Forbes Thailand จัดงานเสวนา The Next Tycoons 2023 - Forbes Thailand

Forbes Thailand จัดงานเสวนา The Next Tycoons 2023

FORBES THAILAND / ADMIN
27 Jul 2023 | 05:36 PM
READ 6982

ผ่านการจัด Forbes Thailand: The Next Tycoons งานเสวนาประจำปีที่เจ้าของกิจการและนักบริหารต่างตั้งตารอ สำหรับในปี 2023 เมื่อ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00-18.00 น. ณ World Ballroom ชั้น 23 โรงแรม Centara Grand & Bangkok Convention Centre at Central World

    

    งานเสวนาจัดในหัวข้อ Synergy for Sustainability เปิดพื้นที่ให้นักธุรกิจแนวหน้าที่มีความเป็นเลิศในการนำแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืนไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม มาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมอง ต่อยอดองค์ความรู้อย่างครบครันในที่เดียว โดย Forbes Thailand คาดหวังว่า มุมมอง ข้อมูลเชิงลึกและองค์ความรู้ที่แบ่งปันในงานเสวนาครั้งนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติความยั่งยืน ผลักดันให้บริษัทต่างๆ โอบรับแนวทางใหม่ๆ

    งานเสวนาประกอบด้วย 2 หัวข้อหลัก ช่วงที่ 1 Sustainable City: Driving Urban Innovations for a Resili-ent Future เมืองแห่งความยั่งยืน: ขับเคลื่อนนวัตกรรม สู่อนาคตที่มั่นคง โดยเริ่มต้นที่ ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ Chairman of the Board of Governors, Wellington College International School Bangkok เผยว่า

    Wellington College International School ให้ความสำคัญกับ Infrastructure ซึ่งไม่ใช่แค่สิ่งก่อสร้างที่จับต้องได้เท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนเป็นหลัก ด้วยจุดมุ่งหมายว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนมีคุณภาพที่สุด โดยคำนึงถึง Underlying Message คือความยั่งยืน ผ่านการบริหารจัดการ มีการจัดสรรงบประมาณภายใต้มิติของความยั่งยืน คุณภาพ และความเท่าเทียม

ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ Chairman of the Board of Governors, Wellington College International School Bangkok


    ในส่วนของหลักสูตร การเรียนการสอนจะเป็นแบบ Discussion-Based ให้นักเรียนได้อภิปรายกัน แต่ไม่มีการ Judge Conclusion ตามเสียงที่ดังที่สุดบนโต๊ะ เพราะต้องการให้มีการคิดวนมิติอื่น คิดให้ลึกขึ้น นอกจากนี้ Project ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยก็จะมีการจับมือกันในหมู่มหาวิทยาลัย ตอบโจทย์ SCGs 17 ข้อขององค์การสหประชาชาติในการมุ่งสู่ความยั่งยืน

    แนวคิดของ ดร.ดาริกา เผยอีกว่าสิ่งที่ทางโรงเรียนในความสำคัญคือ S-Social และ G-Governance จาก ESG ต้องการให้พัฒนาโรงเรียนทั่วประเทศไทย ตั้งคำถามว่าจะบริหารจัดการโรงเรียนเหล่านี้อย่างไร โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและด้อยโอกาส เพราะความเหลื่อมล้ำ (Inequality) ที่เป็นปัญหาใหญ่ในไทยคือเรื่องของ Benefit ต่างๆ การศึกษา และ Infrastructure ที่สำคัญ การกระจายอำนาจในการบริหารโรงเรียนต่างๆ จะนำไปสู่ความยั่งยืนของภาคการศึกษา

    “Mindset ของ Sustainability ต้องปลูกฝังตั้งแต่เมล็ดพันธุ์” ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ กล่าว


    ด้าน ประธานพร พรประภา Chief Executive Officer, Rêver Automotive เผยถึงแนวทางของ Rever Au-tomotive ให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอน (Decarbonization) ด้วยเทคโนโลยีรถ EV โดยต้องบอกว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดใจรับรถ EV อย่างมาก มีการเติบโตพุ่งสูง (ในขณะที่ประเทศอื่นจะเติบโตแบบ Linear) EV Landscape ในประเทศไทยก็ดีมากเช่นกัน รัฐบาลเองก็มี incentive ให้กับ local player เข้าร่วม ทั้งยังมีผู้เล่นใหม่ในตลาด EV มากขึ้น โดยไทยเป็นอันดับสองด้าน Manufacturing ของเอเชีย Rever Automotive ก็ร่วมผลักดันตลาด EV ด้วยการสื่อสารถึงประโยชน์และข้อดีของรถ EV และมีเรื่องของเทคโนโลยี microgrid

    “เราเป็นบริษัทที่ก่อตั้งและรวบรวมคนรุ่นใหม่และแนวคิดใหม่ในเพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืน” ประธานพร พรประภา กล่าวย้ำ


    ด้าน พนิตศนี ตั๊นสวัสดิ์ Executive Director Corporate Banking, UOB Thailand กล่าวถึงภาพรวมของสถานการณ์ทั่วโลกที่กำลังตื่นตัวเรื่อง Climate Change ภาพใหญ่คือ Paris Agreement ที่มีเป้าหมายมุ่งหน้าสู่ Net Zero หรือการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งทางรัฐบาลไทยเองก็มีความเคลื่อนไหวด้านนี้เช่นกัน และตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2050 และ Net Zero ในปี 2065 ถือเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จริงจังกับการตั้งเป้า Net Zero

    “UOB ส่งเสริมความยั่งยืนโดยการสนับสนุนทางการเงินและเป็นที่ปรึกษาให้กับภาคส่วนต่างๆ อย่างเรื่องของสินเชื่อกับ Supply Chain ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เช่น ด้านการเกษตร ผู้ผลิตมีการลดคาร์บอนไดออกไซด์อย่างไร มีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อย่างไร สามารถเปลี่ยนเครื่องยนต์ต่างๆ มาเป็น EV ตรงไหนได้บ้าง”


    ขณะที่ รศ.ดร.อภิชาต ประดิษฐสมานนท์ Vice President Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) by MQDC กล่าวว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นภาคส่วนที่ใช้ทรัพยากรและพลังงานมหาศาล ทั้งในการก่อสร้างยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ความยั่งยืนจึงถูกนำไปวางไว้เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาโครงการ มีความพยายามลดการใช้ทรัพยากรและจัดหาพลังงานทดแทนเพื่อมุ่งหน้าสู่ Net Zero Carbon โดยอิง SCGs 17 ข้อของ UN

    “อุปสรรคสำคัญของภาคอสังหาฯ คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นยังไม่มีดัชนีชี้วัดที่ลงตัวทำให้ประเมินการดำเนินการและผลลัพธ์ได้ยาก ทางบริษัทของเขาจึงต้องพัฒนาเกณฑ์ขึ้นเอง” รศ.ดร.อภิชาต ประดิษฐสมานนท์ กล่าวและเสริมว่า

    โครงการอสังหาฯ อย่าง The Forestias มีการปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวกลางกรุงเทพ ยกระดับความยั่งยืนในบริเวณโครงการและชุมชนโดยรอบ นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในด้านของพลังงานทดแทน ผลอตไฟฟ้าใช้เองในโครงการ ลดคาร์บอน ทั้งยังมีการนำของเสียหรือขยะจากการก่อสร้างมาใช้ใหม่ ประหยัดน้ำ บำบัดน้ำเสียแล้ว recycle กลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้เรายังรับต้นไม้จากในเมืองที่มีความจำเป็นต้องล้อมออกจากพื้นที่สาธารณะเพื่อมาปลูกในพื้นของ The For-estias

    “การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ได้เป็น trend แต่เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือกัน” รศ.ดร.อภิชาต ประดิษฐสมานนท์ กล่าว

    

ช่วงที่ 2 The Power of Synergy

    

    ช่วงที่ 2 The Power of Synergy ผนึกกำลังธุรกิจ สู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยในเวทีที่สองได้รับเกียรติสองคู่พ่อ-ลูก และ ภูริต เหล่าศิริถาวร Senior Vice President (Certified Financial Planner), Personal Financial Services UOB Thailand บนเวทีเสวนา



    สำหรับเวทีในช่วงที่ 2 โดยเริ่มต้นที่ กัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL กล่าวถึงความท้าทายในการดำเนินธุรกิจพลังงานเพื่อส่งต่อให้ทายาทรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืนว่า กว่าจะสร้างธุรกิจพลังงานแบบครบวงจรต่อเนื่องมาถึงธุรกิจพลังงานทดแทนทั้ง โซลาเซลล์ และพลังงานลม ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องงาน สมัยรุ่นพ่อคู่แข่งไม่เยอะ แต่สมัยรุ่นลูกมีคู่แข่งเยอะมาก จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ให้มากขึ้นและรอบด้าน โดยรู้ว่าจะเลือกตกปลาเล็ก ปลาใหญ่ ได้จากแหล่งน้ำที่ไหน อย่างไร ให้ได้ปลาในแบบที่เราต้องการ

    “ผมไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง และชอบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกๆ วัน ถ้าเราทำวันนี้ให้ดีแล้ว พรุ่งนี้ก็จะสามารถทำให้ดีกว่าเดิมได้อีก” กัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์” กล่าว


    ด้าน ทายาทรุ่น 2 ของตระกูล นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ สายงานกลยุทธ์การลงทุนและธุรกิจนวัตกรรมพลังงาน บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความท้าทายในการสานต่อธุรกิจของครอบครัวคือการเรียนรู้วิธีคิดและตัดสินใจจากรุ่นพ่อที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่เด็ก “การทำธุรกิจให้ยั่งยืนจากรุ่นพ่อมาสู่รุ่นลูกต้องเปิดใจคุยกัน เพราะชีวิตจริงไม่ได้มี Adapter มาช่วยแปลงไฟล์ให้เพราะฉะนั้นเราจะต้องปรับจูนวิธีคิดให้เข้าใจกันได้ดียิ่งขึ้นด้วย”

    ทั้งนี้ ปัจจุบันเรื่องของพลังงานทดแทนและ Sustainability กลายมาเป็นเรื่องใกล้ตัวและจำเป็นต่อประชาชนเหมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ดังนั้น “ธุรกิจต้องอย่าคิดเพียงแค่การแสวงหากำไร แต่ต้องมองให้ไกลๆ มองระยะยาว เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง” นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ กล่าวย้ำ


    ด้าน ไกร วิมลเฉลา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจ (Outsourcing Services) ด้านการบริหารจัดการบุคลากรและยานพาหนะให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน กล่าวถึงความท้าทายในการดำเนินธุรกิจให้มั่นคงยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่นว่า จากเดิมการทำธุรกิจสมัยรุ่นปู่มีการใช้ลูกคิด ต่อมารุ่นพ่อก็มีการใช้เครื่องคิดเลข พอมารุ่นลูกก็จะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มหรือระบบเอไอต่างๆ

    เมื่อโลกยุคปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีการปรับเปลี่ยนและแตกต่างจากยุคก่อนดังนั้นเราจึงต้องมีความเชื่อใจในการส่งต่อธุรกิจให้รุ่นลูกโดยเชื่อมั่นว่าเขาจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการดูแลสานต่อได้เป็นอย่างดี

    “ธุรกิจเมื่อมีขนาดใหญ่มากขึ้น มักจะมี 2 ปัจจัยหลักที่ธุรกิจจำเป็นจะต้องจัดทำธรรมนูญครอบครัวนั่นก็คือ 1. เรื่องความเห็นต่าง 2. เรื่องการหาผู้สืบทอดธุรกิจให้เหมาะสม โดยการจัดทำโครงสร้างทุกอย่างขึ้นมาให้ชัดเจน จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน”



    ขณะที่ ณัฐพล วิมลเฉลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจของสยามราชธานีจะอยู่ตรงกลางระหว่างผู้จ้างกับผู้หางาน ซึ่งตอนนี้มีจำนวนมากถึงหลักหมื่นราย โดยทางริษัทมีฝ่ายโปรแกรมเมอร์ที่นำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้และจัดทำระบบให้เกิดเป็น learning center ในการเชื่อมต่ออยู่ตรงกลางได้ระหว่างสองฝั่งได้ ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบ Blockchain, AI หรือ Nuclear Fusion เป็นต้น

    “ถ้าธุรกิจในไทยไม่เปิดโอกาสในการปรับตัวเปิดรับกับสิ่งใหม่ๆ ก็อาจจะถูก disrupt ได้ง่าย หากเทคโนโลยีเหล่านั้นสามารถตอบโจทย์ในเรื่องของรูปแบบที่ใหม่กว่า คุณภาพดีกว่าและยังมีราคาถูกกว่า”



    ขณะที่ วัชรพล วิมลเฉลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรม วินิลเทค จำกัด กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจเพื่อส่งต่อความยั่งยืนไปสู่สังคมว่า ในอนาคตวัสดุต่างๆ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยก้าวหน้ามากขึ้น การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเม็ดพลาสติกที่คนส่วนใหญ่ใช้แล้วทิ้งตลอดเวลาเราจะต้องคำนึงถึงเรื่อง reduce, reuse และ recycle ให้เหมาะสมด้วย ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะสร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ยกตัวอย่างเช่น การผลิตชิ้นส่วนรยนต์ที่มีการเลือกใช้วัสดุที่ทำให้น้ำหนักเบาขึ้น

    “อนาคตเราจะไม่ใช่เพียงแค่การขายของ แต่เราเน้นขาย Solution เพื่อให้เกิดความยั่งยืน”

    

    อ่านเพิ่มเติม : SCGP ชูนวัตกรรมจากไม้ยูคาลิปตัสรุกขยายธุรกิจอาเซียน

    ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine