ตาราง: อัตราการพัฒนาเข้าสู่สังคมเมืองของหัวเมืองต่างจังหวัด (คลิ๊กอ่านฉบับเต็ม "เมื่อเมืองโต โรงพยาบาลเอกชนก็ขยายตาม" ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ JUNE 2015)
กรุงเทพ คือ ศูนย์กลางของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไม่ต่างจากเมืองหลวงอื่นในอาเซียน ทว่า หัวเมืองใหญ่นอกกรุงเทพหลายแห่งต่างเติบโตขึ้นอย่างมาก ทั้งการพัฒนาทางเศรษฐกิจการเมือง จำนวนคนชนชั้นกลางและความต้องการบริการด้านสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น
บริการด้านสุขภาพในประเทศไทย ต้องตอบสนองทั้งบริการแก่พลเมืองในประเทศที่ 95% ของประชากร 65 ล้านคน ได้รับความคุ้มครองภายใต้หลักประกันสุขภาพของรัฐบาล และบริการแก่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารักษาในประเทศ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทยเติบโตอย่างมาก จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาใช้บริการด้านสุขภาพในประเทศระหว่าง 2008-2013 เพิ่มเฉลี่ยปีละ 17% และรายได้จากการบริการด้านสุขภาพ เพิ่มเฉลี่ยปีละ 28% ในปี 2013 จำนวนนักท่องเที่ยวด้านสุขภาพอยู่ที่ 2.8 ล้านคน นำรายได้ด้านการดูแลสุขภาพประมาณ 4.9 พันล้านเหรียญ
หนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ ความได้เปรียบด้านราคาเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้การสนับสนุนจากรัฐบาลให้เมืองต่างๆ ในประเทศไทยเป็นจุดหมายของการบริการด้านสุขภาพอย่างมีคุณภาพ และเป็นปลายทางของการท่องเที่ยวในรูปแบบอื่นๆ ส่งผลให้โรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ขยายการลงทุนออกนอกเมืองหลวงไปจังหวัดที่ เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น พัทยา ภูเก็ต และชลบุรี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่มีกำลังซื้อสูงจากทั้งชาวไทยและ ชาวต่างชาติ
โรคหลักและความท้าทายทางการแพทย์
ประเทศไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคาดการณ์ว่าจำนวนผู้สูงอายุจะสูงถึง 20% ของประชากรโดยรวมในอีก 10 ปีข้างหน้าซึ่งภาคเหนือจะเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดการเข้า สู่สังคมผู้สูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเข้าสู่สังคมเมือง ส่งผลให้ความต้องการการรักษาพยาบาลสำหรับโรคเรื้อรังแต่ไม่ติดต่อเช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจโรคหลอดเลือดและความดันโลหิต เพิ่มขึ้นมากในอนาคต
บริการสุขภาพในเมืองใหญ่ในภูมิภาค
การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด และการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรสู่อุตสาหกรรม ทำให้การพัฒนาเข้าสู่สังคมเมืองของประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
อัตราเฉลี่ยการพัฒนาเข้าสู่ สังคมเมืองของจังหวัดหัวเมืองใหญ่ อยู่ที่ 57% ต่อปี เทียบกับ กรุงเทพและปริมณฑลซึ่งอยู่ที่ 10% ต่อปีเท่านั้น ขณะเดียวกัน อำนาจในการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในหัวเมืองใหญ่ในทุกภูมิภาค และคาดการณ์อัตราส่วนผู้สูงอายุถึง 38% ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในอีก 10 ปีข้างหน้าส่งผลให้เกิดการขยายตัวของโรงพยาบาลนอกเขตกรุงเทพมากขึ้น
ปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนได้เล็งเห็นความสำคัญเชิงเศรษฐกิจของหัวเมืองต่างจังหวัดมาก ขึ้น เนื่องจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการการบริการด้านสุขภาพ อย่างเช่นการเปิดประชาคมอาเซียน และอัตราการพัฒนาเข้าสู่สังคมเมืองที่มีอัตราสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนอำนาจการซื้อที่สูงขึ้นตามมาของประชากรในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความต้องการทางด้านสาธารณสุข ปัจจัยดังกล่าวต่างเป็นตัวเร่งทำให้เกิดการลงทุนในสถานพยาบาลนอกเขตกรุงเทพ และปริมณฑลมากขึ้น
วัลคุ์วดี เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท Solidiance (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์องค์กรแก่หน่วยงานที่สนใจลงทุนในเอเชีย ในธุรกิจต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเขียว การบริการและสินค้าทางการแพทย์ และเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร มีสำนักงานใน 10 ประเทศในเอเชีย
คลิ๊กอ่านฉบับเต็ม "เมื่อเมืองโต โรงพยาบาลเอกชนก็ขยายตาม" ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ JUNE 2015
เมื่อเมืองโต โรงพยาบาลเอกชนก็ขยายตาม
TAGGED ON