สรุปภาพการลงทุนปี 2017 - Forbes Thailand

สรุปภาวะเศรษฐกิจ และ ตลาดหุ้นในในปี 2017

•    นับตั้งแต่ต้นปี 2017 ตัวเลขเศรษฐกิจในเกือบทุกประเทศขยายตัวดี (Synchronized Expansion) โดยเฉพาะการขยายตัวจากภาคการส่งออก และลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่ดีกว่าคาด โดย IMF คาดการณ์ GDP โลกปี 2017 เติบโต +3.6% จาก +3.2% ในปี 2016 •    ภาพรวมอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ราคาน้ำมันดิบเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดของปีในเดือนมิถุนายน ตลาดเงิน •    ปี 2017 ธนาคารกลางประเทศสำคัญอย่าง ECB และ BoJ ยังใช้นโยบายผ่อนคลายต่อเนื่อง มีเพียง 2 ธนาคารกลางที่ใช้นโยบายเข้มงวดขึ้น ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง (นับรวมธันวาคม)  และธนาคารกลางอังกฤษขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้ง •    ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (Dollar Index) อ่อนค่าลงประมาณ 9% ในปี 2017 ผิดกับที่ตลาดคาด ถึงแม้ว่า Fed จะเป็นธนาคารกลางที่ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด แต่ด้วยเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยุโรปและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ที่ฟื้นได้ดีกว่าตลาดคาด หนุนโดยการค้าโลกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับนักลงทุนผิดหวังนโยบายของประธานาธิบดี Donald Trump ที่ยังไม่สามารถผ่านเป็นกฏหมายได้ ส่งผลให้สกุลเงินหลายประเทศโดยเฉพาะสกุลเงินเอเชียแข็งค่าขึ้นเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ นับจากต้นปี ได้แก่ ค่าเงินบาท 9.6% ค่าเงินวอน 10.4%  ค่าเงินเยน 3% และ ค่าเงินยูโร 11.9% (ใช้ราคาปิดวันที่ 8 ธันวาคม) ตลาดหุ้น •    ตลาดหุ้นปี 2017 ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่น นักลงทุนอยู่ใน “Risk on Mode” เราพบว่าสัดส่วน Global Stock Market Cap เทียบกับ Global GDP สูงถึง 113%  ,ดัชนี MSCI All Countries World  (MXWD Index) ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 (หากไม่นับเดือนสิงหาคมที่ปิดเกือบทรงตัว),  VIX Index ทรงตัวระดับต่ำในระหว่างปีปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกินระดับ 16 จุด และ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 9.3 จุด •    ทั้งนี้ การปรับเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นมาจากผลดำเนินงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เกิดจากการ Re-rate P/E  โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม วัฏจักร (Cyclical) และ โภคภัณฑ์ (Commodities) เป็นกลุ่มที่ผลดำเนินงานเติบโตสูง •    นอกจากนี้ เรายังพบว่าตลาดหุ้นในปี 2017 มีการเปลี่ยนกลุ่มการลงทุน (Sector Rotation) โดยเฉพาะในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พอสรุปดังนี้ o    ในครึ่งปีแรกก่อนที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนพบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทรงตัวในระดับต่ำ ในขณะที่ประธานาธิบดี Trumpล้มเหลวในการดำเนินนโยบายที่เคยหาเสียงไว้  ส่งผลให้หุ้นกลุ่ม “Defensive” ปรับตัวเพิ่มขึ้นดีกว่าตลาด ได้แก่ หุ้นในกลุ่ม Heatlhcare, Infrastructure และ Consumer Staples o    อย่งไรก็ดี ในช่วงหลังของปี หลังจากที่ Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยได้ 2 ครั้งในเดือนมิถุนายนและกันยายนและตลาดคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนธันวาคม ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีปรับขึ้นจาก 1.3% เป็น 1.75% สอดคล้องกับ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดในเดือนมิถุนายน อีกทั้งนักลงทุนเริ่มกลับมาคาดว่าแผนการปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดี Trump จะมีความชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้หุ้นกลุ่ม “Cyclical หรือ Growth” อันได้แก่ Energy Material Financial และ Technology ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดี มุมมองการลงทุนในปี 2018 เศรษฐกิจ •    เศรษฐกิจโลกในปี 2018 จะเติบโตได้ต่อเนื่องและทั่วถึง โดย IMF คาดการณ์ GDP โลก +3.7% จาก +3.6% ในปี 2016 หนุนโดยราคาน้ำมันที่จะทรงตัวในระดับสูง แต่จะไม่สูงจนเกินไปที่จะมีผลลบการบริโภคของประเทศเกิดใหม่ การค้าโลกจะยังคงฟื้นต่อเนื่อง ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูงสุดในรอบหลายปี •    เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของเศรษฐกิจโลกปี 2018 IMF คาด GDP ขยายตัว +2.1% ในปี 2017 เป็น +2.4% ในปี 2018 หนุนโดยนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อันได้แก่ มาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดา การลดกฎระเบียบข้อบังคับในภาคธนาคาร •    สำหรับปัจจัยเสี่ยงในปี 2018 ได้แก่ o    รัฐบาลจีนกลับมาเข้มงวดนโยบายเพื่อลดปริมาณหนี้สินต่อ GDP - แต่เรามองว่าหากรัฐบาลใช้นโยบายเข้มงวดมากเกินไปจนมีความเสี่ยงกระทบเศรษฐกิจ รัฐบาลจะกลับมาผ่อนคลายนโยบายดังเช่นในอดีต o    การเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ที่ประธานาธิบดี Trump อาจจะสูญเสียเสียงข้างมากในสภาสูง (Senate) ซึ่งอาจส่งผลต่อการดำเนินนโยบาย - เรามองว่าอาจกระทบ Sentiment ตลาดหุ้นบ้าง แต่ไม่มีผลต่อเติบโตเศรษฐกิจมากนัก o    ความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรป อันได้แก่ การจัดตั้งรัฐบาลในเยอรมนี การเลือกตั้งในอิตาลี รวมถึงประเด็นการแยกตัวของรัฐคะตะลันในสเปน - เรามองว่าอาจกระทบ Sentiment ตลาดหุ้นบ้างแต่ไม่มีผลเศรษฐกิจมากนัก ตลาดเงิน •    แนวโน้มดอลลาร์สหรัฐฯ มีโอกาสแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากนโยบายของธนาคารกลางที่มีความแตกต่าง (Policy Divergence) โดยยังมองว่า มีแต่เพียงธนาคารกลางสหรัฐฯ เท่านั้นที่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและลด Balance Sheet ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะยังคงใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบและยังคงเข้าซื้อสินทรัพย์ อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งปีหลัง นักลงทุนอาจจะ Price In การยกเลิก QE ของ ECB อาจส่งผลให้ค่าเงินยูโรกลับมาแข็งค่าเร็วกว่าคาด •    สภาพคล่องในปี 2018 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากปี 2017 จากการลดอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์ของ BoJ และ ECB ส่วน Fed ได้เริ่มลด Balance Sheet และมองว่าสภาพคล่องจะเริ่มลดลงในปี 2019 •    อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเทศขนาดใหญ่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น ตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบายที่กำลังเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้นตามนโยบายดอกเบี้ยสหรัฐฯ และอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะปรับดีขึ้น ตลาดหุ้น •    ตลาดหุ้นทั่วโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2017 เนื่องจาก 1) กำไรบริษัทมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงเทียบกับปี 2017 เนื่องจากฐานที่สูง 2) Valuation อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวในอดีต และ 3) ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่จะค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น •    เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้ดี และสถาบันการเงินทั่วโลกดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง ดังนั้น เราจึงประเมินโอกาสในการเกิด Recession หรือวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ สภาพคล่องยังทรงตัวในระดับสูงอยู่ เราจึงยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง แต่ด้วย Valuation ที่เริ่มสูง อัตราการเติบโตของกำไรเริ่มชะลอลง  จึงแนะนำลงทุนอย่างระมัดระวัง เน้นลงทุนในช่วงตลาดหุ้นปรับฐาน และกระจายการลงทุนมากขึ้น ภาพ: ปัจจัยที่ต้องติดตามในไตรมาส 1/2018 Note: EEA= European Economic Area Agreement (Free Trade Area)