สสธวท. จัดการประชุมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพเอเชียแปซิฟิก 2561 ต้อนรับสตรีนักธุรกิจทั่วโลกราว 550 คน จาก 40 ประเทศ - Forbes Thailand

สสธวท. จัดการประชุมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพเอเชียแปซิฟิก 2561 ต้อนรับสตรีนักธุรกิจทั่วโลกราว 550 คน จาก 40 ประเทศ

PR / PR NEWS
05 Nov 2018 | 06:42 PM
READ 5214

สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (BPW International Asia-Pacific Regional Conference 2018) ต้อนรับสตรีผู้นำทางความคิดราว 550 คน จาก 48 ประเทศ  จัดขึ้นภายใต้แนวคิดการเสริมพลังสตรีเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  จัดขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2561  ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ (BPW Thailand) และประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของ สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพสากล ปี 2561 หรือ BPW International Asia-Pacific Regional Conference 2018 (APRC 2018) เปิดเผยว่า นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ประเทศไทย โดย BPW Thailand ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพสากล ประจำปี 2561 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2561 โดยประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 24 ปี จึงถือเป็นความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำหน้าที่ต้อนรับสตรีนักธุรกิจชั้นนำของโลกราว 550 ท่าน จาก 40 ประเทศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระดมความคิดและความรู้จากทั่วโลก รับทราบวิสัยทัศน์ใหม่ๆ เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาโลก การประชุมครั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเปิดการประชุมในช่วงเช้าวันที่ 30 ตุลาคม พร้อมมีพระราชดำรัสว่าหัวข้อในการประชุมครั้งนี้ คือ การเสริมพลังสตรีให้ตระหนักถึงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหัวข้อที่สร้างแรงบันดาลใจในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากบทบาทของผู้หญิงในอดีตถูกจำกัดเฉพาะในครอบครัว น้อยคนนักที่จะได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมทั้งๆ ที่ผู้หญิงเหล่านี้อาจมีความสามารถที่จะมีส่วนช่วยเหลือชุมชนมากกว่าที่จะช่วยแต่เฉพาะในครอบครัว ปัจจุบัน บทบาทของผู้หญิงได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายมิติ รวมทั้งวิธีคิด และผู้หญิงก็ยังมีบทบาทสำคัญในครอบครัว และมีส่วนร่วมในสังคมอย่างมากในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมให้ก้าวไปข้างหน้า ผู้หญิงยุคใหม่มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาถึงระดับสูงสุด ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสตรี อย่างไรก็ตามยังมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับโอกาส ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ พระองค์จึงได้สนับสนุนด้านการศึกษา ตัวอย่างเช่น ให้ผู้ต้องขังหญิงได้เรียนรู้ผ่านระบบสารสนเทศและห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นภายในเรือนจำหลายจังหวัด ส่งเสริมด้านวิชาชีพและทักษะให้กับผู้ต้องขังหญิงให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้หลังจากพ้นโทษ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงแสดงปาฐกถาพิเศษในวันที่  31  ตุลาคม ในหัวข้อ “การนำ แบงค็อก รูลส์ ไปสู่การปฏิบัติ : ให้โอกาสครั้งที่ 2 แก่สตรี” มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ ความเท่าเทียมทางเพศ การส่งเสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ซึ่งสตรีและเด็กหญิงนั้นต้องมีสิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมกัน ปราศจากความรุนแรงและการแบ่งแยกชนชั้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน หากปราศจากสันติภาพ ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และธรรมาภิบาลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางกฎหมายเราจะไม่สามารถพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนได้ ทั้งนี้ พระองค์มีความสนใจในด้านสิทธิมนุษยชน กฎหมายระหว่างประเทศ และการเสริมพลังผู้ด้อยโอกาสตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา และเมื่อทำงานในระบบยุติธรรมก็ได้พบกับปัญหาของผู้ต้องขังหญิง ในประเทศไทยจำนวนผู้ต้องขังหญิงสูงสุดเป็นที่ 2 ของโลก และร้อยละ 90 เป็นผู้ต้องขังที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งได้รับความยากลำบากในขณะถูกคุมขัง ทั้งในด้านสวัสดิการที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการ ขาดการเตรียมความพร้อมเพื่อกลับสู่ครอบครัวและสังคมหลังการปล่อยตัว ในปี 2549 ได้มีการริเริ่มดำเนินโครงการกำลังใจ มีเป้าหมายในการให้โอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาสรวมทั้งผู้ต้องขัง และผู้ที่มีปัญหาทางกฎหมาย ให้สามารถกลับมาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคม ต่อมาในปี 2551 ได้จัดตั้งโครงการ ELFI เพื่อรณรงค์ในระดับสากลเพื่อให้เกิดมาตรฐานระดับสหประชาชาติ ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงจนได้มีการยกร่างกฎแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงหรือที่เรียกว่า เดอะแบงค็อก รูลส์ หรือ ข้อกำหนดกรุงเทพฯ ในปี 2553 ที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติได้มีมติให้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ต้องบังคับใช้ทั่วโลก เพื่อยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง ในช่วงค่ำของวันที่ 1 พฤศจิกายน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ  เสด็จเป็นประธานในงานกาล่าดินเนอร์  พร้อมทอดพระเนตรการแสดงชุดงามภูษา งามพัสตราทรงคุณค่าพลังสตรี (The Elegance of Women Power) พร้อมแฟชั่นโชว์ 3 ชุด คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า “สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพสากล เป็นเครือข่ายสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพที่เข้มแข็ง มีวัตถุประสงค์ในการทำงานเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจของโลกโดยผสานพลังความร่วมมือจากสตรีทั่วโลกและสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพสากล มีวาระครบรอบ 88 ปี ในปีนี้ สมาชิกของสหพันธ์ฯ ยังคงทำงานร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐ องค์การสหประชาชาติ สภายุโรป และองค์กรภาคเอกชนในอีก 100 ประเทศ  สำหรับสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและ สำหรับสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยฯ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักธุรกิจสตรีที่มีชื่อเสียง โดยในปีนี้ มีวาระครบรอบ 45 ปี ซึ่งในปัจจุบัน มีองค์กรสมาชิก 21 แห่งทั่วประเทศ มีพันธกิจที่มุ่งสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  สะท้อนให้โลกเห็นว่า ผู้หญิงยุคใหม่กำลังก้าวพ้นความท้าทายและความยากลำบากในอดีต  ผู้หญิงในวันนี้ แข็งแกร่งขึ้น  กล้าหาญขึ้น และมีความมั่นใจมากขึ้น  และรับรู้ว่าลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของผู้หญิงคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความอ่อนแอ การรวมตัวของผู้หญิงทั่วโลกที่ร่วมกันต่อสู้ เป็นอาวุธที่ดีที่สุด ดังภาษิตที่ว่าหากเราร่วมกันก็จะสามารถจะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นได้”