ย้อนรอยนิตยสาร Forbes ฉบับ 15 กรกฎาคม 1957 - Forbes Thailand

ย้อนรอยนิตยสาร Forbes ฉบับ 15 กรกฎาคม 1957

FORBES THAILAND / ADMIN
25 May 2018 | 10:56 AM
READ 10971

นิตยสาร Forbes ฉบับ 15 กรกฎาคม 1957 ได้นำเสนอ อาณาจักรของมหาเศรษฐี J. PAUL GETTY ทอดยาวตั้งแต่ California ถึงอาระเบีย ครอบคลุมบ่อน้ำมัน โรงกลั่น เรือบรรทุกและโรงแรม สินทรัพย์ทั้งหมดมีมูลค่าราว 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นเงินหมุนเวียนเกือบ 1 หมื่นล้านเหรียญ แน่นอนว่า Getty ปกครองด้วยความทะเยอทะยานอันไม่อาจควบคุมได้ “เขาไม่อาจหยุดได้ตราบใดที่ยังมีบริษัท Shell หรือ Standard Oil ใหญ่กว่าของเขา” วงใน Wall Street รายหนึ่งกล่าว

“เขาเดินหน้าเพื่อโตต่อเนื่อง” Getty เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ดาวเด่นหลายแห่ง ที่รวมถึง Pierre Hotel ในย่าน Manhattan แต่ความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของเขามาจากน้ำมัน และในช่วงปลายทศวรรษ 1950 เขากำลังมองการลงเงินในแหล่งเก็บน้ำมันตะวันออกกลางที่เริ่มออกดอกผล จักรพรรดิ Paul มีชีวิตชวนขัดแย้ง เขาซึ่งในที่สุดอาศัยอยู่ในคฤหาสน์สไตล์อังกฤษขนาด 73 ห้อง และสะสมคอลเล็คชั่นงานศิลปะคุณภาพระดับพิพิธภัณฑ์เอาไว้ (งานของ Rubens, Titian, Gainsborough และอีกมากมาย) แต่เขากลับขึ้นชื่อเรื่องความขี้เหนียวและ “หลบเลี่ยงสาธารณชนอย่างเด็ดขาด บางคนบอกว่าเขากลัวถูกลักพาตัว” พวกเราตั้งข้อสังเกตตามที่ภาพยนตร์เรื่อง All the Money in the World ซึ่งได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลออสการ์ปี 2017 ถ่ายทอดออกมานั้น Paul ไม่ใช่ Getty ที่สุดท้ายแล้วโดนลักพาตัว แต่เป็นหลานชายผู้ใช้ชื่อเดียวกับเขา และตามที่คาดเดาได้ Getty สูงวัยกว่าผู้ตระหนี่ปฏิเสธจ่ายค่าไถ่ตั้งแต่เริ่มแรก ความประหลาดของ Getty นั้น FORBES สรุปในปี 1957 ว่าเป็น “อาการจากแรงกระตุ้นเบื้องลึกเพื่อสร้างความมั่งคั่งและรักษามันเอาไว้” ในเล่มนำเสนอสิ่งใด โฆษณาน่าทึ่ง Curtiss-Wright ซึ่งมีรากเหง้าสืบสาวไปถึงพี่น้องตระกูล Wright สร้างเครื่องบินต่อสู้ขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนนี้สายตาของบริษัทพุ่งไปยังอวกาศนอกโลก บริษัทยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนด้านอากาศยานรายใหญ่ด้วยยอดขายรายปีที่ 2.1 พันล้านเหรียญ สัญญาณแห่งกาลเวลา เมือง Detroit เห็นอนาคตมาแล้ว และนั่นคือรถยนต์ขนาดเล็ก โดย GM และ Ford วางแผนผลิตรถยนต์ขนาดเล็กเพื่อเลียนแบบความสำเร็จของบริษัทรถนำเข้า อย่าง Volkswagen แต่ตัว Motor City (ชื่อเล่นของ Detroit) ได้ทำลายมันลงรถขนาดใหญ่เทอะทะยังวิ่งเต็มถนนในอเมริกาเมื่อวิกฤตราคาน้ำมันช่วงยุค 70 มาถึง ภายในปี 1979 Chrysler ที่ยื่นล้มละลายต้องของบสนับสนุนจากส่วนกลางในการทำธุรกิจต่อ โดดเด่นควรค่าเป็นข่าว ด้วยชื่อผลิตภัณฑ์ยุคระเบิดปรมาณูอย่าง Touch-and-Glow, Love Pat และ Futurama Charles Revson แห่ง Revlon ครอบครองตลาดเครื่องสำอาง โดยทำยอดขายเพิ่มขึ้นสี่เท่าในรอบ 5 ปี ไปอยู่ที่ 86 ล้านเหรียญและอยู่ที่ราว 750 ล้านเหรียญในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นสปอนเซอร์รายการทีวีดัง เช่น The $64,000 Question และ The $64,000 Challenge ก้าวกระโดด 1957: Gus Busch (ด้านบน ตรงกลาง) ชายผู้สร้าง Budweiser ที่ทุกคนชื่นชอบดังเช่นทุกวันนี้ ได้เปลี่ยนให้ธุรกิจเล็กๆ ของครอบครัวเขากลายเป็นโรงผลิตเบียร์ขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของสหรัฐฯ 2018: 10 ปีให้หลัง นักลงทุนชาวบราซิลซื้อธุรกิจ Anheuser-Busch และปิดฉากบทบาทของครอบครัว Busch ในบริษัท AB InBev บริษัทที่ควบรวมกิจการแล้ว ซึ่งมียอดขายรายปีราว 4.55 หมื่นล้านเหรียญ คือผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดในโลก