Fashion powerhouses Mary Kate and www.obagh.com Ashley Olsen have returned at doing the things they're doing best - starting fashion lines. This time around, it's an accumulation of gucci shoulder bag replica for his or her luxury fashion brand, The Row.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดัน ACD เชื่อมโยงธุรกิจสู่ห่วงโซ่อาหารเดียวกัน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดการประชุมภาคธุรกิจกรอบความร่วมมือเอเชีย หรือ ACD Connect Business 2016 ประเทศไทย เป็นการจัดงานสืบเนื่องจากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรี ACD ครั้งที่ 14 เมื่อต้นปี 2559 ที่ผ่านมาเพื่อสร้างเอเชียหนึ่งเดียว หลากหลายในพลัง (One Asia, Diverse Strengths) ภาคเอกชนคือพลังที่ขาดไม่ได้
“ครอบครัว ACD ได้เติบโตขึ้นจาก 18 ประเทศผู้ก่อตั้ง เป็น 34ประเทศในวันนี้ ครอบคลุมทุกอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ซึ่งสะท้อนว่า การส่งเสริม "ความร่วมมือ" และ "การหารือ" อย่างเป็นมิตรและสร้างสรรค์ของกรอบ ACD ได้สร้างความสะดวกใจและความเชื่อมั่นให้กับประเทศสมาชิกในการที่จะนำจุดแข็งและความหลากหลายมารวมเป็นพลังขับเคลื่อนภูมิภาคนี้ไปข้างหน้า เพื่อให้เอเชียเป็นประชาคมที่เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าว พร้อมเผยถึงเวลาแห่ง “ศตวรรษแห่งเอเชีย” จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดการความร่วมมือของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลและเอกชน
“ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและในทุกระดับ และภาคส่วนที่สำคัญเป็นเสมือนกลจักรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเอเชียให้เจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอดก็คือ ภาคเอกชน ซึ่งได้ดึงเอาความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ความได้เปรียบทางทำเลที่ตั้ง และศักยภาพของทรัพยากรบุคคลากรของภูมิภาคนี้ออกมา และสร้างความโดดเด่นให้เอเชียกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า การบริการ การลงทุน รวมทั้งเป็นแหล่งนวัตกรรม การเรียนรู้ และโอกาสที่สำคัญของโลกในศตวรรษนี้“
ภาคเอกชนจึงเป็นพลังสำคัญในการสร้างพลวัตใหม่และความเข้มแข็งของ ACD การประสานความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างภาครัฐ-เอกชน และภาคส่วนต่างๆ จะช่วยให้เอเชียเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ครอบคลุม สมดุลและยั่งยืน และในภาวะที่เศรษฐกิจโลกค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ท่ามกลางความผันผวนและความท้าทายต่าง ๆ ความแข็งแกร่งและการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียย่อมช่วยสร้างความเชื่อมั่น และมีส่วนกระตุ้น ตลอดจนสร้างแรงขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกด้วยเชื่อมโยงโดยเอเชีย เพื่อเอเชีย (Connectivity by Asia for Asia) ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การค้าการลงทุน กฎระเบียบ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และที่สำคัญ คือ การเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชน และการนำสู่การปฏิบัติให้ได้โดยเร็วที่สุด ตาม Roadmap ของทุกกิจกรรม
“เอเชียยังมีศักยภาพทางเศรษฐกิจอีกมากที่สามารถพัฒนาและสร้างประโยชน์แก่ประชาชน ซึ่งพลังที่หลากหลายและนวัตกรรมความสร้างสรรค์ของเอกชนเอเชียจะช่วยดึงศักยภาพของภูมิภาคนี้ออกมาเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ประมาณการณ์ว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มถึงอีกร้อยละ 6 หรือคิดเป็นเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี ค.ศ.2020 หากมีการลงทุนและก่อสร้างโครงข่ายคมนาคมที่จำเป็นได้ตามเป้าหมาย”
โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้ความสำคัญกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับภาคการผลิตและบริการไปสู่ประเทศไทย 4.0 กำหนดสาขาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรับปรุงระบบบริหารราชการและปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ไปพร้อมกับการเร่งยกระดับความเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ครอบคลุม ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศสมาชิก ACD โดยได้จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย วงเงิน 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อระดมทุนจากภาคเอกชนและเป็นแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
จากการประเมินของ WEF ประมาณว่า ภูมิภาคเอเชียมีความต้องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสูงถึงประมาณปีละ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ของโลก ในทางปฏิบัติ จึงยังมีประเด็นความท้าทายต่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องพิจารณา อาทิ จะทำอย่างไรที่จะดึงดูดเงินทุนที่มีอยู่มากในเอเชียเพื่อตอบโจทย์ความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคได้อย่างเพียงพอ โดยสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละประเทศ ข้อจำกัดของพื้นที่ รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรจะส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน รวมทั้งกลไกลงทุนร่วมภาครัฐ-เอกชนที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งแล้ว ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมได้ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงทางการเงินในเอเชียยิ่งขึ้น ซึ่งยังประโยชน์ในการเข้าถึงบริการทางการเงินและการระดมเงินทุนในรูปแบบใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ เราทำได้มากขึ้นกว่าคนรุ่นก่อนอย่างไม่น่าเชื่อด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมและกำลังเปลี่ยนโฉมภาคการเงินใน ACD หลายประเทศเริ่มรองรับฟินเทคอย่างจริงจัง และเป็นประเด็นที่สนใจของอีกหลายประเทศ ประเทศไทยเองก็ใช้ประโยชน์จากฟินเทคและได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ตั้งเป้าให้ไทยเป็นสังคมไร้เงินสดในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสดลงถึงกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
เมื่อปีที่แล้ว เอเชียได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับโลกด้วยการลงทุนด้านฟินเทคเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า คิดเป็นมูลค่าถึง 4.3พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะฟินเทคได้เปลี่ยนแปลงชีวิตชาวเอเชียให้สะดวกและมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินและเงินทุนยิ่งขึ้น ในอนาคต ชาวเอเชียทุกคนอาจไม่จำเป็นต้องถือเงินสดหรือบัตรเครดิตอยู่ในมือ ก็ซื้อของได้โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงที่เพียงเพื่อพบว่าของหมดสต๊อก ส่งเงินกลับประเทศได้โดยค่าบริการที่ไม่แพง เข้าถึงแหล่งทุนและเปิดธุรกิจได้ด้วยการระดมทุนจากผู้ที่เชื่อในธุรกิจของท่าน บนพื้นฐานของระบบที่เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพและปลอดภัย” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าววและเสริมว่า
“วันนี้มีผู้แทนภาคการเงินธนาคาร ฝ่ายผู้กำกับดูแล และฝ่ายผู้ต้องการใช้ประโยชน์ฟินเทคมารวมตัวกัน เป็นโอกาสดีที่ประเทศที่มีความโดดเด่นในเรื่องนี้จะมาเล่าประสบการณ์และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายที่ตามมาร่วมกัน โดยมุ่งใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันวางรากฐานความเชื่อมโยงทางการเงินในเอเชีย ขอให้ทุกท่านใช้ประโยชน์สูงสุดจากเวที ACD Connect 2016 ในวันนี้ ระดมสมองและสร้างเครือข่ายระหว่างกัน ACD ควรเป็นแกนนำผลักดันการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการเข้าถึงทางการเงินของเอเชีย”
“ผมและผู้นำประเทศสมาชิก ACD ทุกประเทศจะรอรับฟังข้อเสนอแนะจากการหารือของพวกท่านในหัวข้อสำคัญข้างต้น รวมทั้งข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อที่ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศสมาชิก ACD จะได้ร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของเอเชีย และขับเคลื่อนเอเชียสู่ความรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน“
TAGGED ON