณตาและคุณแม่ทำธุรกิจมาตั้งแต่เขายังเป็นเด็กและเติบโตมาท่ามกลางการทำงานของฮีโร่ในชีวิตจริงทั้งสองท่านนั่นเอง ตลอดเส้นทางการเติบโตของอมร ได้เห็น และสัมผัสการทำงานของครอบครัวมาโดยตลอด ไม่เพียงธุรกิจประกันภัย แต่บ้านวิริยะพันธุ์ยังมีธุรกิจอื่นๆ หลายอย่าง บางกิจการเริ่มต้นก่อนธุรกิจประกันภัย เช่น กิจการด้านรถยนต์ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด, บริษัท ธนบุรีพานิช จำกัด หรือที่หลายคนมักเรียกกันคุ้นหูว่า เบนซ์ธนบุรี เป็นกิจการที่เปิดก่อนธุรกิจประกันด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาอาคารวิริยะพันธุ์เป็นอาคารสำนักงานแห่งใหม่ริมถนนจรัญสนิทวงศ์ย่านบางพลัด เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำนักงานรวมของบริษัทต่างๆ ในตระกูลวิริยะพันธุ์ โดยอาคารดังกล่าวเพิ่งสร้างเสร็จและเปิดใช้พื้นที่เมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา อมร ทองธิว ขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล “Data-driven” ที่อมรกล่าวถึงคือ อีกหนึ่งหัวใจสร้างการเติบโต เพราะวิริยะประกันภัยเป็นบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ของตลาด ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าประกันรวม 8 ล้านกรมธรรม์ มียอดเคลม 1 ล้านเคลมต่อปี และมีสัดส่วนในธุรกิจประกันภัยรถยนต์เกือบ 25 เปอร์เซ็นต์ จากตลาดรวมเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ปี 2562 ที่มีมูลค่ากว่า 1.44 แสนล้านบาท มีสัดส่วนยอดประกันภัยรวม 15.80 เปอร์เซ็นต์ จากเบี้ยประกันภัยรวมกว่า 2.45 แสนล้านบาท “ดูง่ายๆ ถ้าเราเห็นคน 6 คนเดินอยู่จะมี 1 คนทำประกันวินาศภัยกับเรา เป็นลูกค้าวิริยะประกันวินาศภัย ซึ่งครอบคลุมทั้งบ้าน รถ คน และทรัพย์สินทุกอย่างที่ไม่ใช่ประกันชีวิต ถ้ายิ่งเป็นประกันภัยรถยนต์เรามี market share เกือบ 25 เปอร์เซ็นต์ มองง่ายๆ รถยนต์บนท้องถนน 4 คัน เป็นลูกค้าเรา 1 คัน” อมรอธิบายด้วยตัวเลขที่เห็นภาพชัด ซึ่งนั่นหมายความว่าบริษัทมีข้อมูลในรายละเอียดจากลูกค้าสูงมาก “เรามีโอกาสจะใช้ข้อมูลตัดสินใจหลายๆ เรื่อง มันเป็นโอกาส ตามที่ผมได้เข้าไปเรียนรู้ในตัววิชาเศรษฐศาสตร์การเงินมาผนวกวิชาด้านประกัน และมีโอกาสใช้ข้อมูลมากมายในบริษัท ก็เป็นตัวเสริมที่ลงตัวในการนำมาใช้กับนโยบายการบริหาร” ความพร้อมนี้เองทำให้อมรมองว่าจะใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยการใช้ data-driven ที่หลายบริษัทกำลังสนใจ ขณะที่วิริยะประกันภัยมีความได้เปรียบในเรื่องฐานข้อมูลลูกค้าค่อนข้างมาก อมร ทองธิว ผู้บริหารหนุ่มมองว่า “Data ทำได้หลายเรื่อง เข้ากับนโยบายวิริยะฯ ที่เน้นพัฒนาการบริการเป็นหลักเพราะฉะนนั้ data จะใช้กับงานพัฒนาบริการของเรา” อมรชี้แจงพร้อมขยายความต่อไปว่า การพัฒนาการบริการของวิริยะประกันภัยเน้น 2 เรื่อง หนึ่งคืองานบริการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองผู้เอาประกันมากขึ้น “เรายิ่งมีข้อมูลเยอะ ต้องพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้เอาประกันได้ตลอดเวลา” เขาย้ำ ส่วนบริการที่สอง คือการบริการเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เกิดการเคลมขึ้นมา ทำอย่างไรให้ผู้เอาประกันได้รับความพึงพอใจสูงสุดเมื่อมีการเคลม เกิดประสบการณ์ที่ดีในทุก touch point “เรา monitor ความพึงพอใจผู้เอาประกันทุก touch point ทุก process ต้องอาศัย data อันนี้แหละวิชาสถิติที่เรียนร้มู าจะได้ทั้งสองส่วน ทั้ง product และบริการ” เขายกตัวอย่างในช่วงที่ผ่านมาทุกคนทราบดีโลกเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ในไทยก็เช่นเดียวกัน สถานการณ์โควิดเมื่อปี 2563 วิริยะประกันภัยเป็นบริษัทประกันภัยรายแรกๆ ที่ออกผลิตภัณฑ์ โควิด-19 ชิลด์ (Covid-19 Shield) คุ้มครองผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด “เราเป็นรายแรกๆ ที่ออก และได้รับรางวัลด้วย ลูกค้าโควิดมี 2 ล้านกว่ากรมธรรม์ ได้รางวัลนวัตกรรมมาสอดรับ เจอ-จ่าย-จบ” เป็นประกันที่ช่วยคุ้มครองสร้างความมั่นใจให้ผู้คนในสถานการณ์ที่เกิดโรคระบาด ความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย “ความท้าทายช่วงนี้ทุกธุรกิจเป็นเรื่องความไม่แน่นอน ความเปลี่ยนแปลง ปีก่อนๆ เรายัง digital disruption กันอยู่ มาปีนี้โควิดเป็นอะไรที่ไม่คาดคิดมาก่อน นี่คงเป็นความท้าทายที่ยังคงอยู่กับเรา” จากมุมมองนี้ทำให้วิริยะฯ ต้องปรับตัวรองรับความเสี่ยง ซึ่งผู้บริหารหนุ่มเจเนอเรชั่น 3 บอกว่า ต้องปรับตัวทั้งทีมในทุกภาคส่วนขององค์กร ซึ่งบริษัทมีทีมมอนิเตอร์สถานการณ์และหารือกัน ทั้งผู้บริหารและพนักงานทุกคนต้องตื่นตัวกับความเปลี่ยนแปลงนี้ และต้องพร้อมรับมือตลอดเวลา ซึ่งเขามองว่าความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเมกะเทรนด์ที่ใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรม “ทุกคนต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนา เรียนรู้อย่างเดียวไม่ได้ต้องพัฒนาด้วย บางอย่าง proof จากโดนโควิดมายังมั่นคงอยู่ได้ และ proof ว่าปี 63 ตลาดทรงๆ ไม่ค่อยโต แต่วิริยะฯ ยังโอเค ตอนนี้เรามี 8 ล้านกรมธรรม์ 1 ล้านเคลมต่อปี 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นของรถยนต์ ประกันภัยรวมเรามี 15 เปอร์เซ็นต์” ก่อนจบการพูดคุยวันนั้น อมรได้บอกเล่าแนวคิดน่าสนใจที่เขาได้จากคุณตาผู้ก่อตั้งวิริยะประกันภัยว่า “ชีวิตคนเราสิ่งที่ทำให้ตื่นมาทุกวันเพราะมีงานรออยู่ และจากการใช้ชีวิตท่านไม่ได้มองการเสพสุขส่วนตัวหรือชื่อเสียง ท่านอยู่อย่างเรียบง่าย ผมและพี่น้องเห็นญาติผู้ใหญ่ทุกท่านเป็นอย่างนี้ ทำงาน ทำหน้าที่ ทำประโยชน์ มีชีวิตที่เรียบง่าย” นี่คือแบบอย่างการใช้ชีวิตในความทรงจำที่อมรมีต่อคุณตา ผู้สร้างความยั่งยืนให้สกุลวิริยะพันธุ์ ส่วนบิดาและมารดาให้หลักคิดการทำงานจากคำสอนที่ว่า “ให้ทุกจังหวะก้าวมีความสำเร็จ ทุกๆ ก้าวมันคือความสำเร็จในตัวของมันเอง ไม่ใช่ตั้งเป้าสูงๆ แล้วกระโดดไป ต้องมีเป้าและสำเร็จในทุกย่างก้าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป” ภาพ: กิตติเดช เจริญพร
คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในรูปแบบ e-magazine