SMEs รากฐานการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจยุค 4.0 - Forbes Thailand

SMEs รากฐานการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจยุค 4.0

FORBES THAILAND / ADMIN
21 Aug 2017 | 03:20 PM
READ 7051

หากเปรียบเปรยว่ารากฐานของตึกคืออิฐ รากฐานของเศรษฐกิจคงเปรียบเช่น “เอสเอ็มอี” จากตัวเลขของสำานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) พบว่าปัจจุบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs มีจำนวนประมาณ 2.8 ล้านกิจการคิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนวิสาหกิจทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวน 10.5 ล้านคน

สำหรับรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มุ่งให้ความสำาคัญในการส่งเสริม SMEs โดยยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ และมอบหมาย สสว. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานและบูรณาการงานส่งเสริม SMEs ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐรัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การส่งเสริม SMEs เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศตามเป้าหมายในยุค Thailand 4.0 ภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564) หรือแผนการส่งเสริม SMEs 4.0 จึงได้กำหนดเป้าหมายในระดับผลกระทบเชิงมหภาคให้ “สัดส่วนมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ เพิ่มขึ้นเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2564” โดยพัฒนา SMEs ให้เป็นเครื่องมือสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด (competitive growth) และการกระจายรายได้ลดความเหลื่อมล้ำ (inclusive growth) เป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางให้ได้ใน 10 ปี ขณะเดียวกัน สสว. จัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2560-2561 เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดและแนวทางของแผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 4 สู่การปฏิบัติ ในปี 2560 สสว. ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 1.26 พันล้านบาท เพื่อมุ่งพัฒนาและยกระดับความสามารถของ SMEs ให้เหมาะสมกับระยะการเติบโตของธุรกิจ (business life cycle) โดยกำหนดแผนงานในภาพรวม เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริม SMEs 4 แนวทางรวม 12 โครงการประกอบด้วย แนวทางที่ 1 “สตาร์ทอัพ” การสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม งบประมาณ 149 ล้านบาทโดย สสว. ดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ปี 2560 ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มหาวิทยาลัยรวม 8 แห่งและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมให้การบ่มเพาะ Smart Farmer ที่เป็นคนรุ่นใหม่ให้เป็นนักธุรกิจการเกษตร 5,000 ราย และยังบ่มเพาะ SMEs ใหม่ในภาคการผลิต การค้า และบริการ อีก 5,000 ราย ปัจจุบันมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 6,560 ราย แบ่งเป็นภาคเกษตร 4,470 ราย ทั่วไป 2,090 ราย แนวทางที่ 2 “Smart SMEs” การส่งเสริม SMEs กลุ่มทั่วไป (regular) ซึ่งมีการดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว ให้มีศักยภาพและผลิตภาพมากขึ้น โดยมีงบประมาณ 531 ล้านบาท สำาหรับโครงการดังต่อไปนี้ 1. โครงการส่งเสริมการจัดจำหน่ายผ่านอี-คอมเมิร์ซ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้นเชื่อมโยงการส่งเสริมการตลาดระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กับกลุ่มผู้ให้บริการด้านตลาดออนไลน์ โดยในปี 2560 สสว. ตั้งเป้าหมายจะนำ SMEs จำนวน 65,000 ราย นำสินค้า/บริการ ไม่ต่ำกว่า 1 แสนผลิตภัณฑ์วางขายทางระบบออนไลน์ 2. โครงการประกวดรางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติ หรือ “SMEs National Awards” เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลให้เป็นแบบอย่าง สร้างแรงบันดาลใจกับ SMEs รายอื่น 3. โครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2559 เพื่อพัฒนาSMEs ให้สามารถผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของตลาด 4. โครงการสนับสนุนเครือข่าย SMEs (Cluster) เพื่อรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจในประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำให้เกิดความเข้มแข็ง โดยปี 2560 ได้ดำเนินการอาทิ เครือข่าย มะพร้าว ดำเนินการร่วมกับสถาบันอาหาร จำนวน 25 เครือข่ายส่งเสริม SMEs จำนวน 3,300 ราย 5. โครงการพัฒนา SMEs ที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วให้สามารถขยายตัวต่อไปได้เต็มตามศักยภาพ (Strong and Regular SME) พัฒนาจุดแข็งและหาทางลดจุดอ่อนที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโต แนวทางที่ 3 “Strong” การส่งเสริม SMEs ที่มีศักยภาพให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสู่สากล ซึ่งมีงบประมาณ 53 ล้านบาท โดย สสว. ดำเนินโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ ปัจจุบัน SMEs จำนวน 361 ราย ได้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจเป็นจำนวน 10 ครั้ง ใน 9 ประเทศ แนวทางที่ 4 “Ecosystem” การปรับปรุงระบบนิเวศที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริม SMEs งบประมาณ 523 ล้านบาท จัดตั้งศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (One-Stop Service Center: OSS) ซึ่งปัจจุบันศูนย์ OSS เปิดให้บริการแล้วรวม 46 ศูนย์ และมีแผนจะเปิดให้ครบ 77 จังหวัดภายในปี 2560 นอกจากนี้ สสว. ยังให้ความช่วยเหลือ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจ (turn around) ให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจซึ่งมีวงเงินรวม 3 พันล้านบาท ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SMEs และ Micro SMEs ได้รับ การอนุมัติสินเชื่อแล้ว 512 ราย วงเงิน 413 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกู้ระยะยาว 10 ปีแบบไม่ คิดดอกเบี้ย ที่ได้อนุมัติแล้วภายใต้โครงการเงินทุนพลิกฟื้นและฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดย่อม จำนวน 457 ราย เป็นวงเงินรวม 401.82 ล้านบาท เฉลี่ยรายละ 879,256.02 บาท ล่าสุด สสว. ได้จัดสรรเงินจากกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 500 ล้านบาทเพื่อดำเนินกิจกรรมสินเชื่อประชารัฐ เพื่อ Micro SMEs ซึ่งเป็นสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนกู้ยืมไม่เกิน 2 แสนบาท/ราย อัตราดอกเบี้ย 0% ระยะเวลาการกู้ 10 ปี แบบไม่ต้องมีหลักประกันทั้งนี้ ในปัจจุบันมีผู้สนใจยื่นขอสินเชื่อจำนวน 1,913 ราย คิดเป็นวงเงิน 382.60 ล้านบาท โดย สสว. ได้ปรับปรุงวิธีการปล่อยกู้ให้รวดเร็วขึ้นในลักษณะเดียวกันกับที่สถาบันการเงินใช้ในการให้สินเชื่อ credit card หรือ personal loan ด้วยเป้าหมายการอนุมัติเงินกู้ให้ได้ภายใน 7 วันทำการ นับตั้งแต่ผู้ประกอบการยื่นคำาขอกู้ และได้พยายามจัดขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินกู้ให้รวดเร็วที่สุดซึ่งในปัจจุบันสามารถอนุมัติเงินกู้ล็อตแรกได้แล้ว 55 ราย วงเงินรวม 11 ล้านบาท การขับเคลื่อนนโยบายตามแนวทางประชารัฐของ สสว. ในวันนี้ นับเป็นอีกหนึ่งกลไกในการส่งเสริม SMEs เพื่อเป็นรากฐานในการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจไทยในยุค 4.0 ให้เติบโตได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสำหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)