บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ระดับโลก แถลงผลประกอบการประจำปีและไตรมาสที่ 4 ปี 2563
ผลการดำเนินงานปี 2563
- บริษัทฯ รายงานปริมาณขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เท่ากับ 08 ล้านตันในปี 2563
- บริษัทฯ รายงาน Core EBITDA ลดลงร้อยละ 3 เท่ากับ 11 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563
- กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เท่ากับ 39 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563
- รายจ่ายฝ่ายทุนเท่ากับ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 รวมรายจ่ายจากการเข้าซื้อกิจการ Spindletop (IVOX) ซึ่งใช้เงินทุนจำนวน 700 ล้านเหรียญสหรัฐจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐจากการกู้ยืมใหม่
โครงสร้างธุรกิจ บุคลากร และระบบการทำงาน
ปี 2563 นับเป็นบททดสอบแรงกดดันทางธุรกิจ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าบริษัทฯ สร้างสัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่น ยั่งยืน และอยู่ในภาวะที่เติบโตได้ดี คณะผู้บริหารได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเติบโตของบริษัทฯ โดยการปฏิรูปองค์กร และเสริมสร้างกลุ่มผู้นำในทุกกลุ่มธุรกิจ นอกจากนี้ ไอวีแอลยังได้ริเริ่มโครงการปฏิรูประบบการทำงานต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศและความมีประสิทธิภาพขององค์กร รากฐานที่สำคัญสำหรับความเป็นเลิศในการดำเนินงานอยู่ที่ความสำเร็จในการพัฒนาใช้ระบบ ERP เดียวทั่วโลก อย่าง S4 HANA ซึ่งกำลังดำเนินไปได้ด้วยดีตามแผน
โครงการ Olympus
โครงการ Olympus หรือโครงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจและการจัดการความเป็นเลิศด้านต้นทุน แสดงสัญญาณที่ดีตั้งแต่แรกเริ่ม โดยสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปีแรกกว่าร้อยละ 21 ทั้งนี้ จากการประเมินผลภายใน และประสิทธิผลของโครงการในปีที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ ปรับเป้าหมายการประหยัดต้นทุนจากโครงการ Olympus เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าบริษัทจะมี EBITDA เพิ่มขึ้นอีก 610 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีภายในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2562 (เทียบกับเป้าหมายเดิมที่ประกาศไว้ปีที่แล้วที่ 352 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งประกอบไปด้วยโครงการพัฒนาโครงสร้างต้นทุน และโครงการดำเนินงานอย่างเต็มศักยภาพกว่า 2,400 โครงการ
ความเข้มแข็งขององค์กร
บริษัทฯ มีความมั่นคงด้วยสภาพคล่องประมาณ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนธันวาคม ปี 2563 และกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 1.39 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบตามหลัก pro-forma หนี้สินจากการดำเนินงาน ณ สิ้นปี 2563 มีตัวเลขที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2562 อัตราดอกเบี้ยลดลงและบริษัทฯ ได้ล็อคหนี้สินรวมจำนวนร้อยละ 70 ที่อัตราดอกเบี้ยระดับที่ต่ำที่สุดนี้ บริษัทฯ ยังคาดการณ์ว่าจะใช้กระแสเงินสดอิสระในปี 2564 ในโครงการเชิงกลยุทธ์ต่างๆ (รวมทั้งการเติบโตของกลุ่มธุรกิจรีไซเคิล) การชำระคืนหนี้สิน และการพัฒนาปรับปรุงผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นและ ROCE ของบริษัทฯ
ภาพรวม
ด้วยโรงงาน 123 แห่งใน 33 ประเทศทั่วโลก บริษัทฯ อยู่ในตำแหน่งที่ดีในการได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภคในปี 2564 จากทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจ และในทุกๆ ธุรกิจย่อยในกลุ่มเหล่านั้น เราคาดหวังว่าเมื่อมีการเปิดตัววัคซีนต้านโรคโควิด-19 และการผ่อนปรนมาตรการเฝ้าระวังต่างๆ จะส่งผลให้อุปสงค์ต่อเส้นใยโพลีเอสเตอร์ฟื้นตัว ทำให้อุปสงค์และสเปรดของพาราไซลีน PTA และ MEG ปรับตัวดีขึ้น รวมไปถึงอุปสงค์สินค้าในกลุ่มเส้นใยไลฟ์สไตล์ของเรา
ในขณะเดียวกันคาดว่าปริมาณการเดินทางที่สูงขึ้นจะช่วยเพิ่มอุปสงค์ต่อผลิตภัณฑ์เส้นใยในกลุ่มยานยนต์ ในขณะที่ปริมาณการอุปโภคน้ำมันที่สูงขึ้นคาดว่าจะเสริมสเปรดของ MTBE นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นจะยิ่งเสริมสเปรดของ MEG และ MTBE ไปพร้อมๆ กับการได้รับผลประโยชน์ที่มากขึ้นจากข้อได้เปรียบของ shale gas บริษัทฯ คาดการณ์ว่าอุปสงค์ต่อสินค้าในกลุ่มธุรกิจ PET ธุรกิจเส้นใยสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย และกลุ่มธุรกิจ IOD ที่มีมูลค่าเพิ่มของเราจะยังคงแข็งแกร่งต่อไป
ด้าน อาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับเราในปี 2563 คือการที่เราสร้างกลุ่มธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งทั้งสามกลุ่ม ที่ช่วยสนับสนุนความหลากหลายของรายได้พร้อมการบูรณาการ ความยืดหยุ่นทางธุรกิจ และเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตในอนาคต เราดำเนินธุรกิจต่อไปได้ท่ามกลางผลกระทบต่างๆ โดยไม่ส่งผลเชิงโครงสร้างต่อตลาดที่เราให้บริการ ความปลอดภัยและสุขอนามัยยังคงเป็นคุณสมบัติเด่นในผลิตภัณฑ์ของเรา และการระบาดใหญ่ทั่วโลกในครั้งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์เพิ่มเติมถึงความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ของเรา
ในปี 2563 เรามีการนำร่องการปฏิรูปโครงสร้าง การเตรียมความพร้อมให้ผู้บริหารด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม และการสร้างความแข็งแกร่งภายในจากระบบที่จะนำพาองค์กรไปสู่อนาคต ด้วยสิ่งเหล่านี้ เรามีการเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนสู่บทใหม่ด้วยการยกระดับไอวีแอลให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และมีนวัตกรรม”
อ่านเพิ่มเติม:
“ดันน์ฮัมบี้” เผยผล ดัชนีวัดความพึงพอใจต่อกลุ่มห้างค้าปลีกในไทย