Kantar เผยผลกระทบกรณี เครือซีพี ควบรวม Tesco Lotus - Forbes Thailand

Kantar เผยผลกระทบกรณี เครือซีพี ควบรวม Tesco Lotus

PR / PR NEWS
08 Apr 2020 | 02:06 PM
READ 7705

Kantar ผู้ให้บริการด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก เผยข้อมูลเปรียบเทียบเมื่อ 12 สัปดาห์ที่ผ่านมา ชี้วัดพฤติกรรมผู้บริโภคที่สะท้อนการดีลที่ผ่านมา

ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (OTCC) กำลังประเมินว่าการซื้อกิจการ Tesco ในเอเชียโดยเครือซีพี นั้นจะเป็นการผูกขาดตลาดหรือไม่ Kantar ได้เผยข้อมูลเชิงลึกถึงการผนึกรวมกันของการผนึกกันของ Tesco Lotus 7-eleven และ Makro ของเครือซีพีจะทำให้มีสัดส่วน 20% ของยอดขายของชำที่นำไปบริโภคที่บ้าน (Take Home Grocery) “เมื่อเทียบช่วง 12 สัปดาห์ที่ผ่านมา Tesco ในประเทศไทยมีส่วนแบ่ง 19% ขณะที่ธุรกิจของ Tesco ครองส่วนแบ่ง 27% ของตลาดของชำในสหราชอาณาจักร” Howard Chang  กรรมการผู้จัดการ  Kantar (Worldpanel Division) ประเทศไทยและมาเลเซียกล่าวและชี้ว่า “ดังนั้นจากมุมมองขนาดตลาด การซื้อกิจการครั้งนี้ไม่ได้เป็นการผูกขาด” อย่างไรก็ตามการค้าแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ยังมีความแข็งแกร่งในประเทศไทย ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของยอดขายของชำทั้งหมด แต่หากพิจารณาถึงส่วนแบ่งของกลุ่มซีพี ภายในโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ส่วนแบ่งทางการตลาดของเครือซีพีจะเป็น 45% ของยอดขายจากโมเดิร์นเทรด ซึ่งหมายความว่าเกือบ 1 ใน 2 บาท จะเข้าไปสู่กิจการเหล่านี้ แม้จะเป็นตัวเลขที่สูงแต่ยังไม่ส่งผลต่อการควบคุมตลาดค้าปลีกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ทางเลือกก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ซึ่งหาก TCC Group ซึ่งเป็นเจ้าของ BigC ควบกิจการ Tesco Lotus ไป จะกลายเป็น 40% ของยอดขายจากโมเดิร์นเทรด

| การซื้อกิจการมีผลต่อทางเลือกของผู้บริโภค |

ทางเลือกของผู้บริโภคเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่จะช่วยวัดผลกระทบของการซื้อกิจการในครั้งนี้ Howard Chang อธิบายว่า “ทุกคนมีทางเลือกว่าจะซื้อของที่ไหนและซื้ออะไร แต่การซื้อกิจการนี้จะกำจัดตัวเลือกเหล่านั้นและทำให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งสามารถควบคุมอุปทานและราคาได้หรือไม่” โดยวิธีการประเมินทางเลือกของผู้บริโภคคือผ่านการสังเกตว่าพวกเขาจับจ่ายที่ไหน จากการวิเคราะห์จำนวนครั้งการจับจ่ายที่สะท้อนว่าเครือซีพี จะมีอิทธิพลต่อทางเลือกผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด จากข้อมูลของ Kantar พบว่าในประเทศไทยมีประมาณ 25.8 ล้านครัวเรือน ซึ่ง 73% ของผู้บริโภคจับจ่ายอย่างน้อย 1 ครั้ง ที่ Tesco 7-Eleven และ/หรือ Makro ในช่วง 12 สัปดาห์ที่ผ่านมา มากกว่า 2 ใน 3 ครัวเรือนจะซื้อสินค้าในร้านค้าในเครือ CP Group “เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการวัดอื่นๆ แล้ว เปอร์เซ็นต์เพรนิเทชันนี้ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่อยู่เหนือผู้บริโภค” Howard Chang กล่าว “การรวมกันของ BigC และ Tesco เพรนิเทชันจะเป็น 60% และการรวมกันของ Central Retail และ Tesco จะอยู่ที่ 53%” เมื่อ 12 สัปดาห์ที่ผ่านมายังพบว่ามีจำนวนการจับจ่ายของชำถึง 1.06 พันล้านครั้ง โดยผู้บริโภค 16% จับจ่ายที่ Tesco 7-Eleven และ/หรือ Makro โดยก่อนการซื้อกิจการ 7-Eleven และ Makro ถือครองส่วนแบ่งจำนวนการจับจ่ายทั้งหมด 11% และหลังการซื้อกิจการ Tesco ทำให้เครือซีพีเพิ่มส่วนแบ่งจำนวนการจับจ่ายเกือบ 50% “อย่างไรก็ตามยังห่างไกลจากการควบคุมผู้บริโภค” Howard Chang กล่าว “เพราะเราเห็นได้ว่าผู้บริโภคยังคงจับจ่ายที่อื่น 4 ใน 5 ครั้ง”

| แบรนด์และซัพพลายเออร์ต่างได้รับผลกระทบ |

ทั้งนี้จากการวิเคราะห์  Kantar ผลกระทบที่สำคัญที่สุดจากการซื้อกิจการครั้งนี้คือ แบรนด์และซัพพลายเออร์ที่มีต่อร้านค้าในเครือซีพี ด้วยความเป็นเจ้าของ Tesco จากการควบกิจการนี้จะเป็นเจ้าของไฮเปอร์มาร์เก็ตอันดับ 1 ร้านสะดวกซื้ออันดับ 1 และซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ “สิ่งนี้ทำให้เครือซีพี อยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งมากในการเจรจาต่อรองและสามารถสร้างแรงกดดันอย่างมีนัยสำคัญต่อซัพพลายเออร์” Howard Chang กล่าว การควบกิจการนี้เพรนิเทชันครอบคลุมเกือบ 3 ใน 4 ของครัวเรือนไทย และได้รับ 1 จาก 5 บาท ทุกการจับจ่ายจากร้านขายของชำ เมื่อพิจารณาถึงเครือซีพีที่ขยายขึ้นและมีความแข็งแกร่งในธุรกิจการเกษตร ทำให้กลุ่มธุรกิจของพวกเขาอยู่ในตำแหน่งที่น่าอิจฉาของการจัดการซัพพลายเชน แต่ “จากฟาร์มสู่ร้านค้า” ไม่น่าจะเป็นการผูกขาดหรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากมีการแข่งขันที่เพียงพอในตลาดค้าปลีก และไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะบังคับให้ผู้บริโภคยอมจ่ายในราคาที่แพงขึ้น การจับจ่ายออนไลน์เป็นธุรกิจค้าปลีกที่สำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาและยังคงมีศักยภาพในการเติบโต ปัจจุบัน 1 ใน 5 ของครัวเรือนซื้อของชำผ่านออนไลน์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเป็นผลิตภัณฑ์ด้านความงามส่วนใหญ่ ในขณะที่แบรนด์ต่างๆ มองหาเส้นทางไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้นนี่อาจเป็นตัวกระตุ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

| โอกาสสำหรับนวัตกรรมทางธุรกิจ |

ในอนาคตการเจรจาระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ต่อเครือซีพี จะมีความท้าทายมากขึ้น การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้อาจเป็นการส่งเสริมนวัตกรรมในธุรกิจให้มีมากขึ้น ธุรกิจจะต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนใคร ในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านผลิตภัณฑ์และบริการ จากข้อมูลของคันทาร์ (Kantar) เมื่อเราพิจารณาถึงวิธีที่ผู้คนจับจ่ายควบคู่ไปกับแนวโน้มของผู้บริโภคที่หลากหลายและมีความต้องการที่ซับซ้อนขึ้น Tesco 7-Eleven และ Makro มีรูปแบบร้านค้าที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งแตกต่างกันไปในขนาด ช่วงของผลิตภัณฑ์ สถานที่และบริการ จะเป็นการช่วยในการตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของผู้บริโภคและแรงจูงใจในการจับจ่าย ความเชี่ยวชาญที่หลากหลายนี้จะทำให้เครือซีพี มีโอกาสเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านกลยุทธ์การค้าปลีก การรวมกิจการจะสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อให้บริการและแนวทางใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวม
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine