เอบีม คอนซัลติ้ง เผย 3 เรื่องหลักที่องค์กรธุรกิจต้องรีบปรับตัว - Forbes Thailand

เอบีม คอนซัลติ้ง เผย 3 เรื่องหลักที่องค์กรธุรกิจต้องรีบปรับตัว

FORBES THAILAND / ADMIN
07 Jul 2020 | 06:00 PM
READ 2380

เอบีม คอนซัลติ้ง พร้อมเผย 3 กระแสเปลี่ยนโลกหลังยุคโควิด-19 แนะ 13 ตัวช่วยลดความเสี่ยงธุรกิจ ชี้เป็นโอกาสปรับองค์กรยุค ‘New Normal’

บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เผยท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากผลกระทบ  โควิด-19 ภาคธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมพร้อมฝ่ากระแส “ความไม่แน่นอน” ชี้ให้เห็น 3 กระแสหลักที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ในยุคโลกหลังโควิด-19 คือ การเปลี่ยนแปลงคุณค่าองค์กร ความเร่งด่วนในการเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitization) และการทรานส์ฟอร์มองค์กร โดยสร้างสิ่งใหม่และการเตรียมพร้อม ที่ไม่เพียงแต่เพื่อรับมือกับ “ความปกติใหม่” เท่านั้น แต่ยังเพื่อต่อกรกับภาวะที่ธุรกิจต้องหยุดชะงักจากเหตุการณ์ที่อาจคาดไม่ถึงในอนาคตด้วย Ichiro Hara กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ในเครือบริษัทเอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่าการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ในด้านสังคม โรคระบาดดังกล่าวได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์ การทำงาน การสื่อสารกับผู้อื่น รวมทั้งการเดินทางและการท่องเที่ยวของผู้คน ขณะเดียวกันในด้านเศรษฐกิจ วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้การเติบโตเศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่งผลให้ตัวเลขคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นภาคธุรกิจที่กำลังเริ่มเปิดให้บริการอีกครั้งต้องเผชิญกับความท้าทายว่าจะกลับมาดำเนินธุรกิจ ในขณะที่ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างไร “สิ่งสำคัญที่สุดคือองค์กรธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับวิถีการทำงานแบบใหม่ในระยะยาว และต้องมีการปรับธุรกิจครั้งใหญ่เพื่อสร้างอนาคตที่ดีขึ้น ถือเป็นช่วงเวลาที่องค์กรธุรกิจต้องกลับไปย้อนดูองค์กรทั้งหมดในภาพรวม และคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อมุ่งเน้นความสามารถในการฟื้นตัวและเตรียมความพร้อมรับมือกับภาวะอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้ให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักอีกครั้ง” Hara กล่าวย้ำ
 เอบีม คอนซัลติ้ง
Ichiro Hara กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคดังกล่าวนำไปสู่โอกาสขององค์กรธุรกิจในการทรานส์ฟอร์มครั้งใหญ่เพื่อประสิทธิภาพและการสร้างคุณค่าทั้งภายในและภายนอกองค์กร เอบีมได้จัดทำรายการ 13 ตัวช่วยให้ธุรกิจมองหาส่วนที่เป็นโอกาสในการทรานส์ฟอร์ม ดังนี้ ตัวช่วยเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ:
  1. Quick Cost Optimization: เน้นดูแลรายงานทางการเงินแบบระยะสั้นเพื่อจัดทำโครงสร้างต้นทุนที่จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดในช่วงธุรกิจฝืดตัว
  2. SAP Acceleration: ครอบคลุม SAP Resilience (Remote Implementation), SAP Signature Management, SAP i-RPA และ SAP SuccessFactors (Quick Implementation) เพื่อกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ เน้นความคล่องตัวและความรวดเร็วในการดำเนินงาน
  3. Remote Working Security Assessment: ลดความเสี่ยงด้านภัยคุกคามให้อยู่ในระดับต่ำสุด สร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ รองรับการทำงานระยะไกล
  4. RPAssA หรือ RPA as a Service: ปรับกระบวนการทางธุรกิจให้เป็นระบบอัตโนมัติโดยใช้ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ ลดการทำงานแบบซ้ำ ๆ โดยคน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานแบบโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดในทันที
  5. AI Debt Collection: ปรับปรุงประสิทธิภาพการติดตามรับชำระหนี้ด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่ออกแบบสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่มและตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจปัจจุบัน
  ตัวช่วยด้านการสร้างมูลค่า:
  1. SAP IBP Starter Pack: เพิ่มความสามารถทางการผลิตด้วยการตอบสนองต่ออุปสงค์และอุปทานอย่างสมดุล เพื่อเป้าหมายทางผลกำไรท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  2. Virtual Showroom Customer Experience: ส่งมอบประสบการณ์ใหม่ ในการให้บริการแนวใหม่แบบผสมผสานเทคโนโลยี Extended Reality โดยไม่มีเงื่อนไขทางกายภาพ
  3. Product Portfolio Analysis: วิเคราะห์ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์จากข้อมูลภายในและข้อมูลภายนอกเพื่อกำหนดนิยามใหม่ให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วยวัตถุประสงค์ในการยกระดับแบรนด์และเสริมสร้างผลกำไร
  4. Work Style Transformation: ดำรงไว้ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการทำงานระยะไกล ซึ่งสามารถทำงานจากที่ไหนและเมื่อใดก็ได้
  5. Elastic Business Redesign: พัฒนา ปรับระดับและประคองธุรกิจท่ามกลางความไม่แน่นอนและ ปูทางให้มีการปรับตัวทางธุรกิจครั้งใหญ่ในระยะยาวมากขึ้น
  6. New Customer Journey: โมเดลการขายและการตลาดแบบใหม่ที่เฉพาะตัวมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
  7. DX Maturity Assessment: ประเมินความพร้อมด้านการปรับองค์กรเข้าสู่เส้นทางดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ตลอดจนส่งมอบแนวทางในการจัดอันดับความสำคัญของงานและการเตรียมความพร้อม
  8. Agile System Development Assessment: พัฒนาระบบงานที่ยืดหยุ่นและมีความคล่องตัวสูงให้สอดคล้องกับการปรับวัฒนธรรม องค์กร แนวทาง กระบวนการทำงานและเทคโนโลยี
  “สำหรับ 3 กระแสหลักที่จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคหลังโควิด-19 คือการเปลี่ยนแปลงคุณค่าองค์กร แม้ว่าโลกทุนนิยมจะดำเนินต่อไปในอนาคต แต่จะมีการมุ่งเน้นเรื่องคุณค่าทางสังคมเพื่อตอบสนองชุมชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ ด้วย กระแสที่สอง คือความเร่งด่วนในการเข้าสู่ระบบดิจิทัลเนื่องจากโควิด-19 สะท้อนให้เห็นโลกแห่งอนาคต ดิจิทัลจะเป็นศูนย์กลางของการมีปฏิสัมพันธ์ทั้งหมด การเข้าสู่ระบบดิจิทัลจะเป็นเรื่องเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น กระแสที่สาม คือการปรับองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่เป็นการรวมผลของการเร่งดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน กับการปรับกระบวนทัศน์เพื่อดำเนินงานในรูปแบบ “ความปกติใหม่” เป็นตัวกำหนดมาตรฐานใหม่ที่จะนำมาใช้ประเมินบริษัทต่างๆ” Ichiro Hara กล่าวปิดท้าย