บารามีซี่ แล็บ ศูนย์วิจัยแห่งอนาคตและการออกแบบ เผย 9 แทรนด์เด่นตอบโจทย์อสังหาฯ ยุค 4.0 - Forbes Thailand

บารามีซี่ แล็บ ศูนย์วิจัยแห่งอนาคตและการออกแบบ เผย 9 แทรนด์เด่นตอบโจทย์อสังหาฯ ยุค 4.0

ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ แห่ง ศูนย์วิจัยบารามีซี่ แล็บ เปิดตัวโมเดลการวิจัยเทรนด์เพื่อออกแบบธุรกิจรูปแบบใหม่ ในงาน FUTURE LAB FORUM 2018 : X PERIENCE, X PLORE, X TEND พร้อมเจาะลึก Xperience Design Future Trend 2019 - 2020 สำหรับแวดวงอสังหาริมทรัพย์ยุค 4.0 ครั้งแรกในประเทศไทย

ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคอนเซปท์แห่งอนาคตและการออกแบบ เปิดเผยถึงการทำงานของบารามีซี่ แล็บว่า “ศูนย์วิจัยบารามีซี่ แล็บ เป็นองค์กรที่จะช่วยภาคธุรกิจค้นหาไอเดียในการเติบโตสู่อนาคตได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ หลักคิดและการทำงานของเราจึงมุ่งเน้นการค้นหาโอกาสแห่งการเติบโตของธุรกิจอย่างมีกระบวนการและองค์ความรู้ ในการพัฒนาแบรนด์สู่การแข่งขันในโลกยุค 4.0 ปัจจุบันเรามี 3 บริการหลัก คือ Future Lab Research การวิจัยรูปแบบใหม่สำหรับการเจาะหาอนาคตให้ภาคธุรกิจ, Future Trend ข้อมูลวิจัยเทรนด์ที่เจาะลึกในวงการต่างๆ และ Brand Future Evaluation การวิจัยประเมินประสิทธิภาพแบรนด์เพื่อความแข็งแกร่งในการทำธุรกิจในปัจจุบันและวิธีก้าวสู่อนาคตอย่างมั่นคง “กลุ่มลูกค้าหลักของเราเป็นธุรกิจที่ต้องการสร้างประสบการณ์แบรนด์ที่โดดเด่นให้แก่ตลาดและกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแบ่งได้เป็นกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 30%, กลุ่มธุรกิจรีเทล 20%, กลุ่มธุรกิจวัสดุตกแต่งในวงการสถาปัตยกรรม 20%, กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว 20% และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ราว 10%  ซึ่งในเชิงปฏิบัติการเราใช้งบประมาณในการลงทุนด้านการวิจัยและค้นคว้าข้อมูลถึง 15% ต่อปี” ล่าสุด ศูนย์วิจัยบารามีซี่ แล็บ ได้ทำการรวบรวมข้อมูดและทดสอบวิจัยกว่า 4 เดือนเป็นผลงานวิจัยชุดใหม่สำหรับแวดวงอสังหาริมทรัพย์ยุค 4.0 ครั้งแรกในประเทศไทย “Xperience Design Future Trend 2019 - 2020” ที่ได้สรุป 27 เทรนด์ที่สำคัญ โดย ศูนย์วิจัยบารามีซี่ แล็บ ได้ยก 9 เทรนด์ที่แนวโนมใหม่ที่วงการอสังหาริมทรัพย์ต้องตื่นตัวดังนี้ Interlock Life เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องการบริหารพื้นที่ในการใช้ชีวิต ที่เกี่ยวข้องกับทีมโปรเจค เดวิลอปเม้นท์ เกี่ยวกับการความต้องการของการใช้ชีวิตแบบครอบครัวขยายมากขึ้น เนื่องจากความต้องการดูแลพ่อแม่และผู้สูงอายุแต่ปัญหาของการอยู่ร่วมกันคือการแบ่งปั่นพื้นส่วนการและพื้นที่ส่วนตัว ดังนั้น เทรนด์ของ Interlock Life คือการจัดการพื้นที่ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ส่วนตัวให้มีประสิทธิภาพสูงสุดไปพร้อมๆ กัน ซึ่งถือเป็นความท้าทายของบ้านขนาดกลาง-เล็ก ที่จำเป็นต้องออกแบบพื้นที่เหมาะกับความต้องการของเทรนด์การอยู่อาศัยในหัวข้อนี้ Hybrid เทรนด์ที่ต่อยอดจากเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับเก็บได้ เนื่องจากประพฤติกรรมความต้องการใช้พื้นที่ในขนาดที่จำกัด ปัจจุบันแม้คนไทยจะยังไม่รู้ถึงความอึดอัดของการใช้พื้นที่เท่ากับคนฮ่องกง แต่คอนเซ็ปต์ในการนำอุปกรณ์ตกแต่งการใช้ชีวิต เพื่อช่วยยกระดับโดยนำเทคโนโลยีเขามาใช้ในการจัดเก็บอาทิ เทคโนโลยีการจัดเก็บเตียงระบบอัตโนมัติ หรือต่อยอดไปถึงการเชื่อมต่อด้วยแอพพลิเคชัน Elasewhere หรือ เทรนด์ที่เรียกว่า “ที่ไหนสักแห่งบนโลกนี้ที่สร้างแรงบันดาลใจ” เป็นแทรนด์ที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรีต้องใส่ใจเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้บริโภคในการออกแบบอสังหาฯ ในยุค ที่ต้องการการพักผ่อนเหนือระดับเหมือนพาผู้บริโภคหลุดไปสู่อีกโลกหนึ่งหรือความวุ่นวาย AI Friend หรือ เทคโนโลยีที่เกิดจากผู้ผลิต AI และผู้ประกอบการนำไปปรับใช้กับผู้บริโภคเพื่ออำนวยความสะดวก Live Life Servable Tech เนื่องจากพฤติกรรมของคนกับการใช้บริการกับแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความสนใจเกี่ยวเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือกับการอยู่อาศัยและใช้ชีวิต อาทิ ซ่อม ดูแลบ้าน ซึ่งมีหลายมิติที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้ได้ Self-Energerate เทรนด์ที่ทาง ศูนย์วิจัยบารามี่ซี่ แล็บ อยากนำเสนอ ซึ่งเป็นเทรนด์เกี่ยวข้องกับ การผลิตได้ด้วยตนเอง อาทิการปลูกผัก เพื่อกินใช้ได้เอง การผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เอง Well-Living Tech เทรนด์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการอยู่อาศัย อาทิ อุปกรณ์ที่ทำให้การนอนดีขึ้น อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย Absolutely Relex เทรนด์ที่เรียกว่าจิตวิญญาณแห่งการพักผ่อนสูงสุง เมื่อความสบายคือปัจจัยในการเลือกซื้อบ้านที่อยู่อาศัย การออกแบบให้บ้านเป็นพื้นที่พักผ่อนอย่างแท้จริงจึงมีความสำคัญยิ่ง ซึ่งความสนใจในรอบปีนี้คือ พื้นที่ที่เรียกว่า “Transition Space” สถานที่เชื่อมต่อจากนอกบ้านก่อนเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัว We-Tribe หรือ ชนเผ่าของฉัน ในยุคเทคโนโลยี 4.0 คนที่มีความชอบเหมือนๆ สามารถหาตัวตนกันได้ในโลกออนไลน์จึงเกิดการรวมตัวกัน อาทิ ไปขี่จักรยาน กลุ่มเทคสตาร์ทอัพที่รวมกลุ่มกันจาก โคเวิร์คกิ้งสเปช สำหรับเทรนด์สำหรับอสังหาริมทรัพย์ถือว่ายังเห็นไม่มากนัก “ซึ่งโจทย์วิจัยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือผสมผสานและนำไปปรับใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ขององค์กร ถ้าคุณเรียนรู้เทรนด์และต่อยอด มีกระบวนการทำงานที่ถูกต้องก็จะเกิดงานคิดที่สร้างสรรค์และตอบโจทย์กับผู้บริโภคในที่สุด โดยทั้ง 9 ที่เราเลือกมาจาก ทั้ง 27 เทรนด์เป็นเทรนด์ที่เกิดได้ทั่วโลกแต่การวิจัยของเราได้จัดทำการทดสอบกับตัวอย่างคนไทยหรือที่เรียกว่า “Glocal movement” เพื่อสะท้อนกับเทรนด์พฤติกรรมจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค” ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคอนเซปท์แห่งอนาคตและการออกแบบ กล่าวปิดท้าย