APPLE. GOOGLE. CYANOGEN? - Forbes Thailand

APPLE. GOOGLE. CYANOGEN?

FORBES THAILAND / ADMIN
22 Jul 2015 | 03:51 PM
READ 2930
เรื่อง: MIGUEL HELFT เรียบเรียง: พิษณุ พรหมจรรยา ภาพ: ERIC MILLETTE (อ่านฉบับเต็ม "APPLE. GOOGLE. CYANOGEN?" ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ JUNE 2015) ร้านขายอุปกรณ์ระบบประปาใน Palo Alto รัฐ California ถูกดัดแปลงมาเป็นสำนักงานที่ไม่มีใครรู้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ทำงานของธุรกิจ startup ที่ชื่อ Cyanogen โดยมีป้ายหน้าอาคารเขียนไว้ว่า “John F. Dahl Plumbing and Heating (since 1895)” ทั้งทำเลที่ตั้งและตัวอาคารเหมาะอย่างยิ่งสำหรับจะซุ่มพัฒนาแผนธุรกิจที่ถือว่าท้าทายที่สุดแผนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของ Silicon Valley “เราจะไปยิงกบาล Google” McMaster กล่าว ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีใครทำอะไรบ้าง นวัตกรรมของ iPhone ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวงการมือถือกำลังเริ่มเข้าสู่จุดหักเหครั้งใหม่ ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าจำนวนสมาร์ทโฟนในโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 พันล้านเครื่องภายในปี 2020 และราคาสมาร์ทโฟนกำลังร่วงลงอย่างมาก เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตรายใหม่อย่าง Xiaomi เกิดและโตได้ภายในระยะเวลาสั้นอย่างเป็นประวัติการณ์ แต่ iOS ของ Apple และ Android ของ Google ก็ยังครองส่วนแบ่งตลาดของระบบปฏิบัติการมือถือถึง 96% โดยเราในฐานะผู้ใช้ก็ทำได้แค่เลือกระหว่างระบบใดระบบหนึ่งของยักษ์ใหญ่สองเจ้านี้ สิ่งที่ McMaster กำลังพยายามทำก็คือการนำเสนอ Cyanogen ซึ่งเป็นทางเลือกที่สามให้ผู้ใช้บริการทั่วโลก ซึ่งหากจะว่าไปแล้วระบบปฏิบัติการมือถือ หรือ OS ที่มีอายุหกปีนี้ ก็คือ Android OS เวอร์ชั่นที่ปรับปรุงให้ดีขึ้นและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของ Google McMaster เปิดเผยกับ Forbes เป็นที่แรก ถึงแผนของเขาในการรวบรวมพันธมิตรและสะสมเงินทุนสำหรับการเข้าไปชิงชัยในเกมที่มีสองยักษ์ใหญ่ครองตลาดอยู่ เมื่อไม่นานมานี้ Cyanogen ระดมทุนได้ 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากกลุ่มนักลงทุนระดับแนวหน้า ซึ่งรวมถึง Twitter, Qualcomm ผู้ผลิตชิพมือถือ, Telefonica ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ และ Rupert Murdoch เจ้าพ่อสื่อผู้ทรงอิทธิพล ซึ่งการเพิ่มทุนรอบดังกล่าวประเมินมูลค่า Cyanogen ไว้ที่เกือบ 1 พันล้านเหรียญ ก่อนหน้านั้น Cyanogen ได้เพิ่มทุน 30 ล้านเหรียญ โดยกลุ่มที่ใส่เงินลงทุนเข้ามาในรอบก่อนได้แก่ Benchmark, Andreessen Horowitz, Redpoint Ventures และ Tencent สำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft และ Cyanogen กำลังเจรจากันอยู่และใกล้จะได้ข้อสรุปในการจับมือเป็นพันธมิตรเพื่อติดตั้งบริการบนมือถือของ Microsoft หลายๆ อย่าง เช่น Bing, Cortana, OneDrive Skype และ Outlook บนเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ใช้ OS ของ Cyanogen “ทั้งผู้ผลิตแอพและชิปต่างก็วิตกกับการที่ Google ควบคุมประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง” Peter Levine ซึ่งเป็น partner ของ Andreessen Horowitz กล่าว นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีโทรศัพท์มือถือมากถึง 1 พันล้านเครื่องที่ติดตั้ง OS ของ Cyanogen ซึ่งนั่นเป็นจำนวนที่มากกว่าจำนวนเครื่อง iPhone ทั้งหมดที่ขายได้แล้วจนถึงตอนนี้ ในปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Cyanogen OS บนโทรศัพท์มือถือแล้วมากถึง 50 ล้านคน ซึ่งผู้ใช้เกือบทุกรายต้องใช้เวลานานนับชั่วโมงเพื่อลบระบบปฏิบัติการ Android ทิ้งไป แล้ว reboot ใหม่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผู้เล่นที่ใหญ่กว่า Cyanogen หลายรายที่พยายามจะสร้าง OS ระบบที่สามขึ้นมาแต่ต้องประสบความล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Blackberry, Samsung, Mozilla, Nokia, Intel, Palm ซึ่ง McMaster ก็เข้าใจบทเรียนของบริษัทเหล่านี้ดี และหวังว่าการเปิดรหัสของ Cyanogen ในแบบที่ทั้ง iOS และ Android ไม่ได้ทำ จะช่วยดึงนักพัฒนา app ซึ่งรู้สึกว่าถูกบีบโดย Apple และ Google ให้หันมาทาง Cyanogen Cyanogen เกิดขึ้นมานานก่อนที่ McMaster จะตั้งตัวเองเป็น David เพื่อที่จะล้มยักษ์ Goliath อย่าง Google ย้อนกลับไปเมื่อปี 2009 Steve Kondik นักเขียนโปรแกรมและเจ้าของกิจการอายุ 40 ปี ในขณะที่ McMaster ออกแนวหุนหันพลันแล่น Kondik ออกแนวสุขุมและละเอียด เขาเริ่มจากการเปลี่ยนแปลง interface บางอย่างของผู้ใช้งานระบบ Android และต่อจากนั้นก็หาวิธีที่จะสามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ไม่นานจากนั้น นักพัฒนาระบบนับร้อยๆ คนก็รวมตัวกันอยู่รอบตัวเขาและใช้ทักษะในเรื่องการถอดรหัสเพื่อพัฒนาระบบซึ่งในตอนนั้นเรียกว่า CyanogenMod “มันเป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายอย่างสิ้นเชิง” Kondid บอก “ตอนนั้นยังไม่ได้มีใครมองไกลไปถึงไหน” ในเวลาต่อมา ชุมชนในโลกออนไลน์เริ่มพูดถึงระบบ Android ที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะกับการใช้งานมากขึ้นในเวอร์ชั่นของ Kondik และภายในเดือนตุลาคม 2011 ก็มีผู้ใช้งานมากถึง 1 ล้านคนที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Cyanogen บนโทรศัพท์มือถือของพวกเขา แปดเดือนต่อจากนั้นก็เพิ่มเป็น 5 ล้านคน จนในที่สุด Samsung ก็เห็นแวว และเสนอให้ Kondik เข้ามาร่วมทีมวิจัยและพัฒนาใน Seattle ในขณะที่ Kondik ทำงานกับทีมนักเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมานั้น McMaster ก็ฝึกฝนความเชี่ยวชาญกับบริษัทด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง ในวันเดียวกันนั้นเอง เขาก็หาตัว Kondik พบทาง LinkedIn และต่อมาทั้งสองคนก็ต่อสายโทรศัพท์คุยกัน โดย McMaster พยายามนำเสนอแผนให้ Kondik เปลี่ยนโครงการของเขาให้มาอยู่ในรูปของบริษัท โดยบอกกับเขาว่า “ผมจะเป็น CEO เอง แล้วคุณก็จะเป็น CTO เดี๋ยวผมหาเงินมาทำเอง เรามาลงมือทำกันเถอะ” ในวันรุ่งขึ้น Kondik ก็ชวนให้ McMaster มาเจอกับเขาที่ Seattle ทั้งสองพบกันที่ผับแห่งหนึ่ง Kondik บอกว่า “ตอนแรกผมก็ยังไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่” แต่หลังจากนั้นแค่ 48 ชั่วโมง ทั้งคู่ก็ตกลงที่จะร่วมมือกันและปรับรูปแบบของโครงการ Cyanogen Cyanogen ได้พัฒนามาไกลมากแล้วจากแค่งานอดิเรกของคนๆ หนึ่ง กลายมาเป็นระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนกระแสหลัก หนึ่งในตัวอย่างผู้ใช้งานก็คือ Joseph Reid ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขับรถ Toyota Prius ของเขารับส่งผู้โดยสารใน San Francisco ที่เรียกใช้งานผ่านบริการ Lyft โดย Reid จะติดต่อกับลูกค้าและหาเส้นทางจากสมาร์ทโฟนที่ติดอยู่บนแผงหน้าปัด ซึ่งรุ่นที่เขาใช้คือ OnePlus One ซึ่งเป็นโทรศัพท์ที่ผลิตในประเทศจีน  และใช้ Cyanogen OS ที่เมื่อปีที่แล้ว Gizmodo เรียกว่าเป็น “สมาร์ทโฟนที่เยี่ยมยอดจนเหลือเชื่อ” โทรศัพท์รุ่นนี้ผ่านการทดสอบมาแล้วหลายรอบว่าสามารถใช้งานได้ดีเหนือกว่าคู่แข่ง ซึ่งรวมถึง iPhone 6 ด้วย
สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นมากกว่าก็คือ ความสำเร็จของ Cyanogen ทำให้ Android เสียโอกาสไป และทำให้ต้องขยับมาอยู่ตรงกลาง ระหว่างบริการของ Apple ในระดับ high-end และของ Cyanogen ซึ่งจำให้ภาพของธุรกิจ Google ดูซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่นักลงทุนกำลังเป็นห่วงว่า Google จะไม่สามารถทำเงินจากธุรกิจมือถือได้มากเท่ากับที่ทำได้จาก desktop จะว่าไปแล้วแม้แต่พันธมิตรของ Cyanogen บางคนเองก็ไม่ได้ชื่นชอบการพูดโอ่ว่าจะคว่ำ Google ให้ได้ “แม้ McMaster จะเป็นคนก้าวร้าว วางท่าทางใหญ่โต แต่ผมก็คิดว่าบริษัทจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีคนอย่างเขา” Sandesh Patnam จาก PremjiInvest กล่าว
อ่านฉบับเต็ม "APPLE. GOOGLE. CYANOGEN?" ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ JUNE 2015