ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ FB : ชีวิตสร้างตามใจชอบ https://www.facebook.com/CreateLifePassionate/ #DARETOCHANGE #ชีวิตสร้างตามใจชอบ
ความสำเร็จไม่มีที่สิ้นสุด เริ่มต้นจากความกล้าที่จะเปลี่ยน สุเทพ-อุไร คู่สกุลนิรันดร์ “เปลี่ยน” เพื่ออนาคตที่ยิ่งใหญ่
“เพราะความจนมันน่ากลัว” สัจธรรมชีวิตที่ฟังแล้วชวนสะกิดใจไม่น้อยคือ ประโยคที่สุเทพ คู่สกุลนิรันดร์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สุรินทร์บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาตัดสินใจลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง เพื่อเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ที่อัตคัดของครอบครัวเล็กๆ ซึ่งประกอบด้วยพ่อแม่ และลูกอีก 2 คน
“ตั้งแต่เด็กผมเกิดในครอบครัวที่ยากจน ผมรู้รสชาติความจนอย่างดีว่าน่ากลัวขนาดไหน ผมเป็นชาวอุบลราชธานี ส่วนภรรยา (อุไร) เป็นชาวนครราชสีมา พอแต่งงานผมตัดสินใจย้ายมาเป็นอาจารย์ที่สุรินทร์ สร้างครอบครัวเล็กๆ ในบ้านพักครู ตอนนั้นความเป็นอยู่ของเรา เป็นไปตามอัตภาพของเงินเดือนอาจารย์ ซึ่งไม่ได้สูงมาก ผมและภรรยาต้องดิ้นรนหารายได้ทางอื่น เพื่อให้อยู่รอด แต่รายได้ก็ยังไม่พอที่จะสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตครอบครัวได้”
ในฐานะหัวหน้าครอบครัว นอกจากแรงกายที่ทุ่มเทเพื่อประคับประคองให้ฐานะครอบครัวดีขึ้นได้ เขาไม่มีหนทางอื่น ได้แต่เก็บงำความรู้สึกนี้ไว้ในใจ จนวันหนึ่งพี่ชายของภรรยาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ความสูญเสียครั้งนั้นเปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายที่จุดชนวนให้สุเทพยิ่งเครียดและตั้งคำถามกับตัวเองหนักขึ้นว่า “ความมั่นคงของชีวิตอยู่ตรงไหน” และเมื่อหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้ ความเครียดนั้นจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของอาการซึมเศร้า
“ถามว่าเครียดขนาดไหน ผมเครียดถึงขนาดไม่กินไม่นอนอยู่ 4 วัน ตัดสินใจชวนคนในบ้านฆ่าตัวตายเพื่อตัดปัญหา ใครๆคิดว่าผมเป็นบ้า จนภรรยาต้องพาผมไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์ ที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่ง เป็นโรงพยาบาลรักษาคนบ้า พอไปหาผมถึงได้รู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า เพราะหาคำตอบให้ชีวิตไม่ได้ ผมได้อาศัยยาเพื่อบำบัดความเศร้าของตัวเอง”
ในช่วงที่รู้สึกว่าชีวิตเปรียบเสมือนนั่งอยู่บนเก้าอี้หัวโล้นที่ไม่มีพนักพิง จะเอนไปทางไหนก็ล้ม สุเทพกลับได้พบกับกุญแจที่พร้อมจะไขประตูที่ปิดตายเพื่อพาเขาไปสู่ชีวิตใหม่อย่างไม่คาดฝัน
“ผมมีโอกาสเจอกับผู้หญิงคนหนึ่งโดยบังเอิญที่สุรินทร์เมื่อ 30 ปีก่อน เขามาชวนผมไปเป็นนักธุรกิจแอมเวย์ ตอนนั้นผมปฏิเสธทันที เพราะไม่รู้จัก และคิดว่าตอนนั้นก็มีงานประจำ มีรายได้เสริมจากการเพาะพันธุ์ไม้ขายอยู่แล้ว จะให้ไปขายสินค้าที่ไม่รู้จัก ผมเลยปฏิเสธ แต่ภรรยาผมกลับคิดต่าง เขาคะยั้นคะยอให้ผมไปลองฟังแผนธุรกิจของแอมเวย์ให้ได้
ตอนที่ไปฟังผมก็ไม่ได้ตั้งใจฟังเท่าไหร่ จนกระทั่งได้ยินประโยคหนึ่งที่เหมือนฟ้าสั่งให้ได้ยิน นั่นคือธุรกิจนี้ทำแล้วเหมือนมีมรดกตกทอดให้ลูกหลาน ประโยคสั้นๆ นั้นมันเหมือนเป็นคำตอบของสิ่งที่ผมแสวงหามานาน แค่ประโยคเดียวทำให้ผมหยุดและนั่งลงไปฟัง และยอมเสียเงินค่าสมัครซึ่งในสมัยนั้น คือ 500 บาท พอกลับมาถึงบ้านก็บ้าอ่านแผนธุรกิจอยู่ 2 วัน 2 คืน นอนไม่หลับตื่นเต้น ” สุเทพเล่าอย่างออกรสก่อนเผยถึงจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขามั่นใจว่าสินค้าของแอมเวย์จะครองใจผู้บริโภคได้ไม่ยากว่า
“อย่างที่บอกว่า ผมและภรรยาพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว หารายได้เสริม ทั้งทดลองปลูกมะนาว รับจ้างทาบกิ่งมะม่วง ตลอดจนรีดนมวัว ซึ่งใครจะรู้ว่าการรีดนมวัวจะทำให้ผมได้เห็นถึงประสิทธิภาพของผงซักฟอกแอมเวย์ซึ่งสามารถซักสิ่งสกปรกจากการรีดนมวัวได้อย่างหมดจด ทำให้ผมทั้งทึ่งและมั่นใจว่าสินค้านี้ดี และ น่าจะขายได้แน่นอน”
ด้วยดีเอ็นเอความขยันในตัวบวกกับความมุ่งมั่น และความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อไปสู่ความสำเร็จ เพียง 3 เดือนสุเทพและอุไรก็ค้นพบแล้วว่า เลือกเส้นทางไม่ผิด และหลังจากใช้เวลาพิสูจน์ตัวเองอยู่ปีเศษ ทั้งคู่ก็พบว่าอนาคตที่สดใสรออยู่ปลายทาง
“ด้วยความที่เราอยู่ต่างจังหวัด อำนาจการซื้อของคนต่างจังหวัดต่ำกว่ากรุงเทพฯอยู่แล้ว แต่เราก็อาศัยความขยัน บวกกับพื้นฐานการเป็นนักกิจกรรมของเราทั้งคู่ตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยมาเป็นทักษะในการดีลกับคน ชักชวนคนร่วมทำธุรกิจและซื้อสินค้า ตอนนั้นเราอาศัยเวลาหลังเลิกงานและวันหยุดทำงานตรงนี้โดยไม่ให้กระทบกับงานประจำ”
อย่างไรก็ตาม อุไรเสริมว่า เส้นทางนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ช่วงแรกๆที่ทำ ก็มีคนรอบข้างมองด้วยสายตาที่ไม่เข้าใจ แต่สุดท้ายผลผลิตแห่งความตั้งใจก็เป็นเครื่องพิสูจน์ให้ทุกคนเห็น แต่รางวัลสูงสุดที่อุไรภาคภูมิใจไม่ใช่รายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่คือการที่สามีหายจากโรคซึมเศร้า
“รางวัลที่คุ้มค่าที่สุด คือ เขาหาย ส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นกำไร”
หลังจากสวมบทนักธุรกิจแอมเวย์พาร์ทไทมส์อยู่ปีเศษ ในที่สุดสุเทพก็ตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาทำงานตรงนี้เต็มตัว ใช้เวลา 5 ปีเพื่อสร้างรากฐานและฐานะครอบครัวให้มั่นคง มีเงินพอจะซื้อบ้านของตัวเอง
“ผ่าน 5 ปีแรกไปเราก็หยุดพัก ไม่ทำอะไรเลยนอกจากเลี้ยงลูก (หัวเราะ) แต่เราก็ยังมีรายได้จากแอมเวย์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง จนปี 40 ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เรากลับมาทำอีกรอบ เพื่อเป็นกำลังใจให้คนในองค์กร ครั้งนี้เราประสบความสำเร็จขยายฐานเครือข่ายออกไปได้เพิ่มขึ้น เราทำอยู่จนถึงปี 45 คราวนี้เราพักยาวถึงปี 61 ทุกเดือนเรายังมีรายได้อย่างต่อเนื่องจากธุรกิจที่เราสร้างขึ้นตามคอนเซ็ปท์แอมเวย์ สร้างเครือข่ายแบบพิถีพิถัน เมื่อไหร่ที่เราหยุด สิ่งที่เราได้จากธุรกิจแอมเวย์ คือ ความมั่นคงทางรายได้ที่ยังต่อเนื่อง”
รีเทิร์นสู่วงการอีกครั้ง
หลังจากหยุดงานจริงจังไป 16 ปีเต็ม ในปีนี้ สุเทพและอุไรจับมือกันลุกขึ้นลุยธุรกิจอีกครั้ง เพราะลูกสาวซึ่งทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์และอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ตัดสินใจลาออกมาเป็นนักธุรกิจแอมเวย์เต็มตัว
“พอลูกสาวจะมาทำ ในฐานะพ่อแม่จะไม่ทำเป็นเพื่อนก็ไม่ได้ เราใช้ความเป็นมืออาชีพมาไกด์ลูกเรา ข้อดีของแอมเวย์คือ ทำได้ทุกช่วงอายุ เราไม่เคยบังคับลูกว่าต้องตามรอยพ่อแม่ แต่เขาเลือกเพราะเขาสนใจ เราเองเห็นว่าธุรกิจนี้ก็เป็นโอกาส ไม่เช่นนั้น คงไม่สนับสนุนให้ลูกเราซึ่งอยู่ในวัยทำงานกำลังรุ่งมาทำงานตรงนี้ เพราะเราเห็นแล้วว่าแนวคิดของแอมเวย์ยังตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ เดี๋ยวนี้ไม่ได้เน้นสะสมเงินถุงเงินถัง แต่อยากสร้างรายได้ที่ได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง เมื่อทำงานไปถึงจุดหนึ่งก็อยากมีธุรกิจของตัวเอง ได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ” อุไรบอกเล่าอย่างออกรส
ถามว่าอะไรคือแรงขับเคลื่อนที่ทำให้ทั้งคู่อยู่ในธุรกิจนี้มาอย่างยาวนาน คำถามนี้สุเทพและอุไรเห็นพ้องในแง่จุดแข็งของแอมเวย์ที่เป็นธุรกิจเมตตาทุนนิยม
“คอนเซ็ปท์ของธุรกิจเราคือ สร้างให้คนอื่นประสบความสำเร็จ มีรายได้ ลืมตาอ้าปากได้ก่อน เมื่อไหร่ที่เขาประสบความสำเร็จ เราถึงจะสำเร็จ นอกจากคอนเซ็ปท์ที่โดนใจแล้ว รางวัลที่แอมเวย์มอบให้ยังมีเสน่ห์มาก ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่มั่นคงและต่อเนื่องที่เกิดได้จริงๆ อีกอย่างคือ มิตรภาพที่ได้กลับมาจากการบอกต่อธุรกิจที่ช่วยให้คนอื่นให้สำเร็จ เหมือนเรากำลังสร้างครอบครัวใหญ่” สุเทพเสริมพร้อมย้ำว่า ถ้าวันนั้นไม่ตัดสินใจสวมความกล้าลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง วันนี้ชีวิตคงไม่เป็นเหมือนวันนี้
“ต้องใช้ทั้งความกล้าและบ้า เพราะอย่างที่บอกแอมเวย์เป็นงานที่ไม่ถนัด แถมสมัยก่อนไม่มีตัวอย่างความสำเร็จให้ได้เห็นแบบวันนี้ รางวัลสูงสุด ก็คงอย่างที่ภรรยาผมบอก คือ ได้ผมกลับคืนมา ไม่เช่นนั้นก็คงไม่รู้ว่าจะดำดิ่งไปถึงไหน นอกจากนี้เรายังภูมิใจที่ได้เป็นส่วนเล็กๆ ทำประโยชน์ให้สังคม อย่างตอนที่แอมเวย์แจกปุ๋ยให้นำไปลองพัฒนาสูตร ผมกับภรรยาตระเวนไปทั่วไทยเพื่อปรับปรุงสูตรปุ๋ยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร ทดลองอยู่นานจนสำเร็จ ก็นำสูตรนี้ไปมอบให้แอมเวย์ เพื่อขยายผลในวงกว้าง ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตดีขึ้น”
สำหรับเป้าหมายต่อไปในการต่อยอดธุรกิจแอมเวย์ ทั้งสุเทพและอุไร มองว่า มาถึงวันนี้ เงินไม่ใช่เป้าหมายหลักอีกต่อไป
“เรากำลังทำงานกับคนที่มีความฝัน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีลูกของเราด้วยเราจะทำอย่างไรให้เขาบรรลุความฝัน โปรเจ็กต์นี้เราตั้งใจใช้เวลา 5 ปี ไม่จบไม่เลิก เหมือนสร้างบ้าน เราต้องสร้างให้เสร็จแบบคนเข้าอยู่ได้” สุเทพกล่าวด้วยแววตามุ่งมั่นก่อนจะทิ้งท้ายถึงคนที่ฝัน หรือ กำลังลังเลไม่กล้าที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง เพื่อให้โอกาสชีวิตได้เรียนรู้สิ่งใหม่ที่อาจนำพาไปสู่ความสำเร็จว่า “สังขาร ร่างกายที่เราได้มา ไม่ใช้ก็อ่อนแรง ในวันที่ยังมีแรง ใช้แรงไปเถอะ วันหนึ่งเดินไม่ได้ อยากเดิน มันน่าเศร้า อยากวิ่ง แต่วิ่งไม่ได้ ยิ่งน่าเศร้ากว่า ในเมื่อวันนี้มีแรง จงลงมือทำบางอย่างเพื่อสร้างความมั่นคง”