Blockchain เปลี่ยนโลกการเงิน - Forbes Thailand

Blockchain เปลี่ยนโลกการเงิน

อุปสรรคการส่งเงินที่ไม่ง่ายเหมือนการส่งข้อความ ทั้งบริการชำระเงินที่ไม่ครบวงจรและแตกต่างกันอยู่มากมาย รวมถึงการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตที่ไม่สะดวกสบาย โดยบางร้านค้าเลือกรับชำระเงินเฉพาะบัตรเครดิตที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น Visa และ Mastercard หรือบางรายก็รับเพียงบัตรเครดิตที่ออกโดยสถาบันการเงินภายในประเทศเท่านั้น

สำหรับปัญหาของระบบการเงินในปัจจุบันเช่น ระบบการชำระเงินที่ยังไม่สามารถทำงานร่วมกันอย่างลื่นไหล ผู้บริโภคไม่สามารถคาดการณ์เวลาที่การชำระเงินจะมาถึงและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องได้ การคิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างผู้ใช้ทั้งสองฝั่ง รวมถึงค่าธรรมเนียมการชำระเงินในอัตราสูงโดยเฉพาะการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งผู้บริโภคไม่อาจจะทราบล่วงหน้าได้ว่าการชำระเงินดังกล่าวเป็นไปตามกฎระเบียบหรือไม่ นอกจากนี้ ตลาดการชำระเงินยังได้รับการผูกขาดโดย Visa, Mastercard, Alipay, PayPal, Swift และอื่นๆ การทำให้เกิดเป็นวงจรจะต้องใช้เวลา เงิน และทรัพยากรเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นกรรมสิทธิ์แบบไม่เปิดกว้างและไม่ยอมให้มีการเผยแพร่นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ซอฟต์แวร์และกรรมสิทธิ์แบบผูกขาดเป็นการจำกัดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรการเงินต่างๆ โดยหน่วยงานกำากับดูแลต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการได้รับมาซึ่งข้อมูลตามเวลาจริงจากตลาด และระดับของการฉ้อโกงสูง อย่างไรก็ตาม การมาของเทคโนโลยีบล็อคเชน (blockchain) การชำระเงินในอนาคตจะเป็นเรื่องง่ายดายเสมือนกับการติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตในขณะนี้

นิยามบล็อคเชน

บล็อคเชนถือเป็นหนึ่งในโปรโตคอล (protocol) ขั้นพื้นฐาน ซึ่งโปรโตคอลเป็นคำศัพท์ทางเทคนิคหมายถึง ภาษามาตรฐานที่ช่วยให้ผู้คนจำนวนมากบนอินเทอร์เน็ตทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะได้ สำหรับโปรโตคอลอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้เป็นระยะเวลานาน ได้แก่ โปรโตคอลที่กำหนดวิธีการส่งข้อมูลไปบนเว็บ (HTTP) โปรโตคอลแอพ อีเมลที่ใช้สำหรับการส่งและรับอีเมล (SMTP) โปรโตคอลของเบราเซอร์สำหรับการถ่ายโอนข้อมูลที่ปลอดภัยหรือก็คือแม่กุญแจสีเขียวขนาดเล็กที่เบราเซอร์เมื่อชำระเงินด้วยบัตรเครดิต (SSL) ขณะที่บล็อคเชนเป็นโปรโตคอลอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การส่งและรับสามารถเปลี่ยนมูลค่าบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบที่เป็นภาษาเดียวกัน โดยเป็นโปรโตคอลตัวแรกที่ช่วยให้ใครก็ตามที่อยู่บนโลกสามารถเข้าถึงระบบทางการเงินแบบเปิดขั้นพื้นฐานได้ ผ่านซอฟต์แวร์ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ด้านระบบการทำงานเริ่มต้นตั้งแต่ช่วง 40 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตในชั้นเลเยอร์แรก (first layer) ทำให้เกิด Internet of Information ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบของสำเนา ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ spreadsheet, PowerPoint, เอกสาร Word หรืออีเมล โดยการโอนเงินผ่านทางออนไลน์ แต่ค่าเงินไม่ได้รับการเคลื่อนย้ายโดยตรง แต่เป็นการส่งคำสั่งไปที่ตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารบริษัทบัตรเครดิต PayPal หรือ Western Union เพื่อส่งต่อมูลค่าให้ และการมีส่วนร่วมของบุคคลที่สามดังกล่าว ในการโอนเงินทางออนไลน์นั้นย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่เมื่อมาถึงการโอนถ่ายมูลค่าบนอินเทอร์เน็ต เช่น การส่งเงิน 100 บาท ไปยังบุคคลหรือธุรกิจออนไลน์ ผู้ส่งต้องไม่มีสำเนาของเงิน 100 บาท อยู่ในเครื่องของตนเองหลังจากส่งเงินออกไปแล้ว ซึ่งวิธีที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ คือ การใช้ตัวกลางที่มีอำานาจในการตรวจสอบความถูกต้องของบุคคลต่างๆ ในการทำรายการและเพื่อสร้างความไว้วางใจ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตัวกลางยังคงมีข้อจำกัดในหลายด้าน ซึ่งบล็อคเชนนับเป็นเลเยอร์ชั้นที่สองของอินเทอร์เน็ตซึ่งช่วยทำลายข้อจำกัดให้สามารถแลกเปลี่ยนมูลค่ากันแบบ peer-to-peer เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และส่งผลให้โลกทางการเงินทั้งหมดเปลี่ยนไป  

ระบบการเงินใหม่แห่งอนาคต

เมื่อทุกอย่างสามารถเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิทัล โดยสินทรัพย์ทั้งหมดได้รับการเก็บไว้ในรูปแบบดิจิทัลและมี API เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมดในอนาคต โดยการเข้าถึงสินทรัพย์จะสามารถทำได้ ด้วยการใช้กุญแจเข้ารหัส ระบบบัญชีทั้งหมดจะสื่อสารกันผ่านโปรโตคอลที่เหมือนกัน หรือการนำภาษาเดียวกันมาใช้ รวมถึงแอพพลิเคชั่นพื้นฐาน ส่วนประกอบ ไลบรารี จะอยู่ในรูปแบบของ open-source และไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต ขณะที่บทบาทของธนาคารและการธนาคารจะเปลี่ยนไป ค่าธรรมเนียมและธุรกิจ ซึ่งยังดำารงอยู่ได้จากการฝากและถือครองสินทรัพย์จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีหน้าที่ของธุรกิจหลักเหล่านี้จะพัฒนาไปเป็นการบริหารจัดการ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และไอทีแทน ด้านผู้บริโภคจะสามารถเริ่มธุรกิจได้รวดเร็วมากขึ้นจากระบบการเงินใหม่โดยเฉพาะ การทำรายการที่สะดวกรวดเร็วและค่าธรรมเนียมต่ำซึ่งคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนที่มีระบบชำระเงินจะกลายเป็น PoS และบัตรเครดิตจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็น สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากได้สุด ได้แก่ ธุรกิจการธนาคาร ธุรกิจเทรดไฟแนนซ์ ตลาดหุ้น กลุ่มวานิชธนกิจ และงานด้านกฎหมาย โดยกลุ่มธุรกิจที่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงล้มเหลวขาดทุน คือ กลุ่มบริษัทที่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางการเงินของผู้ใช้บริการ ด้วยการวางทรัพย์สินของผู้ใช้บริการในระบบปิดที่เป็นกรรมสิทธิ์และบังคับให้จ่ายค่าธรรมเนียมในอัตราสูงสำหรับการทำรายการ ดังนั้น ประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศใหม่อย่างรวดเร็ว ด้วยการสร้างเทคโนโลยีและส่วนประกอบต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่น สำหรับผู้บริโภค การธนาคาร การแลกเปลี่ยน การรับฝาก ระบบดำเนินการ เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์การบัญชีต่างๆ ที่เป็นแบบ open-source และไม่เสียค่าใช้จ่ายท้ายที่สุดการแข่งขันและระบบนิเวศใหม่ ในอนาคตจะทำให้เกิดความเป็นธรรมและประโยชน์ต่อผู้ใช้มากที่สุด โดย จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Coins.co.th