เรื่อง: พรพรรณ ปัญญาภิรมย์ ภาพ: ภัทรพล ตันตรงภักดิ์
โรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกมาแรงในแดนซามูไร เจ้าของโซล่าฟาร์มสัญชาติไทยกรีฑาทัพชิงส่วนแบ่งสร้างฐานธุรกิจใหม่ ดังเช่น กัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ที่ร่วมกับพาร์ตเนอร์ญี่ปุ่นทุ่ม 500 ล้านบาท เข้าครอบครองโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ Sendai Okura Mega Solar Godo Kaisha
“หลัง จากสึนามิประมาณปีกว่า สองปี ญี่ปุ่นพยายามหยุดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และสนับสนุนให้มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสง อาทิตย์ แม้จะมีนักลงทุนจำนวนมากให้ความสนใจลงทุน ทั้งจีน เกาหลี สิงคโปร์ และไทย แต่เค้กยังชิ้นใหญ่ เหลืออีก 5,000-6,000 เมกะวัตต์จาก 8,000 เมกะวัตต์" กัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หนึ่งในนักธุรกิจไทยที่ตอบรับโอกาสทางธุรกิจพลังงานทางเลือก กล่าวกับ Forbes Thailand
แม้ การสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น และโอกาสการเติบโตที่มากกว่าการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยจะทำให้ธุรกิจโรง ไฟฟ้าพลังงานทางเลือกในญี่ปุ่น "เนื้อหอม" เรียกความสนใจนักธุรกิจไทยในประเทศให้ลองไปเสี่ยงโชคในดินแดนอาทิตย์อุทัย จำนวนไม่น้อย หากแต่มีเพียงไม่กี่รายที่ฝ่าด่านอรหันต์ลงหลักปักฐานทางธุรกิจได้อย่างจริง จัง
“การแข่งขันที่สูงยังไม่เท่าคน ที่จะมาเอาเงินเรา แบบไม่มีโครงการ พูดง่ายๆ คือ หลอกเรา เหมือนเมืองไทยที่ผ่านมาก็มีคนขายใบอนุญาตหมดอายุ ถ้าไม่ได้อยู่ในวงการหรือทำการตรวจสอบก็ถูกหลอกได้ ดังนั้น เราต้องตรวจสอบด้วยตัวเองก่อนตัดสินใจ เรามีมืออาชีพด้าน developer ให้คำปรึกษา และว่าจ้าง consult ที่ญี่ปุ่น หรือด้านกฎหมายที่ซับซ้อนกว่าไทย ตรงนี้เราต้องยอมลงทุน” นักธุรกิจวัย 61 ปีกล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคของธุรกิจไทยที่ต้องก้าวผ่านในญี่ปุ่น
นอก จากนั้น ความรวดเร็วในการตัดสินใจและความพร้อมเปลี่ยนแปลงตามจังหวะหรือโอกาส ยังถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจไทยเอื้อมถึงพระอาทิตย์ในดินแดนด้าน ตะวันออกสุดของโลกเช่นเดียวกับการตัดสินใจของกันกุลฯ ในการเข้าซื้อกิจการ 100% ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Sendai Okura Mega Solar Godo Kaisha เมือง Sendai จังหวัด Miyagi
จาก เส้นทางธุรกิจที่ผ่านมาของกลุ่มกันกุลฯ ที่ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงและเริ่มต้นใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า การลงหลักปักฐานในดินแดนใหม่จึงไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้น จุดเปลี่ยนสำคัญของครอบครัวดำรงปิยวุฒิ์เกิดขึ้นเมื่อ 5-6 ปีก่อน หลังจากกันกุลฯ ชนะการประมูลจำหน่ายกังหันลมให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เขามองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากรายได้ที่มั่นคงและให้ผลในระยะยาว ด้วยงบลงทุน 120 ล้านบาทต่อการสร้างกังหัน 1 ต้นเปรียบได้กับโรงงานในรูปแบบโรงไฟฟ้า
“ผม ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า 30 ปี กำไรไม่เสถียร วูบวาบ เพราะขึ้นอยู่กับราคาขึ้นลงของวัตถุดิบ บุคลากร และการประกวดราคาที่มีสัญญา 1 ปี 6 เดือน 3 เดือน รายได้ไม่มั่นคง พอวันที่ติดตั้งกังหันลมเสร็จ ผมมองดูการผลิตไฟแล้ว เมื่อลมมาก็หมุนจ่ายไฟให้โรงงาน ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก ถึงเวลาสิ้นเดือนก็จดเลขมีเตอร์ ซึ่งมันง่ายกว่าที่ผมทำมาทั้งชีวิต ง่ายมาก ประกอบกับช่วงนั้นภาครัฐให้การสนับสนุนโครงการ solar farm และ wind farm”
ปัจจุบันกลุ่มกันกุลฯ ดำเนินธุรกิจผลิต จัดหา และจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับระบบไฟฟ้าในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ธุรกิจก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน และธุรกิจให้บริการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า
เจ้า ของโรงไฟฟ้าไทยในญี่ปุ่นย้ำชัดถึงความมั่นใจในความพร้อมขยายฐานธุรกิจในดิน แดนแห่งแสงอาทิตย์ ด้วยเป้าหมายการเป็นเจ้าของใบอนุญาตโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกรวมมากกว่า 300 เมกะวัตต์ในปีหน้า