MQDC จัดสัมมนาเชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาชี้ชัด ‘ป่า’ คือการพัฒนาเมือง พร้อมเตือนไทยยังไม่พร้อมรับสังคมสูงอายุ - Forbes Thailand

MQDC จัดสัมมนาเชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาชี้ชัด ‘ป่า’ คือการพัฒนาเมือง พร้อมเตือนไทยยังไม่พร้อมรับสังคมสูงอายุ

Toby Blunt หุ้นส่วนอาวุโสและรองหัวหน้าสตูดิโอ บริษัทสถาปนิกชื่อดังจากอังกฤษ  Foster+Partners กล่าวในงาน “Annual International Well-being and Sustainability Forum, Bangkok 2018” จัดโดย แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) ว่าการวางผังเมืองที่ช่วยลดความจำเป็นในการใช้รถยนต์ และการสัญจร จะมีสามารถช่วยลดการใช้พลังงานและมลภาวะได้อย่างมหาศาล  นอกจากนี้หากเมืองมีการใช้แนวคิดของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน circular economy ที่เน้นการรีไซเคิล วัตถุดิบ วัสดุ และของเหลือใช้ต่างๆ รวมทั้งการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือการพัฒนาการเกษตร เช่นการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ในเมือง จะช่วยลดการใช้พลังงานได้มาก เนื่องจากจะช่วยลดความจำเป็นในการขนส่งพืชผลทางการเกษตรเข้าเมือง ปัจจุบัน Foster เป็นที่ปรึกษารัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ในโครงการพัฒนา  Masdar City ที่จะมีการนำเอาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆลงใต้ดินทั้งหมด รวมทั้งระบบการขนส่งซึ่งจะมีการสร้างรถไฟฟ้าระบบอัตโนมัติไว้ในทุกจุดเพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้แทนการใช้รถยนต์ และเปิดพื้นที่บนพื้นดินให้กับการใช้ชีวิตของประชากรได้โดยปราศจากถนนและรถยนต์ที่ก่อมลภาวะ รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าเมืองใหญ่หลายๆ เมืองล้วนมีแต่แผนการพัฒนาความยั่งยืน อาทิแผนการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า แต่ความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนยากจะเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาจากการให้ความสำคัญกับ “คน” แต่เพียงอย่างเดียว (human-centric) มาสู่การให้ความใส่ใจกับสิ่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ด้วย งานวิจัยพบว่าการอยู่กับป่าหรือธรรมชาติจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆของมนุษย์ อาทิ มะเร็ง หรือช่วยเพิ่มความจำในระยะสั้น ซึ่งปัจจุบัน กทม.มีพื้นที่สีเขียวเพียง 3 คน ต่อตรม. เทียบกับมาตรฐาน 9 คน/ตรม. Dr. William E. Reichman ประธานกรรมการและซีอีโอ บริษัท Baycrest ศูนย์วิจัยและดูแลผู้สูงอายุจากแคนาดา กล่าวถึงปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆในการสร้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรองรับสังคมสูงวัย ซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอัตราเร่งที่สูงสุดมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ซึ่งอาจจะยังไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุเท่าไรนัก “ผมคงไม่กล้าก้าวข้ามถนนในกรุงเทพฯ  ยิ่งคุณมีอายุมากขึ้นคุณคงจะไม่สามารถข้ามถนนได้ทัน  นอกจากนี้กรุงเทพก็ไม่มีห้องน้ำสาธารณะ ผู้สูงอายุจะไม่กล้าย่างก้าวออกจากบ้าน เพราะสิ่งแวดล้อมของเมืองไม่เอื้อ” เขากล่าว Prof.John D.Spengler ศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมและการอยู่อาศัยของมนุษย์ Harvard T.H. Chan School of Public Health กล่าวว่าปัจจุบันมนุษย์ใช้เวลา 90% อยู่ในอาคาร ซึ่งเราได้ทราบกันดีจากงานวิจัยต่างๆว่า วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆมีสารเคมีที่อาจจะเป็นพิษต่อมนุษย์แฝงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์มาลดีไฮด์ ยาฆ่าแมลง พลาสติก สารเคลือบผิว ฯลฯ   ดังนั้นจึงเกิดกระแสของการออกแบบสถาปัตยกรรมในแนวของการเชื่อมโยงมนุษย์ให้กลับเข้าสู่ธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า  Biophilic design “การนำป่ากลับเข้าสู่เมืองเป็นหนทางเดียวที่เราจะเปลี่ยน (เมืองให้กลับสู่ความยั่งยืนได้)” เขากล่าว