โจทย์ใหญ่เศรษฐกิจไทยปีแพะ - Forbes Thailand

โจทย์ใหญ่เศรษฐกิจไทยปีแพะ

FORBES THAILAND / ADMIN
10 Jun 2015 | 05:12 PM
READ 3713
กลางปี 2557 ราคาน้ำมันปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว เป็นข่าวดีของผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าและบริการได้ในราคาถูกลง แต่สำหรับซื้อสินค้าและบริการได้ในราคาถูกลง แต่สำหรับผู้ผลิตสถานการณ์ดูไม่เป็นใจ เข้าสู่ปี 2558 ราคาสินค้าลดลงจากต้นทุนราคาน้ำมันแต่ความต้องการซื้อสินค้าของประชาชนกลับ ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ปริมาณสินค้าที่ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคน้อยกว่าที่ ควรเป็น ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการลงทุนถาวรที่ได้จ่ายล่วงหน้า ไป ผู้ที่ต้องรับภาระนี้คือผู้ผลิตนั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้นผู้ผลิต เพื่อส่งออกต้องเผชิญกับการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และปัญหาเงินบาทแข็งค่ามากวนใจทั้งที่ดูเหมือนไม่น่าจะมีปัญหา เมื่อค่าเงินบาทต่อเงินเหรียญสหรัฐ ยังเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่ไม่ต่างจากปีก่อน (ราว 32.5 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ ช่วงปลาย ก.พ. 2558) แต่ถ้าเทียบกับคู่ค้าหลัก เช่น สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ที่ใช้มาตรการทางการเงินแบบผ่อนคลาย ทำให้ค่าเงินยูโร และเยนอ่อนลงกลายเป็นว่าสินค้าส่งออกส่งไปทั้ง 2 ตลาดมีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับของที่ผลิตในประเทศนั้นเอง นำมาสู่คำสั่งซื้อสินค้าไทยที่ลดลง

มองดูเผินๆ อาจสรุปได้ว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีเพียงแค่ผู้ผลิต แต่กระบวนการผลิตไม่ได้มีเพียงแค่เจ้าของทุนเท่านั้น แต่ยังรวมพนักงาน รายได้ที่ได้รับ ซึ่งอีกด้านหนึ่งจะถูกนำไปใช้เพื่อเพิ่มอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการภายใน ประเทศ เมื่อแรงงานหรือคนหนุ่มสาวไม่มีงานทำ ไม่มีเงินจับจ่าย ผลที่ตามมาคือสินค้าที่ผลิตออกมาขายไม่ได้ ต้องลดราคาลงอีก ภาวะเช่นนี้ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่าภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองบวกราคาสินค้าติดลบ (deflation/negative inflation)

ระหว่างปี 2535-2555 ญี่ปุ่นเผชิญภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง-ราคาสินค้าติดลบ เป็นเวลา 20 ปี ที่คนญี่ปุ่นหันมาเก็บเงินและบริโภคน้อยลง เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม มีอัตราการว่างงานของหนุ่มสาวสูงขึ้นอย่างกะทันหัน และกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มภาระให้กับประชากรวัยแรงงาน ผ่านนโยบายการจ่ายเงินบำนาญของรัฐเพื่อดูแลประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงต่ออนาคตทางการเงินของทุกชนชั้น

แม้ที่ ผ่านมา ทุกรัฐบาลญี่ปุ่นมีเป้าหมายในการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศเพื่อฟึ้นฟู เศรษฐกิจ แต่ยังไม่มีรัฐบาลใดสามารถทำให้ญี่ปุ่นก้าวข้ามภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองโดยเด็ด ขาดได้ พอมีแววจะสำเร็จได้บ้างก็คือรัฐบาลปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี อาเบะ ซึ่งเมื่อต้นปี 2558 หลังจากผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนมาแล้ว 2 ครั้ง ก็เริ่มเห็นแววว่า จะสามารถก้าวข้ามปัญหาราคาสินค้าติดลบได้

ในบริบท ของประเทศไทย เรากำลังเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุเหมือนญี่ปุ่น แม้ไม่ได้มีปัญหาการว่างงานของคนหนุ่มสาวที่มีการศึกษาสูงขึ้นอย่างชัดเจน นักในต้นปี 2558 แต่เศรษฐกิจที่ขยายตัวเพียง 0.7% ในปี 2557 ทำให้ต้องกังวลว่าวันที่คนหนุ่มสาวไทยจะตกงานมากๆ เพราะเศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราไม่เกิน 2% ต่อปี จะมาถึงเมื่อไร

คำถามที่มีตรงหน้าคือ
1) รัฐบาลจะดำเนินนโยบายอย่างไรที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการกับระดับรายได้ของผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นในอัตราที่เหมาะสม
2) ธุรกิจอุตสาหกรรมหรือบริการใดควรมีการลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มการผลิตและการจ้างงานในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่ม SME
3) ธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นใด ที่เอกชนควรพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรแรงงานไทยที่มีการศึกษาและคุณภาพสูงขึ้นให้เกิด ประโยชน์สูงสุด
4) ทำอย่างไรที่จะลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินยูโรและค่าเงินเยนทำให้ สินค้าและบริการส่งออกของไทยยังสามารถแข่งขันในตลาดโลก แม้ถูกตัดสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร (GSP) ไปเป็นส่วนใหญ่ แต่มีมาตรการลดภาษีและความร่วมมือทางการค้าในกลุ่มประเทศ ASEAN มาชดเชยได้บ้าง

คำถามเหล่านี้ต้องวิเคราะห์ต่อไปด้วยว่าจำเป็นหรือ ไม่ที่จะต้องใช้นโยบายอื่นๆ ทั้งด้านการเงิน อัตราแลกปลี่ยน การค้าต่างประเทศ การพัฒนาผู้ประกอบการ SME ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ การลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ โดยแรงงานไทยรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูงขึ้น นอกเหนือจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินของรัฐบาลตามนโยบายให้เกิดผลจริงจัง ซึ่งต้องรีบดำเนินการให้สำเร็จโดยเร็วก่อนสิ้นปี 2558

โอฬาร ไชยประวัติ อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์


คลิ๊กอ่าน FORBES THAILAND ได้ในรูปแบบ E-Magazine