โรงพยาบาลธนบุรี 1 เสริมแกร่งด้านเทคโนโลยี นำหุ่นยนต์ในการรักษา ตอกย้ำความเชื่อมั่นผู้ใช้บริการ มุ่งสู่การรักษาที่แม่นยำ (Precision Medicine) - Forbes Thailand

โรงพยาบาลธนบุรี 1 เสริมแกร่งด้านเทคโนโลยี นำหุ่นยนต์ในการรักษา ตอกย้ำความเชื่อมั่นผู้ใช้บริการ มุ่งสู่การรักษาที่แม่นยำ (Precision Medicine)

FORBES THAILAND / ADMIN
19 Jan 2023 | 03:20 PM
READ 4140

ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมา และในอีก 5 ปีข้างหน้าจะก้าวสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือมีประชากรวัย 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 สิ่งที่ตามมา คือโรค ภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มาพร้อมกับความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคกระดูกและข้อ โรคกระดูกพรุน เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในระยะยาว

โรงพยาบาลธนบุรี 1 ในเครือบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (THG) ที่มีจุดแข็งในการเป็นโรงพยาบาลที่มีแพทย์ที่มีความสามารถ และมีความคุ้มค่า ได้ก้าวสู่เป้าหมายใหม่ในการเป็นโรงพยาบาลที่มีการรักษาที่แม่นยำ (Precision Medicine) ด้วยการลงทุนในอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่แม้จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการในระยะยาว

นพ.ศิริพงศ์ เหลืองวารินกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธนบุรี 1 ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ด้วยเป้าหมายที่มุ่งมั่นจะผลักดันให้โรงพยาบาลธนบุรี 1 ก้าวสู่การเป็นโรงพยาบาลที่มีการรักษาที่แม่นยำ (Precision Medicine) ผ่านการลงทุนทั้งในเชิงกายภาพ เช่น การลงทุนสร้างอาคารใหม่ เพิ่มห้องตรวจรักษาโรค การลงทุนในเครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย โดยเฉพาะเพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วย ที่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลักของโรงพยาบาล รวมไปถึงการลงทุนเทคโนโลยีที่จะช่วยดูแลในเชิงจิตวิญญาณของผู้ป่วยที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคปัจจุบัน

“ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลธนบุรี 1 มีการลงทุนสูงสุดในรอบ 40 ปีที่มีการก่อตั้งโรงพยาบาลมา เพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นโรงพยาบาลที่มีการรักษาอย่างแม่นยำ ปลอดภัย ด้วยการลงทุนในเครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อให้ได้ผลลัพท์ในการรักษาที่ผู้ป่วยพึงพอใจ นอกเหนือจากจุดแข็งที่เรามีมาตลอด คือเป็นรพ.ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของเราเอง ร่วมกับอาจารย์แพทย์ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สละเวลานอกเวลาทำงานในภาครัฐของตนเอง มาช่วยกันตรวจรักษาคนไข้ในรพ.ธนบุรี 1 ทำให้คนไข้ของเราได้รับการรักษาแม่นยำ รวดเร็ว และคุ้มค่า” นพ.ศิริพงศ์กล่าว

นพ.ศิริพงศ์ เหลืองวารินกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธนบุรี 1

ลงทุนเพื่อสร้างแบรนด์รพ.ธนบุรี 1

โรงพยาบาลธนบุรี 1 มีการลงทุนสูงมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เช่น หุ่นยนต์ผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่ปัจจุบันในประเทศไทยมีใช้ในโรงพยาบาลเพียง 2 - 3 แห่ง เพราะมีมูลค่าสูงถึง 100 ล้านบาท หรือเทคโนโลยีที่เรียกว่า O - Arm เป็นหุ่นยนต์ผ่าตัดกระดูกสันหลัง ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากขึ้น มูลค่าประมาณ 30 ล้านบาท และล่าสุดแขนหุ่นยนต์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพก ซึ่งมีข้อดีเป็นอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำและปลอดภัยสูง และมีราคาสูงถึง 70 ล้านบาท สูงกว่าอุปกรณ์ประเภทเดียวกัน 3 - 4 เท่า

ยกตัวอย่างหุ่นยนต์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก มีหุ่นยนต์ทำงานร่วมกันทั้งในส่วนของการสแกนภาพแบบ 3 มิติ ที่ช่วยให้แพทย์เห็นภาพที่สมจริง ซึ่งจะทำงานร่วมกับหุ่นยนต์นำทาง (Navigator) ที่ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ ช่วยลดผลกระทบกับเนื้อเยื่อข้างเคียงบริเวณที่ถูกตัด เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

​นพ.ศิริพงศ์ กล่าวเสริมว่า แม้อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ที่โรงพยาบาลธนบุรี 1 นำมาใช้จะมีมูลค่าสูง แต่โรงพยาบาล ลงทุนในอุปกรณ์ทางการแพทย์ชั้นเยี่ยม เพื่อให้แบรนด์รพ.ธนบุรี 1 อยู่ในใจของคนไข้ และคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ราคาแพงมาก ผ่านความมั่นใจของคนไข้ที่จะฝากชีวิตของเขาในรพ.ธนบุรี 1 ในระยะยาวมากกว่า จากการลงทุนตรงนี้ และยังคงคิดค่าบริการในราคาที่เอื้อมถึง แต่สิ่งที่โรงพยาบาลต้องการคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไข้ว่าโรงพยาบาลธนบุรี 1 สามารถรักษาโรคที่มีความซับซ้อนได้ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เทียบเท่าโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง เพราะฉะนั้นถามว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ การซื้อเครื่องมือแพทย์เพื่อให้คนไข้ของเราได้รับการดูแลรักษาด้วยมาตราฐานทางการแพทย์ผ่านอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของเรา แล้วทำให้คนไข้ของเราหายจากความเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพคือผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่รพ.ธนบุรี 1 ของเราได้รับอย่างดีที่สุดแล้วครับ

ด้าน ศาสตราจารย์ นพ.อาศิส อุนนะนันทน์ กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี 1 กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมจำนวนมาก สอดคล้องกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรไทย อาการของโรคที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการใช้ชีวิต เช่น มีอาการปวดเรื้อรัง การเดินที่ไม่มั่นคง ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพจิตใจตามมา สำหรับวิธีการรักษามีตั้งแต่การให้ยาจนถึงขั้นผ่าตัด มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ศาสตราจารย์ นพ.อาศิส อุนนะนันทน์ กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี 1

“การผ่าตัดกระดูกข้อเข่าและสะโพกในปัจจุบัน เป็นการทำงานของแพทย์ร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ที่ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ และมีความแม่นยำมากขึ้น ช่วยดูแลคนไข้ให้ได้รับประสบการณ์ในการรักษาที่ดี มีความปลอดภัย ให้คนไข้ได้รับการรักษาที่ดีขึ้น” ศ.นพ.อาศิส ระบุ

ถึงแม้เทคโนโลยีจะทดแทนมือหมอไม่ได้ แต่หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเหล่านี้ช่วยทำให้การผ่าตัดเคสที่มีความซับซ้อนได้ผลลัพท์ที่ดีขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และส่งผลดีต่อคนไข้ในเรื่องการรักษาที่แม่นยำ ลดผลกระทบข้างเคียง ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับคนไข้ในระยะยาว

ศาสตราจารย์ นพ.อาศิส อุนนะนันทน์ กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี 1

ดูแลด้านจิตใจควบคู่ไปกับการรักษา

โลกการแพทย์กับเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ต้องเดินไปด้วยกัน โรงพยาบาลธนบุรี 1 จึงมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการรักษาคนไข้ ขณะเดียวกันสิ่งที่จะทำต่อไป คือ การดูแลจิตวิญญาณและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไข้ให้ได้รับบริการและข้อมูลอย่างเท่าเทียม รวมไปถึงบุคลากรและทีมแพทย์ที่ทำงานร่วมกัน

นพ.ศิริพงศ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลธนบุรี 1 ได้วางโครงสร้างการดูแลจิตวิญญาณ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทั้งคนไข้ พนักงานผู้ให้บริการ และคณะแพทย์ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วยดูแลเรื่องบริการต่างๆ เช่น การจัดคิว การแจ้งผลต่างๆ เพื่อให้คนไข้ได้มีสิทธิ์ในการรับรู้ เกี่ยวกับการรักษาอย่างเท่าเทียม มีการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Living Will ที่ทำให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยหนักได้มีสิทธิ์เลือกและตัดสินใจในการด้านรักษาของตัวเองไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การจากไปอย่างสงบในช่วงสุดท้ายของชีวิต

นพ.ศิริพงศ์ เหลืองวารินกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธนบุรี 1

“เทคโนโลยีเหล่านี้ จะเข้ามาช่วยดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วย ทำให้มีสิทธิ์ในการรับรู้เรื่องต่างๆ ของตัวเอง ขณะเดียวกันก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการทำงานของแพทย์และพยาบาล ให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ช่วยดูแลความรู้สึกของคนอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน การทำโรงพยาบาลจะมุ่งทำธุรกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องแคร์คน แล้วผลลัพท์ที่ได้จะตามมาเอง” นพ.ศิริพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย